ท้าวหิรัญพนาสูร เรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับเทพผู้คอยปกปักรักษาและดูแลผู้คนให้รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ อย่าง “ท้าวหิรัญพนาสูร” หรือ “ท้าวฮู” ยังคงได้รับการกล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน เพราะชื่อเสียงของท่านมีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่เหล่าผู้ใกล้ชิดต่างก็รู้กันดีว่าพระองค์ท่านเคารพและบูชาท่านท้าวหิรัญพนาสูรเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นเทพผู้มากในสัมมาทิฐิหรือเทพผู้ประพฤติตนดำรงอยู่ภายใต้ความดีงามเสมอ โดยช่วยปกป้องคุ้มครองและกันภัยต่างๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นภัยจากภายนอกหรือแม้แต่ภัยภายในอย่างโรคร้ายนานาชนิด อิทธิฤทธิ์ของท่านก็สามารถช่วยบำบัดปัดเป่าให้ผ่อนคลายหายดีจากโรคนั้นๆ ได้อีกด้วย ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการประวัติของท่านท้าวหิรัญพนาสูรความอัศจรรย์ที่ทำให้ท้าวหิรัญพนาสูรเป็นที่เคารพบูชาของรัชกาลที่ 61. การพบเห็นองค์จริงของท้าวหิรัญพนาสูร2. การขอพรที่สัมฤทธิ์ผล3. การพบเรื่องแปลกบนรถพระที่นั่ง4. อาการเจ็บป่วยที่หายได้อย่างรวดเร็ว5. ปาฏิหาริย์ที่พระราชวังพญาไท ประวัติของท่านท้าวหิรัญพนาสูร ท้าวหิรัญพนาสูรถูกจัดให้เป็นเทพผู้ปกปักรักษาและป้องกันภัยต่างๆ ให้แก่บุคคลที่บูชา โดยมีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า “ท้าวหิรัญฮู” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 พร้อมการถูกเล่าขานจากคนในอดีตมาจนถึงปัจจุบันเรื่องของการป้องกันภัยในทุกด้านแม้แต่ด้านของสุขภาพ ดังนั้นผู้คนยุคใหม่จึงพากันกราบไหว้และบูชา เพื่อขอให้ท่านท้าวหิรัญพนาสูรกำจัดโรคร้ายต่างๆ ที่เข้ามาภายในชีวิต สำหรับเรื่องของชื่อเสียงท้าวหิรัญพนาสูรใช่ว่าจะเป็น แค่เรื่องร่ำลือ เพราะมีเหตุการณ์จริงที่ถูกบันทึกไว้หลายเหตุการณ์ โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ท่านเคารพบูชาเทวรูปท้าวหิรัญพนาสูร ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งมีข้าราชบริพารผู้อารักขาพระมหากษัตริย์ ได้พบเห็นร่างของยักษ์ที่ดูดุร้ายและน่ากลัวอยู่ภายในพระราชวัง โดยเฉพาะในช่วงของยามวิกาล แต่ในช่วงเวลาปกติกลับพบเห็นเป็นชายผู้มีรูปงาม แต่ยังคงดูมีบารมีและน่าเกรงขามเป็นอย่างมาก มักจะพบเห็นว่าอยู่ใกล้ตัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่เสมอ จึงกลายเป็นเรื่องราวร่ำลือกันมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยของรัชกาลที่ 6 เชื่อกันว่าพระมหากษัตริย์จะสื่อสารกับ “โอปปาติกะ” ได้และสามารถที่จะทอดพระเนตรเห็นผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในสถานที่ต่างๆ หรือเป็นผู้ที่กลับมาหา
Blog
On sale Sale Quick View Add to cart ของชำร่วยงานศพ ไฟฉาย ของชำร่วยงานศพ งานแต่ง งานเกษียณ ราคาถูก ฟรีสติ๊กเกอร์ ฿15.00 ฿12.00 Rated 5.00 out of 5 ของชำร่วยงานศพ ไฟฉาย ของชำร่วยงานแต่ง ของชำร่วยงานเกษียณ ราคาส่ง ราคาถูก บรรจุในถุงพลาสติกแก้วพร้อมลวดขลิบสีทอง ของชำร่วย ไฟฉาย ขนาดพกพา พร้อมแพคและป้ายชื่อ จัดส่งเร็วมีหน้าร้าน การันตีราคาถูกสุด แถมฟรี*** สติ๊กเกอร์สีทอง หรือสีเงิน (เคลือบพลาสติกมันอย่างดี) ติดที่ถุงพลาสติกแก้ว พร้อมใช้งานได้ทันที การันตีความพึงพอใจ*** สติ๊กเกอร์คุณภาพดีเยี่ยม หมึกติดทนนาน ไม่หลุดลอก 100% ไฟฉาย ของที่ระลึก มาพร้อมถ่านกระดุม 3 เม็ด ที่ให้แสงสว่างมาก เนื่องจากด้านหน้าไฟฉายคล้ายเลนส์
การบวชหน้าไฟ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทยที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน แต่ด้วยยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีต่างๆ ทันสมัยขึ้น ประกอบกับการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ เข้ามา ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกขัดแย้งกันว่าจริงๆ แล้วการบวชหน้าไฟจำเป็นหรือไม่ ซึ่งบางคนก็มองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ แต่บางคนก็มองว่าไม่จำเป็นเลย ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับการบวชหน้าไฟ ที่ระลึกงานฌาปนกิจ ราคาส่ง บวชหน้าไฟ คืออะไร การบวชหน้าไฟ เป็นการบวชเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว โดยจะบวชตอนเช้าในวันที่มีการเผาศพนั่นเอง ซึ่งการบวชหน้าไฟ จะบวชเช้า สึกเย็น บวช 3 วัน 7 วัน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ข้อมูลจาก Wikipedia การบวชสามเณรหน้าไฟ คือการบรรพชาสามเณรที่นิยมบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย โดยปรกติการบวชหน้าไฟมักจะบวชกันในวันเผาศพ โดยเมื่อทำพิธีฌาปนกิจเสร็จก็มักจะสึก การบวชหน้าไฟ หากเป็นสามเณร จะนิยมเรียกว่า สามเณรหน้าไฟ หรือ เณรหน้าไฟ บวชหน้าไฟ ขั้นตอน การบวชหน้าไฟนั้นจะทำพิธีแบบง่ายๆ ด้วยการโกนหัวและนำจีวรที่เตรียมไว้มาเข้าหาอุปัชฌาย์ (พระอุปัชฌาย์ พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธานและรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท) จากนั้นทำพิธีนิดหน่อยก็เสร็จสิ้นการบวชหน้าไฟแล้ว การบวชหน้าไฟ บวชเพื่อใคร โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกหลานมาบวชหน้าไฟให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า
งานศพ เป็นงานพิธีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี และเพื่อให้พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ พี่น้อง เพื่อนฝูงและแขกคนสำคัญ ร่วมกันไว้อาลัยให้กับผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย การจัดงานศพจึงจำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเหมาะสมตามกาลเทศะในทุกๆ ส่วน ทั้งลำดับพิธี สถานที่ ชุดแต่งกาย และการเตรียมงาน โดยเฉพาะการเลือกของชำร่วยเพื่อนำมามอบให้กับผู้ที่มาร่วมงาน ก็จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับพิธีและกาลเทศะด้วยเช่นกัน วันนี้เราจึงมีของต้องห้ามที่ไม่ควรเลือกใช้เป็นของชำร่วยในงานศพมาฝากกัน เพื่อให้เจ้าภาพสามารถเลือกของชำร่วยได้เหมาะสมมากขึ้น มีสิ่งใดที่ไม่ควรนำมาใช้บ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ ของชำร่วยงานศพ ต้องห้าม 1. สิ่งของที่แตกหักง่าย สิ่งของประเภทแก้ว คริสตัล เซรามิก ที่มีความเปราะบาง และไม่คงทน ไม่ควรนำเอามาใช้เป็นของชำร่วยในงานศพ เพราะถ้าหากแจกจ่ายอย่างไม่ระวัง หรือผู้ที่ได้รับทำหล่นร่วง ก็อาจจะทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ให้และผู้รับได้ นอกจากเสี่ยงได้รับบาดเจ็บแล้ว การที่ของชำร่วยชิ้นนั้นๆ เกิดแตกหักก็ยังถือเป็นลางบอกเหตุในทางที่ไม่ดีได้เช่นกัน จึงถือว่าเป็นที่ไม่เป็นมงคลเมื่อนำมาใช้เป็นของชำร่วยในงานศพ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาระต่อตัวผู้รับ ที่ต้องคอยเก็บรักษาของชิ้นนั้นด้วยความระมัดระวังมากขึ้นอีกด้วย 2. สิ่งของที่มีสีสันฉูดฉาด น่ารักสดใส งานศพเป็นงานที่เจ้าภาพควรเลือกประเภทของของชำร่วยให้แตกต่างจากงานอื่นๆ เนื่องจากข้อจำกัดของงานที่จะต้องมีความสำรวม สุภาพ แตกต่างจากงานมงคลอื่นๆ ทั่วไป ดังนั้นของชำร่วยที่นำมาใช้กับงานศพจึงไม่ควรเป็นสิ่งของที่มีสีสันฉูดฉาด หรือสิ่งของที่มีความน่ารักสดใส เพราะเมื่อนำมามอบให้กับผู้ที่มาร่วมงานแล้ว
งานศพไทย พิธีงานศพไทย เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของวัฏจักรในการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ เมื่อร่างกายของเราไร้ลมหายใจ เมื่อสังขารถึงคราวดับขันธ์ สิ่งสำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือ การทำพิธีศพ ซึ่งถือเป็นความเชื่อสืบต่อจากอดีตจนถึงปัจจุบันว่าเป็นหนทางในการส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี และเพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนจิตใจของผู้ที่ยังคงเวียนว่ายอยู่ในโลกปัจจุบันถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ซึ่งอาจจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้คนรอบข้างตระหนักถึงการสะสมบุญ โดยหมั่นสร้างความดีในขณะที่ยังมีชีวิต เพื่อที่ชาติภพต่อไปจะได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์อีก ในช่วงชีวิตคนเรา มีความผูกพันกับพิธีศพอยู่หลายครั้ง เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงที่คนรอบข้างกลายเป็นใบไม้ที่ร่วงโรย เมื่อชีวิตเริ่มเติบโตและได้เห็นการล้มหายตายจากของคนที่เรารัก เมื่อนั้นก็จะเกิดความเข้าใจในสัจธรรมต่างๆ มากขึ้น มีเกิด ก็ต้องมีแก่ เมื่อมีแก่ ก็ต้องมีเจ็บและตายเป็นธรรมดาของสังขาร เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ล้วนแล้วแต่จะต้องเผชิญหน้า และเมื่อถึงวาระที่เราต้องเผชิญ สิ่งที่เราจะได้รับจากการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ก็คือ การจัดพิธีศพเพื่อระลึกถึงเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้จึงอยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพิธีฌาปนกิจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำพิธีศพ โดยสืบทอดกันมายาวนาน ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญสุดท้ายก่อนร่างกายของผู้ล่วงลับจะสูญสลายไปสู่ภพภูมิใหม่ งานฌาปนกิจ คืออะไร? หลายคนคงจะเคยได้ยินคำนี้ในพิธีศพกันมาบ่อยครั้ง แต่อาจจะยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าจริงๆ แล้ว ฌาปนกิจ คือส่วนใดในพิธีศพ และมีความสำคัญอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจไปว่า ฌาปนกิจ คือการจัดพิธีศพ แต่จริงๆ แล้ว ไขข้อสงสัย ระหว่างคำว่า “ฌาปนกิจ” กับ “ฌาปนกิจศพ” ควรใช้คำไหนกันแน่? หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าระหว่างคำว่า “ฌาปนกิจ” กับ “ฌาปนกิจศพ”
การลอยอังคาร ถือเป็นพิธีการสุดท้ายในขั้นตอนของงานศพ ที่จัดขึ้นเพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วให้ไปสู่สัมปรายภพหรือภพภูมิที่ดี ทั้งให้ได้ สำหรับพิธีการลอยอังคารมีประวัติความเป็นมาและมีความหมายอย่างไร ตลอดจน ขั้นตอนการทำพิธีลอยอังคาร จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ การลอยอังคาร คืออะไร (ลอยอังคาร แปลว่า) ตามความเชื่อของคนไทยที่ว่า การนำอังคารของผู้ตายไปลอยในแม่น้ำ เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขในภพภูมิหลังความตายหรือในโลกหน้านั่นเอง เพราะน้ำเป็นตัวแทนแห่งความเย็น ใครก็ตามที่ได้อยู่กับสายน้ำย่อมได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งคนไทยส่วนมากจะแบ่งกระดูก (อัฐิ) มาเก็บไว้ส่วนหนึ่ง และนำอังคาร (เถ้ากระดูก) ไปลอยน้ำตามความเชื่อดังกล่าวอีกส่วนหนึ่ง “อังคาร” ในที่นี้หมายถึง เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว การลอยอังคาร ภาษาอังกฤษ คือ scattering ashes over water, scattering ashes over the sea พิธีลอยอังคาร เป็นพิธีกรรมความเชื่อตามหลักศาสนาฮินดูที่เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศไทย ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่เชื่อว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สามารถชำระล้างบาปให้กับผู้ที่ตายได้ ดังนั้นจึงนำร่างหรือเถ้ากระดูกของผู้ตายมาลอยในแม่น้ำคงคา เพื่อเป็นการชำระล้างบาปของผู้ตาย ทำให้ผู้ตายได้ขึ้นสวรรค์หรือไปเกิดใหม่ในที่ที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูได้เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศไทย ธรรมเนียมการจัดพิธีศพและการลอยอังคารจึงเข้ามาด้วย ประวัติการลอยอังคาร ตามประวัติศาสตร์ของไทยไม่ได้ทำการบันทึกอย่างชัดเจนว่าการลอยอังคารเริ่มขึ้นในสมัยใด
การแจ้งตาย – ความตาย ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนย่อมหนี้ไม่พ้นอย่างแน่แท้ เพราะชีวิตของคนเรามีเกิดย่อมมีดับเป็นของธรรมดา โดยเฉพาะความตายที่เข้ามาพรากบุคคลอันเป็นที่รักไปจากเรา มักจะทำให้รู้สึกโศกเศร้าเสียใจ และเมื่อพูดถึงวิธีการปฏิบัติในทางกฎหมายแล้วหลังจากที่มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น ผู้ที่เป็นญาติหรือผู้ที่พบเห็นการเสียชีวิตของบุคคลดังกล่าวยังมีหน้าที่ที่ต้องพึงกระทำ นั่นคือ การแจ้งเสียชีวิต การแจ้งตายให้กับผู้เสียชีวิต (Death Registration) นั่นเอง เพราะหลังจากที่ทำ การแจ้งเสียชีวิต แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการออกใบมรณะบัตรเพื่อยืนยันการเสียชีวิตไว้เป็นหลักฐาน สำหรับใช้ในการติดต่อกับหน่วยงานราชการต่อไป ความหมายของมรณบัตรหรือใบมรณะ ใบมรณบัตร (Death Certificate) – ตามพจนานุกรมแปลไทยราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “มรณบัตร” ว่าเป็นหนังสือสําคัญที่นายทะเบียนที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับแจ้งแห่งท้องถิ่นที่มีคนตายหรือเสียชีวิต ต้องทำการออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการของคนตายแก่ผู้ที่ทำการแจ้ง ซึ่งเอกสารมรณบัตรที่ได้รับถือเป็นหลักฐานที่ใช้ยืนยันสถานะของตัวบุคคลดังกล่าว ว่าได้เสียชีวิตไปแล้วจริง โดยต่อไปได้ ประวัติความเป็นมาของมรณบัตร ประวัติความเป็นมาของมรณบัตร ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นเมื่อใด แต่ได้ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีประราชดำริให้มีการจัดทำ บัญชีประชากร ที่อยู่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมด โดยเริ่มแรกได้มีการจัดทำประชากรที่อยู่ในเขตพระราชฐานก่อน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการสำรวจและจัดทำบัญชีประชากรในพระราชอาณาเขตทั้งหมด ซึ่งจุดประสงค์ในการจัดทำบัญชีประชากรนี้ก็เพื่อใช้ในการวางแผนรักษาแผ่นดิน และเพื่อการดูแลทุกข์บำรุงสุขให้กับประชากรที่อยู่ในการปกครองของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการโปรดเกล้าให้มีการใช้ตรา พ.ร.บ. สำหรับทำบัญชีราษฎรในพระราชอาณาจักร ร.ศ.128 ขึ้นมา โดยมีการกำหนดหลักที่ใช้ในการดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ออกเป็น
ไฟฉาย – แสงสว่างเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยเฉพาะในยามตะวันตกดินที่โลกตกอยู่ภายใต้ความมืด มีเพียงแค่แสงจันทร์และดวงดาวเท่านั้นที่คอยช่วยนำทาง ของชำร่วย ไฟฉาย เหตุนี้ มนุษย์โบราณจึงต้องคิดประดิษฐ์ไฟขึ้นมาเพื่อให้ความอบอุ่น ประกอบอาหาร และนำทางในยามค่ำคืน จากกองฟืนไฟก็กลายเป็นคบเพลิง แล้วในท้ายที่สุดก็มีพัฒนาการมาเป็นไฟฉายในมือเราในปัจจุบัน วันนี้เราจึงจะมาบอกเล่าเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับไฟฉาย ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่มีความซับซ้อนและน่าอัศจรรย์มากที่สุดชิ้นหนึ่งของมนุษยชาติ ประวัติของไฟฉาย นับตั้งแต่มนุษย์รู้จักการใช้ไฟเป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ ไฟได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างคบเพลิง เทียน ตะเกียงน้ำมัน ซึ่งแม้ว่าจะสามารถใช้งานได้มาจนถึงศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังมีระยะเวลาการใช้งานที่จำกัด และมีผู้ใช้งานหลายคนได้รับอันตรายจากเปลวไฟที่ปะทุออกมาจากน้ำมันก๊าด ด้วยเหตุนี้ นักประดิษฐ์หลายคนจึงพยายามสร้างตัวเลือกในการสร้างสรรค์ไฟส่องสว่างแบบพกพา โดยใช้หลักการของแบตเตอรี่ให้เกิดประโยชน์ กระทั่งในปี ค.ศ.1899 นักประดิษฐ์สัญชาติอังกฤษนาม ได้ผสมผสานหลักการทำงานของแบตเตอรี่เซลล์แห้งที่วางต่อกันภายในกระบอกขนาดเล็ก สามารถควบคุมการทำงานของแบตเตอรี่ด้วยสวิสต์เปิด-ปิด เมื่อเปิดแบตเตอรี่จะทำปฏิกิริยากับหลอดไฟขนาดเล็กด้านในก่อให้เกิดแสงสว่างได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเมื่อนั่นเองที่ไฟฉายกระบอกแรกของโลกจึงได้คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นในสหราชอาณาจักร และถูกขนานนามว่า ‘Flash’ (แฟลช) British inventor David Misell, who was living in New York, patented the original flashlight
เมื่อพูดถึงงานศพ แน่นอนว่าทุกคนต้องนึกถึงการแต่งกายด้วยชุดสีดำ และบรรยากาศภายในงานที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้า ใครเล่าจะคิดว่าเคยมีงานศพที่มีการร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุก และแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสันฉูดฉาดไปร่วมงานจริงไหม ซึ่งเราต้องบอกเลยว่างานศพแบบนี้เคยมีอยู่จริง โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในยุคแรก อุษาคเนย์*** นั่นเอง งานศพยุคโบราณ งานศพสมัยก่อน งานศพสมัยโบราณ งานศพยุคแรกอุษาคเนย์ งานศพยุคแรกอุษาคเนย์นั้น มีความแปลก แตกต่างจากงานศพในยุคปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง โดยในยุคนั้นจะต้องมีการร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน รวมถึงสวมใส่เสื้อผ้าสีสันฉูดฉาด จนเหมือนเป็นงานรื่นเริงสังสรรค์ในยุคนี้เลยทีเดียว ทั้งยังมีการละเล่นสนุกสนานเฮฮาตามประเพณีอีกด้วย สำหรับคำเรียกงานศพในยุคนั้นก็จะเรียกกันว่า “งันเฮือนดี” นั่นเอง โดยการจัดงานศพหรืองันเฮือนดี จะกำหนดให้มีแม่งานเป็นผู้หญิงทั้งหมด และหากผู้ตายมีลูกเขย ก็จะต้องให้ลูกเขยทุกคนมาเต้นกระทบสากทุกคืนอีกด้วย ซึ่งการเต้นนั้นจะต้องเต้นให้ดี โดยพยายามอย่าให้สากถูกขา หากใครเต้นไม่ได้ เต้นไม่เป็น ก็ต้องจ้างให้คนอื่นมาเต้นแทน เพราะถือว่าเป็นพิธีสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลย นอกจากนี้ในงานก็จะมีหมอลำ หมอแคน และการละเล่นกันอย่างสนุกด้วย หลังจากทำพิธีงานศพเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการนำศพไปฝังหรือเผา ซึ่งหากเป็นชาวบ้านธรรมดาก็นำไปฝังตามปกติ แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะหรือมีระดับขึ้นมาหน่อย ระหว่างที่กำลังนำศพไปฝังหรือเผานั้น จะต้องจัดให้มีการละเล่นกันอย่างสนุกสนานของหมอลำหมอแคนและสวดอภิธรรมไปตลอดทางด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม การสวดอภิธรรม ความหมายของ งันเฮือนดี คำเรียกงานศพยุคโบราณ “งันเฮือนดี” เป็นคำเรียกงานศพยุคแรกอุษาคเนย์ ซึ่งหลายคนอาจจะงงใช่ไหมว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร ดังนั้นเราจะมาอธิบายความหมายของคำว่า “งันเฮือนดี” “งัน”
งานศพยุคแรกอุษาคเนย์ (ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้) ความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของหมาดำรงอยู่คู่อารยธรรมนุษย์มาอย่างยาวนานหลายพันปี หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าในอดีตมนุษย์เคารพบูชาหมาในฐานะผู้ให้กำเนิด และมีอำนาจพิเศษในการนำทางมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ หมาพาคนตายไปเมืองฟ้า ความเชื่อที่มีอยู่จริง ความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศไทยหลายแห่ง อาทิ การพบโครงกระดูกหมาในหลุมฝังศพคนในพื้นที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.สกลนคร และบ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการค้นพบ ภาพเขียนรูปหมาบนเพิงผาและผนังถ้ำแสดงผีขวัญบรรพชนในถ้ำหลายพื้นที่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขาจันทน์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา, ภูปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี และถ้ำผาลายแทง อ.ภูกระดึง จ.เลย ทั้งนี้ ความเชื่อว่าหมาเป็นตัวกลางเชื่อมโยงโลกมนุษย์เข้ากับโลกศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏผ่านตำนานและพิธีกรรมของกลุ่มไทดำ ไทแถง ไมเมือง และจ้วง โดยเฉพาะพิธีส่งผีขวัญหรือคนตายขึ้นฟ้า ซึ่งปรากฎว่าหมาเป็นสัญลักษณ์ของพลังวิเศษที่สามารถนำทางวิญญาณของมนุษย์ไปยังภพภูมิอื่นได้ บทความ ‘บทบาทของหมาในตำนานและพิธีกรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอุษาคเนย์’ ของ รศ.ดร.ปฐม หงส์สุวรรณ ผอ. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ม.มหาสารคาม พบว่า
งานฌาปนกิจศพ ถือเป็นพิธีสำคัญที่นอกจากเจ้าภาพจะต้องดูแลแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน และตรวจตราดูความเรียบร้อยในงานให้เป็นไปด้วยดีแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องมีของชำร่วย หรือของที่ระลึก มอบให้กับผู้ที่มาร่วมงานด้วย เพื่อเป็นสื่อแทนคำขอบคุณ ดังนั้นขั้นตอนในการเลือกของชำร่วยงานศพ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณได้ของชำร่วยสำหรับแจกจ่ายในงานศพที่มีคุณค่า มีความหมาย และแทนความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม โดยวิธีการเลือกของชำร่วยที่เหมาะสม ถูกกาลเทศะนั้น ก็มีหลักการเลือกง่ายๆ ดังนี้ 1. เลือกของชำร่วยที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนของผู้เสียชีวิต การเลือกของชำร่วยงานฌาปนกิจศพ เจ้าภาพ จำเป็นต้องคำนึงถึงของชำร่วย หรือของที่ระลึกที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวผู้เสียชีวิต ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นของที่แสดงความเป็นตัวตนของผู้เสียชีวิตออกมา เช่น ของที่ผู้เสียชีวิตชอบสะสม ของที่ผู้เสียชีวิตโปรดปราน หรือของที่ผู้เสียชีวิตมอบให้คนอื่นบ่อยๆ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่อย่างเช่น หากผู้เสียชีวิตมีความชื่นชอบในเรื่องของดนตรี ของชำร่วยในงานศพนั้นก็อาจจะเป็นของที่สื่อถึงดนตรีในทางใดทางหนึ่ง หรือถ้าผู้เสียชีวิตชอบดูหนัง ก็อาจจะเป็นของที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ หรืออุปกรณ์ที่สื่อถึงภาพยนตร์นั่นเอง 2.เลือกของชำร่วยที่มีราคาเหมาะสม ราคาของชำร่วยถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงเป็นลำดับต้นๆ เพราะในงานศพหนึ่งงานนั้น อาจจะต้องใช้ทุนมากในการจัดการส่วนต่างๆ เช่น โลงศพและอาหาร ซึ่งหากเกิดคุณไม่สามารถกำหนดงบประมาณของชำร่วยให้อยู่ในงบที่กำหนดได้ ก็อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย ดังนั้น เจ้าภาพจำเป็นจะต้องประเมินจำนวนแขกที่มาร่วมงานคร่าวๆ แล้วตีราคาสำหรับการเลือกซื้อของชำร่วยเอาไว้ให้ครอบคลุม เพื่อให้สามารถเลือกซื้อของชำร่วยที่มีราคาสอดคล้องกับงบประมาณที่คุณมี เช่น ของชําร่วย กระเป๋าใส่เหรียญ ราคาส่ง 11