เครื่องประโคม และดนตรีประโคมงานศพ คืออะไร สำคัญอย่างไร

เครื่องประโคม และดนตรีประโคมงานศพ คืออะไร สำคัญอย่างไร

การเล่นเครื่องประโคมหรือดนตรีประโคมงานศพ – หนึ่งในองค์ประกอบของงานศพที่ดำรงมาอย่างยาวนานคือ การเล่นเครื่องประโคมหรือดนตรี ตลอดจนการขับร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่าง ๆ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

ว่าแต่เหตุใดในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายและการจากลา จึงมีการละเล่นรื่นเริงเสมือนหนึ่งงานสังสรรค์ บทความนี้มีคำตอบมาฝาก

เครื่องประโคม และดนตรีประโคมงานศพ คืออะไร สำคัญอย่างไร

 

การประโคมเกิดขึ้นเมื่อใด

การประโคมหรือเล่นดนตรีในงานศพ เป็นพิธีกรรมที่สืบย้อนกลับไปได้หลายพันปี หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเครื่องประโคมงานศพที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุมากกว่า 3,000 ปี ประกอบด้วย เครื่องตีและเครื่องเป่าที่ประดิษฐ์ขึ้นจากไม้เป็นหลัก

ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการใช้โลหะในการประดิษฐ์เครื่องประโคมมากยิ่งขึ้น อาทิ กลองทองมโหระทึก ฆ้อง และแคน โดยนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า กลองทองมโหระทึกมีความสำคัญต่อวิวัฒนาการของดนตรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมฆ้องที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญในวงปี่พาทย์ ในตำแหน่งประธานของวง

กลองทองมโหระทึก 2 ใบ
กลองมโหระทึก 2 ใบ วงสังข์แตร และวงปี่ไฉน กลองชนะ เป็นวงประโคมย่ำยามจากงานเครื่องสูง ของสำนักพระราชวัง (ภาพจากหนังสือการมหรสพและแบบแผนในการประโคมดนตรีในงานพระเมรุ เอกสารประกอบกิจกรรมพิพิธภัณฑ์เสวนา เสาร์ 2 กันยายน 2560 หน้า 19)
กลองทองมโหระทึก ใช้ประโคมเรียกขวัญในงานศพ ราว 2,500 ปีมาแล้ว
กลองทองมโหระทึก ใช้ประโคมเรียกขวัญในงานศพ ราว 2,500 ปีมาแล้ว [ภาพกลองทองมโหระทึก พบที่ม่อนวัดเกษมจิตตาราม อ. เมืองฯ จ. อุตรดิตถ์ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร]
งานศพดึกดำบรรพ์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว
งานศพดึกดำบรรพ์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว [ลายเส้นคัดลอกของกรมศิลปากร จากภาพเขียนในถ้ำตาด้วง บ้านวังกุลา ต. ช่องสะเดา อ. เมืองฯ จ. กาญจนบุรี]

.

กลองทอง มโหระทึก เครื่องประโคมงานศพ อุษาคเนย์ 2,500 ปีมาแล้ว

กลองทองมโหระทึก เป็นเครื่องประโคมทำขวัญ (เรียกขวัญ และส่งขวัญ) งานศพ ในกลุ่มชนทั่วภูมิภาคอุษาคเนย์ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ราว 2,500 ปีมาแล้ว

กลองทอง หรือ มโหระทึก หล่อด้วยโลหะผสม เรียกสำริด หรือ ทองสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว กลุ่มคนในตระกูลภาษาต่างๆ จึงเรียกกลองทอง (หมายถึงกลองทองสำริด)

– ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_59387

 

การประโคมในงานอวมงคลหรืองานศพ

แต่เริ่มเดิมทีนั้น การประโคมหรือเล่นดนตรีนั้นถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเรียกผีขวัญ หรือเรียกวิญญาณของผู้ตายให้กลับคืนสู่ร่างนั่นเอง

ก่อนที่ในกาลต่อมา พิธีกรรมดังกล่าวจะได้รับการผสมผสานเข้ากับพิธีกรรมการจัดงานศพแบบอื่น ๆ ที่ได้รับเข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนาจากอินเดีย ที่ปรากฎเห็นชัดคือ การประโคมย่ำยาม หรือการประโคมดนตรีในงานพระราชพิธีเพื่อประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเฉพาะในงานพระราชพิธีสวดพระอภิธรรมพระบรมศพของกษัตริย์

ดังปรากฎในงานพระราชพิธีสวดพระอภิธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งมีการนำวงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ เข้าประโคมย่ำยามร่วมกับวงประโคมของสำนักพระราชวังด้วย สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการประโคมย่ำยามในฐานะประเพณีโบราณที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

รู้จักเครื่องประโคม

เครื่องประโคม คือเครื่องดนตรีที่ใช้สำหรับการประโคมหรือละเล่นในงานอวมงคลหรืองานศพ โดยเฉพาะงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางชั้นสูง

เครื่องประโคมที่ใช้งานงานอวมงคลนั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท และมีความแตกต่างกันตามยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้วายชนม์ โดยเครื่องประโคมที่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ ยกตัวอย่างเช่น

 

1. ปี่พาทย์นางหงส์

ปี่พาทย์นางหงส์ เป็นรูปแบบวงปี่พาทย์ที่ผสมระหว่างวงปี่พาทย์ไม้แข็งกับวงปี่ชวา-กลองมลายู เรียกอีกประการได้ว่า วงบัวลอย ในสมัยก่อนวงปี่พาทย์นางหงส์นิยมใช้ประโคมในงานศพคนชั้นสูงเป็นหลัก ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะค่อย ๆ ได้รับการเผยแพร่และใช้งานในงานศพของสามัญชน

ที่ขานนามว่าวงปี่พาทย์นางหงส์นั้นเป็นไปตามความเชื่อว่า หงส์จะพาดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับเดินทางไปสู่เมืองฟ้าได้อย่างปลอดภัย สอดคล้องกับความเชื่อโบราณที่มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์อย่างสุนัขหรือหงส์เป็นพาหนะพาคนตายไปยังสรวงสวรรค์

ปี่พาทย์นางหงส์
ปี่พาทย์นางหงส์

.

ปี่พาทย์นางหงส์ ประโคมงานศพคนชั้นสูง
ปี่พาทย์นางหงส์ เป็นเครื่องดนตรีประโคมงานศพของคนชั้นสูง หรือคนชั้นนำระดับสูง แล้วแพร่หลายสมัยหลังๆ ลงสู่งานศพสามัญชนชาวบ้านกลุ่มแคบๆ ในเมือง

– ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_58170

 

วงปี่พาทย์นางหงส์ (ตามแบบแผนเดิม)
วงปี่พาทย์นางหงส์ (ตามแบบแผนเดิม) ใช้ปี่ชวา, กลองมลายู (2 ใบ) (ภาพจากหนังสือของกรมศิลปากร)

– ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_346863

.

2. ปี่พาทย์ ฆ้องวง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้วงปี่พาทย์ ฆ้องวง ซึ่งประกอบด้วยปี่ ฆ้อง และกลอง ในการเล่นดนตรีประโคมศพมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่งานศพอย่างเดียวเท่านั้น หากยังมีการใช้ในงานพิธีกรรมทั่วไปอย่างงานแก้บท การเล่นละคร และหนังใหญ่อีกด้วย

 

3. ปี่ กลอง

ในบรรดาเครื่องประโคมที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี่และกลองเป็นเครื่องดนตรีที่มีการประดิษฐ์ขึ้นหลังสุดโดยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียใต้และลังกา เครื่องประโคมดังกล่าวสามารถเรียกรวมกันได้ว่า ‘ปัญจวาทยะ’ หรือ ปัญจตุริย ซึ่งนิยมเรียกว่า วงปี่ชวา กลองแขก ซึ่งนับเป็นเครื่องประโคมศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมชวา-มลายูทางตอนใต้ของประเทศไทย

ซึ่งในเวลาต่อมา ราชสำนักได้รับมาใช้ประโคมเป็นหลักในขบวนพยุหยาตรา เรียกโดยทั่วไปว่าปัญจดุริยางค์ ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนิยมใช้ประโคมในงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น

 

ความสำคัญของเครื่องประโคม

การใช้เครื่องประโคมเล่นในงานพระราชพิธีสวดอภิธรรมศพของพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางชั้นผู้ใหญ่นั้นเป็นการผสมผสานพิธีกรรมงานศพโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับวัฒนธรรมตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ซึ่งได้รับการเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อว่ากษัตริย์ และขุนนางชั้นสูงเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก เมื่อสิ้นลมก็จำเป็นต้องมีการประโคมเพื่อส่งขวัญหรือดวงวิญญาณเพื่อขึ้นไปบนสรวงสวรรค์ได้อย่างปลอดภัย

 

โดยเครื่องประโคมต่าง ๆ โดยเฉพาะวงปี่พาทย์นางหงส์ก็สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเวลาหลายพันปีที่พิธีกรรมจัดการศพในภูมิภาคนี้มีความเกี่ยวพันกับพิธีส่งผีขวัญไปเมืองฟ้า กระทั่งเมื่ออิทธิพลด้านศิลปะ โดยเฉพาะเครื่องประโคมของภูมิภาคเอเชียใต้และชวาเข้ามามีอิทธิพลในราชสำนัก จึงมีการใช้เครื่องโคมแบบใหม่เพื่อส่งเจ้านายชั้นสูงไปเมืองฟ้า

 

เครื่องประโคมจึงมีความสำคัญในฐานะเครื่องดนตรีที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และผสมผสานไว้ด้วยวัฒนธรรมอันแตกต่างหลากหลาย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

พิธีสวดพระอภิธรรมศพ ความเป็นมาและความสำคัญ

NippanGift นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคาส่ง

 

แม้ว่าในปัจจุบันการประโคมย่ำยามจะไม่ค่อยมีให้เห็นนัก แต่ในงานพระราชพิธีสวดอภิธรรมพระศพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ชาวไทยได้มีโอกาสประจักษ์พิธีกรรมประโคมย่ำยามอันเป็นประเพณีโบราณที่ปฏิบัติในราชสำนักมาอย่างยาวนาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเครื่องประโคมมิได้เป็นเพียงแค่เครื่องดนตรีเป็นอย่างเดียว แต่ยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวมากมายไว้ภายใต้เพลงที่บรรเลงในพิธีกรรมเหล่านั้นอีกด้วย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart