Category Archives: Funeral

งานฌาปนกิจ

บทความน่าสนใจมากมาย สาระความรู้เกี่ยวกับงานฌาปนกิจ การจัดพิธีศพ งานศพของแต่ละศาสนา ความสำคัญของงานฌาปนกิจ และอื่นๆ มากมาย

เช่น ของชำร่วยงานศพแบบไหนบ้างที่ได้รับความนิยมใช้งานมากที่สุด, ของชำร่วยงานศพ ควรเลือกอย่างไร ให้เหมาะสมและถูกกาลเทศะ, 10 ของชำร่วยงานศพที่นิยมใช้มากที่สุด, 8 ของชำร่วยต้องห้ามที่ไม่ควรนำมาใช้กับงานศพ, ทำไม เหตุผลอะไรที่ของชำร่วยแบบใช้งานได้จริง เป็นที่นิยมกว่าของตั้งโชว์, หรือ ของชําร่วย สําคัญอย่างไรบ้าง ทำไมพิธีต่างๆ จึงต้องมีของชำร่วยด้วยเสมอ,

การใส่บาตร กรวดน้ำ และการอุทิศบุญให้ผู้ล่วงลับ, ของไหว้วันเผา, เผาหลอก เผาจริง ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ, บวชหน้าไฟ คืออะไร เพื่ออะไร,

ขั้นตอนการแจ้งเสียชีวิต แจ้งตาย, ดอกไม้จันทน์ ดอกไม้แทนความอาลัย, ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม ไม้มงคล สำหรับงานอวมงคล, Snack Box งานศพ อาหารว่างงานศพ, โกศ ใส่กระดูก และข้อมูลน่ารู้อื่นๆ อีกมากมาย

การลอยอังคาร พิธีการสุดท้ายของงานศพ เพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับสู่สัมปรายภพ (ภพภูมิที่ดี)

ของชําร่วยงานศพที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก (เนื่องมาจากการระบาดหนักรอบนี้) และราคาคุ้มค่า มีประโยชน์อย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน คือ ของชําร่วย งานฌาปนกิจ แอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ ของชำร่วย ซึ่งมีหลายรูปแบบ หลายขนาดให้เลือก พร้อมลวยสวยงาม เหมาะสมกับงานขาวดำ

สามารถดูตัวอย่างสินค้าของที่ระลึกงานศพ ของชำร่วยงานฌาปนกิจ ได้ที่ https://nippangift.com/top-10-funeral-souvenirs/

 

หนังสือที่ระลึกงานศพ หนังสือแห่งความอาลัยรักแด่ผู้วายชนม์

หนังสืองานศพ หนังสือที่ระลึกงานศพ หนังสือแห่งความอาลัยรักแด่ผู้วายชนม์

หนังสืองานศพ เป็นหนังสือที่ทำแจกในงานพิธีศพที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งชื่อเรียกของหนังสืออาจเรียกขานต่างกันไป เช่น หนังสือที่ระลึกงานศพ, หนังสือที่ระลึกงานศพ, หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ, หนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจ เป็นต้น แต่โดยรวมแล้วก็มีความหมายเดียวกัน คือ นั่นเอง นิพพานกิฟ ที่ระลึกงานฌาปนกิจ ของชำร่วยงานศพ ของชําร่วยงานฌาปนกิจ ราคาประหยัด จัดส่งรวดเร็ว   ประวัติความเป็นมาของหนังสือที่ระลึกงานศพ   แต่ความเป็นจริงแล้ว หนังสือนี้ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)   โดยมีการแจกหนังสือที่ระลึกงานศพในพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี ที่จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกงานศพแจกในงานพิธีศพ ซึ่งหนังสือที่ระลึกงานศพที่จัดพิมพ์ครั้งนี้ เป็นหนังสือ สาราทานปริยายกถามรรค ที่ประกอบไปด้วยบทสวดมนต์หลวงจำนวนความหนาประมาณ 300 หน้า โดยมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพทำหน้าที่เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ และหนังสือที่ระลึกงานศพเล่มนี้ได้ทำการจารตัวอักษรลงในใบลานจำนวน 10,000 เล่ม เพื่อทำการพระราชทานแก่วัดที่อยู่ทั่วราชอาณาจักร   ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org   หลังจากนั้นจึงได้มีการแจกหนังสือที่ระลึกงานศพต่อมา โดยในช่วงรัชกาลที่ ๕

เผาหลอก เผาจริง ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

เผาหลอก เผาจริง ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ปัจจุบันนี้ การเผาหลอก เผาจริง เป็นขั้นตอนพิธีศพที่นำมาปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในเมืองใหญ่และในพื้นที่ต่างจังหวัด   ทว่าหลายคนยังมีข้อสงสัยถึงการเผาหลอก เผาจริง ที่ปฏิบัติกันนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และทำไมถึงต้องมีการเผาหลอกในพิธีศพ เหตุใดจึงไม่ทำการเผาจริงหลังจากการวางดอกไม้จันทน์เสร็จสิ้นแล้ว   ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการเผาหลอก เผาจริง ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรและทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดกัน   ประวัติของการเผาหลอก เผาจริง การเผาศพคนตายเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางอินเดีย ถึงแม้ว่าจะมีความนิยมในการเผาศพก็ตาม   พิธีการเผาหลอก เผาจริง ธรรมเนียมโบราณตั้งเเต่สมัย รัชกาลที่5   โดยการเผาศพเป็นความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์-พุทธ ที่เชื่อว่าการตาย หมายถึง การหลุดพ้นและการไม่มีอัตตาหรือการไม่ยึดติดกับทุกสิ่ง และเพื่อไม่ให้ดวงวิญญาณของผู้ตายเกิดการยึดติดกับร่างกายและสิ่งที่เคยมีอยู่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ จึงต้องทำการเผาศพเพื่อไม่ให้หลงเหลือสิ่งที่จะใช้ยึดเหนี่ยว ของที่ระลึกงานศพ ดังนั้น เมื่อมีคนตายเกิดขึ้น ญาติจะทำการเผาศพของผู้ตายและนำอัฐิไปลอยแม่น้ำ (ลอยอังคาร) ซึ่งจะลอยในแม่น้ำคงคาตามความเชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถชำระล้างได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่บาปกรรมที่คนผู้นั้นได้เคยกระทำไว้ครั้งยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นการลอยอัฐิของผู้ตายไปตามแม่น้ำ ยังทำเพื่อให้วิญญาณของผู้ตายได้หลุดพ้น ซึ่งความเชื่อเรื่องนี้ได้แพร่เข้ามาพร้อมกับหลักศาสนาพราหมณ์-พุทธ ทำให้คนไทยเริ่มมีการเผาศพแทนการฝังศพ   ข้อมูลเพิ่มเติม: ประวัติการฝังและเผาศพ   การเผาศพในสมัยก่อนยังไม่มีการสร้างเมรุแบบถาวรเหมือนในปัจจุบันนี้ หากต้องการเผาศพจะทำการสร้าง เมรุลอย หรือ เมรุชั่วคราว ด้วยการนำไม้มาต่อกันเป็นชั้น ๆ เรียกว่า

งานฌาปนกิจ พิธีแบบไทย

งานฌาปนกิจคืออะไร งานศพไทย ความสำคัญของงานฌาปนกิจ พร้อมขั้นตอนการทำพิธีแบบไทย

  ข้อมูลเพิ่มเติม ของชำร่วยงานศพ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ   นอกจากของที่ระลึกงานฌาปนกิจแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีศพ และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมา คือ พวงหรีด เพื่อเป็นการแสดงถึงความอาลัยที่ผู้มอบพวงหรีดนั้นมีต่อผู้เสียชีวิต   6. การเก็บกระดูกหลังจากฌาปนกิจและลอยอังคาร เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่มีการมาแต่โบราณ ในการเก็บกระดูกหรืออัฐิของผู้ล่วงลับเอาไว้ หลังร่างกายหรือสังขารของผู้ล่วงลับกลายเป็นเถ้าฐาน เพื่อนำไปลอยอังคาร การลอยอังคาร เป็นการบอกแก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย ถึงการละสังขารที่แท้จริงไปสู่ภพภูมิใหม่ ซึ่งญาติพี่น้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ ก็จะนำเอาอัฐิไปโปรยในแหล่งน้ำกว้างใหญ่ เพื่อให้ลมพัดปัดเป่าดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สุคติ   การลอยอังคาร เป็นการนำเถ้ากระดูกและเถ้าของสิ่งของที่นำมาใช้ในการฌาปนกิจ นำไปลอยในแม่น้ำ เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ให้อยู่อย่างร่มเย็น ประดุจดั่งสายน้ำที่เย็นชื่นใจทุกเมื่อที่ได้สัมผัส โดยมีสถานที่หลายแห่งที่ได้รับความนิยมในการจัดพิธีลอยอังคาร เช่น กองทัพเรือ ฐานทัพเรือสัตหีบ, การลอยอังคาร วัดหลวงพ่อโสธร, ลอยอังคาร ท่าเรือปากเกร็ด เป็นต้น   การลอยอังคาร เป็นพิธีที่เสร็จสิ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง นิยมทำต่อจากพิธีเก็บกระดูก   โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการเก็บอัฐิบางส่วนของผู้ล่วงลับเอาไว้เพื่อทำบุญ และไว้เพื่อระลึกถึงในวัดหรือโบสถ์ด้วย     พิธีฌาปนกิจนั้น จัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับ ที่ปฏิบัติสืบทอดมาจนกลายเป็นประเพณีและธรรมเนียม

เครื่องประโคม และดนตรีประโคมงานศพ คืออะไร สำคัญอย่างไร

เครื่องประโคม และดนตรีประโคมงานศพ คืออะไร สำคัญอย่างไร

การเล่นเครื่องประโคมหรือดนตรีประโคมงานศพ – หนึ่งในองค์ประกอบของงานศพที่ดำรงมาอย่างยาวนานคือ การเล่นเครื่องประโคมหรือดนตรี ตลอดจนการขับร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่าง ๆ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ว่าแต่เหตุใดในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายและการจากลา จึงมีการละเล่นรื่นเริงเสมือนหนึ่งงานสังสรรค์ บทความนี้มีคำตอบมาฝาก   การประโคมเกิดขึ้นเมื่อใด การประโคมหรือเล่นดนตรีในงานศพ เป็นพิธีกรรมที่สืบย้อนกลับไปได้หลายพันปี หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเครื่องประโคมงานศพที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุมากกว่า 3,000 ปี ประกอบด้วย เครื่องตีและเครื่องเป่าที่ประดิษฐ์ขึ้นจากไม้เป็นหลัก ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการใช้โลหะในการประดิษฐ์เครื่องประโคมมากยิ่งขึ้น อาทิ กลองทองมโหระทึก ฆ้อง และแคน โดยนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า กลองทองมโหระทึกมีความสำคัญต่อวิวัฒนาการของดนตรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมฆ้องที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญในวงปี่พาทย์ ในตำแหน่งประธานของวง     . กลองทอง มโหระทึก เครื่องประโคมงานศพ อุษาคเนย์ 2,500 ปีมาแล้ว กลองทองมโหระทึก เป็นเครื่องประโคมทำขวัญ (เรียกขวัญ และส่งขวัญ) งานศพ ในกลุ่มชนทั่วภูมิภาคอุษาคเนย์ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ราว 2,500 ปีมาแล้ว กลองทอง หรือ มโหระทึก หล่อด้วยโลหะผสม เรียกสำริด หรือ ทองสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว

ฮวงซุ้ย ประวัติความเป็นมา การเลือกฮวงซุ้ยให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย

ฮวงซุ้ย ประวัติความเป็นมา การเลือกฮวงซุ้ยให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย

ฮวงซุ้ย (a Chinese graveyard, a cemetery) เป็นที่พำนักแห่งสุดท้ายของผู้วายชนม์ที่มีประวัติอันยาวนานซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้หลายพันปี โดยเฉพาะอารยธรรมจีนที่มีความเก่าแก่และได้วางรากฐานทางสังคม ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และการปกครองสืบทอดมาจนปัจจุบัน   ซึ่งในวันนี้เราจะพาคุณเดินทางย้อนกลับไปในอดีตเพื่อศึกษาความสำคัญของฮวงซุ้ย ความหมาย รูปแบบ และความเชื่อ ตลอดจนการจัดการฮวงซุ้ยในบริบทปัจจุบันแบบเจาะลึก หากพร้อมแล้ว ตามมาดูกันเลย   ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ แบบพกพา ราคาส่ง แบบการ์ด ราคาถูก   ความหมายของฮวงซุ้ย หากอ้างอิงความหมายจากพจนานุกรมไทย ฉบับเปลื้อง ณ นคร  นั่นเอง ทั้งนี้ ฮวงซุ้ยอาจจะมีความแตกต่างจากสุสานตามความเชื่ออื่น ๆ ตรงที่มีการนำศาสตร์ฮวงจุ้ยเข้ามาหาตำแหน่งในการเลือกฮวงซุ้ยที่เหมาะสม โดยเฉพาะทิศทางของสายลมและแหล่งน้ำที่อยู่บริเวณโดยรอบ หลักการสำคัญในการเลือกฮวงซุ้ยที่เหมาะแก่การเป็นสถานที่พำนักแห่งสุดท้ายของบรรพชน คือ ความสดชื่น สว่างสไว โล่งโปร่งสบาย มีตำแหน่งรับลมและน้ำที่เหมาะสม ไม่ต่างจากการใช้หลักฮวงจุ้ยในการเลือกที่ดินสร้างบ้าน หรือตกแต่งภายในบ้านนั่นเอง ฮวงจุ้ย เป็นคำภาษาจีนที่คุ้นหูได้ยินกันบ่อยครั้ง ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Feng Shui โดย “เฟิง”(风) แปลว่าลม และ

พิธีกรรมการเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับมาจากอินเดีย

พิธีกรรมการเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับมาจากอินเดีย

งานศพและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตกาล แต่อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามประเพณีและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ที่เป็นอู่อารยธรรมหลายประการ ว่าแต่พิธีกรรมงานศพในบ้านเรามีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะพาคุณไปติดตามข้อมูลซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของพิธีกรรมการเผาศพจากแดนภารตะ โดยเป็นแหล่งกำเนิดทางพระพุทธศาสนานั่นก็คือ อินเดียนั่นเอง นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคาส่ง ราคาประหยัด ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ งานฌาปนกิจ     พิธีเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิธีกรรมเผาศพ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่มีความสำคัญตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดีย โดยนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า   ทั้งนี้ ในช่วงแรก พิธีเผาศพจะจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นนำของชนเผ่าเท่านั้น โดยมีการผสมผสานกับประเพณีและจารีตดั้งเดิมของชนเผ่าเพื่อให้พิธีมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก่อนที่ในระยะเวลาต่อมา พิธีศพจะได้รับการเผยแพร่ไปสู่ชุมชนและเข้าสู่วิถีชีวิตของชาวบ้านสามัญชนในท้ายที่สุด   อย่างไรก็ตาม กระบวนการผสมผสานของพิธีศพแบบพรามหณ์ฮินดูก็ไม่ได้กลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฉับพลันทันใด หากต้องใช้เวลาในการผสมเข้ากับพิธีกรรมตามความเชื่อของศาสนาผีที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของชุมชนมาอย่างยาวนาน โดยในกรณีของ จนปรากฏออกมาเป็นพิธีกรรมเผาศพดังที่เราเห็นกันในปัจจุบัน   ศาสนาพุทธไทย คือศาสนาผี ปนพราหมณ์ เจือศัพท์พุทธธรรม ขอบคุณข้อมูลจาก https://medium.com/awarenet/ศาสนาพุทธไทย-คือศาสนาผี-ปนพราหมณ์-เจือศัพท์พุทธธรรม-94d5436650a2   พิธีเผาศพแบบอินเดีย พิธีกรรมเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูนั้น จะมีจุดเด่นตรงที่ เมื่อเสร็จแล้ว ญาติหรือเพื่อนฝูงของผู้ตายจะนำร่างไร้วิญญาณขึ้นวางบนแคร่แล้วแบกไปยังพื้นที่ริมแม่น้ำ จากนั้นก็จะตั้งศพลงบนฟืนที่หาได้จากบริเวณนั้น เมื่อญาติผู้ตายมาครบแล้วก็จุดไฟเผาศพจนร่างเหลือเพียงเถ้าถ่าน ก็จะเก็บอัฐิที่หลงเหลืออยู่ไปลอยบนแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี   การนำอัฐิไปลอยในแม่น้ำนั้น เป็นส่วนที่มีความสำคัญของพิธีกรรมเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดีย และสามัญชนทุกครัวเรือนก็มีการปฏิบัติตามประเพณีนี้จนเป็นจารีตของสังคม  

พวงหรีด สำคัญอย่างไร จำเป็นต้องใช้พวงหรีดในงานศพหรือไม่

พวงหรีด สำคัญอย่างไร จำเป็นต้องใช้พวงหรีดในงานศพหรือไม่

หากพูดถึงพวงหรีด ทุกคนจะต้องรู้จักแน่นอน เพราะแต่ไหนแต่ไรมา พวงหรีดมักได้รับความนิยมในการนำมาใช้เพื่อไว้อาลัยในงานศพเสมอ จึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำตามกันมาจนทุกวันนี้ ซึ่งพวงหรีดนั้นมีความสำคัญอย่างไร และจำเป็นต้องใช้ในงานศพหรือไม่ นอกเหนือจากของที่ระลึกงานศพ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิง ที่จำเป็นต้องมี เราจะพาคุณไปหาคำตอบกัน   ความสำคัญของพวงหรีด จากที่เกริ่นไปบ้างแล้วว่า การนำพวงหรีดมาใช้ในงานศพนั้น ถือเป็นธรรมเนียนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยพวงหรีดนั้นเป็นคำทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ “หรีธ” (Wreath) มีความหมายว่า พวงมาลา เป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พวงหรีดเป็นอารยธรรมของชาวตะวันตกที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายและได้รับความนิยมในประเทศไทย ในสมัยก่อนนั้นพวงหรีดไม่ได้แลดูสวยหรูหรือมีราคาสูงเหมือนในปัจจุบัน จะมีเพียงก้านกิ่งไม้นำมาสานขัดกันเป็นวงกลม แล้วนำดอกไม้มาเสียบประดับ สรุปได้ว่าพวงหรีดมีความสำคัญมากทีเดียว โดยสำคัญในแง่ของความรู้สึกและสภาพจิตใจนั่นเอง เพราะการนำพวงหรีดมาใช้กับงานศพ ประวัติการฝังและเผาศพ จะแสดงได้ถึงความไว้อาลัยที่ผู้มอบพวงหรีดมีต่อผู้ที่ได้ลาลับไปแล้ว ทั้งยังช่วยคลายความโศกเศร้าได้ดีอีกด้วย ทั้งนี้เมื่อลองนึกภาพดู หากงานไหนไม่มีพวงหรีด ก็คงจะดูแปลกไม่น้อยเลยทีเดียว   จำเป็นต้องใช้พวงหรีดในงานศพหรือไม่ แม้ว่าพวงหรีดจะสำคัญ แต่บางคนยังคงสงสัยว่าจำเป็นต้องใช้พวงหรีดในงานศพหรือไม่ ถ้าไม่ใช้จะเป็นอะไรหรือเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีข้อบังคับว่าจะต้องใช้พวงหรีดในงานศพ ดังนั้นจะใช้พวงหรีดหรือไม่ใช้ก็ได้ แต่ทั้งนี้เพื่อให้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อไป และเป็นการแสดงความไว้อาลัยแด่ผู้ที่ล่วงลับ รวมถึงเพื่อความสบายใจต่อเจ้าภาพและคนที่มาร่วมงาน ก็ควรใช้พวงหรีดจะดีกว่า   พวงหรีดมีกี่ประเภท พวงหรีดมีหลายประเภท แต่ที่พบเห็นและนิยมใช้กันมากที่สุด มี 7 ประเภทดังต่อไปนี้

มีเซ็กส์หน้าศพ พิธีกรรมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าบารา

มีเซ็กส์หน้าศพ พิธีกรรมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าบารา

มีเซ็กส์หน้าศพ พิธีกรรมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าบารา – ในทางชีววิทยา การมีเพศสัมพันธ์หรือเซ็กส์เป็นกิจกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเพื่อสืบพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล โดยมักเกิดขึ้นในที่ปิดมิดชิดและเป็นส่วนตัวเช่นภายในที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ในบางอารยธรรม เซ็กส์อาจเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายมากกว่าการสืบพันธุ์ ดังในกรณีชนเผ่าบารา (Bara) ที่การมีเพศสัมพันธ์กันระหว่างพิธีศพเพื่อรักษาสมดุลของครอบครัว และสมาชิกชุมชน ในลักษณะของการสร้างใหม่เพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ตายไปนั่นเอง   รู้จักชนเผ่าบารา (Bara) ชนเผ่าบารา (Bara) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของเกาะมาดากัสการ์ ปัจจุบันเชื่อว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 500,000 คน นักมานุษยวิทยาพบว่าสังคมของชนเผ่าบาราให้ความสำคัญกับผู้ชายสูง โดยเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) และสามารถมีภริยาได้หลายคน (Polygamy) ทั้งนี้แม้ว่าชาวบาราจำนวนมากจะนับถือศาสนาคริสต์เนื่องจากการเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของมิชชันนารีหลายร้อยปีก่อน แต่ประชากรส่วนใหญ่ก็ยังนับถือศาสนาผีหรือความเชื่อประจำเผ่าของตนเอง ซึ่งทำให้ประเพณีและพิธีกรรมบางอย่างยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการร่วมเพศกันในพิธีศพอันเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ตาย และรักษาสมดุลของชนเผ่าให้รอดพ้นจากการขาดแคลนประชากร และคงอยู่ตลอดไป เซ็กส์หน้าศพของชนเผ่าบารา ในพิธีศพของชนเผ่าบารานั้น สมาชิกในครอบครัวของผู้ตายจะต้องเสิร์ฟเหล้าให้กับทุกคนดื่ม กระทั่งสมาชิกทุกคนเข้าสู่ภาวะเมามายขาดสติ ความสามารถในการตัดสินทางศีลธรรมลดลง พิธีกรรมเซ็กส์หน้าศพจึงจะเริ่มต้นขึ้น โดยญาติพี่น้องทุกคนจะต้องมีเพศสัมพันธ์กันกับสมาชิกภายในครอบครัว (Incest) อันเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของจารีตและประเพณีของชนเผ่า ไม่มีใครสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนั้น ยังมีบทลงโทษสำหรับคนที่ขัดขืนไม่ยอมเข้าร่วมพิธีกรรมดังกล่าวด้วยการถูกบังคับให้ต้องเสียวัวจำนวนหนึ่งตัวอย่างไม่มีทางเลือก โดยหลังจากพิธีกรรมเซ็กส์หน้าศพสิ้นสุดลง และได้มีการตั้งศพไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งกระทั่งศพเริ่มเน่าเปื่อย สมาชิกเพศชายในครอบครัวก็จะช่วยกันแบกโลงที่บรรจุศพผู้ตายไว้เพื่อนำไปฝังในสุสาน โดยระหว่างทางเด็กหญิงในครอบครัวก็จะทำทีเข้ามาขัดขวาง แต่บรรดาผู้แบกโลงก็จะฝ่าฟันไปกระทั่งสามารถนำศพไปไว้ในถ้ำสุสานได้เป็นผลสำเร็จ พิธีกรรมดังกล่าวมีนัยนะในเชิงของการเปลี่ยนผ่าน จากความตายหรือจุดสิ้นสุดของหนึ่งชีวิตไปสู่การเกิดใหม่ของอีกชีวิตหนึ่ง นักมานุษยวิทยาอธิบายในเชิงสัญญะได้ว่าในทัศนะของชนเผ่าบารา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart