การแจ้งตาย – ความตาย ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนย่อมหนี้ไม่พ้นอย่างแน่แท้ เพราะชีวิตของคนเรามีเกิดย่อมมีดับเป็นของธรรมดา โดยเฉพาะความตายที่เข้ามาพรากบุคคลอันเป็นที่รักไปจากเรา มักจะทำให้รู้สึกโศกเศร้าเสียใจ
และเมื่อพูดถึงวิธีการปฏิบัติในทางกฎหมายแล้วหลังจากที่มีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น ผู้ที่เป็นญาติหรือผู้ที่พบเห็นการเสียชีวิตของบุคคลดังกล่าวยังมีหน้าที่ที่ต้องพึงกระทำ นั่นคือ การแจ้งเสียชีวิต การแจ้งตายให้กับผู้เสียชีวิต (Death Registration) นั่นเอง
เพราะหลังจากที่ทำ การแจ้งเสียชีวิต แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการออกใบมรณะบัตรเพื่อยืนยันการเสียชีวิตไว้เป็นหลักฐาน สำหรับใช้ในการติดต่อกับหน่วยงานราชการต่อไป
นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก สเปรย์แอลกอฮอล์ แบบพกพา ของชำร่วย ราคาส่ง
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
- ความหมายของมรณบัตรหรือใบมรณะ
- ประวัติความเป็นมาของมรณบัตร
- ขั้นตอนการแจ้งขอใบมรณบัตร
- ข้อพึงรู้ในการขอมรณบัตร
- ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ยาดมสมุนไพร ของชำร่วย ราคาถูกสุด 6 บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ยาดม ราคาส่ง
- ยาหม่องน้ำ ของชําร่วย ราคาถูกสุด 27 บาท ฟรีถุงผ้าไหมแก้ว ฟรีสติ๊กเกอร์
- ของชําร่วย ยาพารา ถูกสุด 28 บาท ราคาโรงงาน ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว/กล่องลายไทย Cemol 50 เม็ด
- พิมเสนน้ำ หัวลูกกลิ้ง ฝาทอง ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
- ไฟฉายด้ามยาว LED ของชำร่วย ราคาส่ง 12+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์
- ไฟฉาย ของชำร่วยงานศพ งานแต่ง งานเกษียณ ราคาถูก ฟรีสติ๊กเกอร์
- กระเป๋าใส่เหรียญ ของชำร่วย ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ กระเป๋าใส่เงิน
- ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ พกพา ราคาส่ง [16 บาท] ฟรีสติ๊กเกอร์ ออกแบบฟรี
- ของชําร่วย พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ หนังสือสวดมนต์ แผ่นพับสวดมนต์ ราคาส่ง 10+ บาท
- ยาหม่อง ของชําร่วย ราคาส่ง 31+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว ยาหม่องตราถ้วยทอง
- พิมเสนน้ำ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก 5+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
ความหมายของมรณบัตรหรือใบมรณะ
ใบมรณบัตร (Death Certificate) – ตามพจนานุกรมแปลไทยราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “มรณบัตร” ว่าเป็นหนังสือสําคัญที่นายทะเบียนที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับแจ้งแห่งท้องถิ่นที่มีคนตายหรือเสียชีวิต
ต้องทำการออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการของคนตายแก่ผู้ที่ทำการแจ้ง ซึ่งเอกสารมรณบัตรที่ได้รับถือเป็นหลักฐานที่ใช้ยืนยันสถานะของตัวบุคคลดังกล่าว ว่าได้เสียชีวิตไปแล้วจริง
โดย ผู้ที่เป็นญาติหรือผู้ที่สืบสันดานสามารถใช้มรณบัตรนี้แทนตัวของผู้ตาย ในการดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือหนี้สินของผู้ตายทั้งหมด ต่อไปได้
ประวัติความเป็นมาของมรณบัตร
ประวัติความเป็นมาของมรณบัตร ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นเมื่อใด แต่ได้ มีการสันนิษฐานว่าการทำมรณบัตรได้มีจุดเริ่มต้นในช่วงปี พ.ศ.2452 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีประราชดำริให้มีการจัดทำ บัญชีประชากร ที่อยู่ในพระราชอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมด โดยเริ่มแรกได้มีการจัดทำประชากรที่อยู่ในเขตพระราชฐานก่อน
เมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการสำรวจและจัดทำบัญชีประชากรในพระราชอาณาเขตทั้งหมด ซึ่งจุดประสงค์ในการจัดทำบัญชีประชากรนี้ก็เพื่อใช้ในการวางแผนรักษาแผ่นดิน และเพื่อการดูแลทุกข์บำรุงสุขให้กับประชากรที่อยู่ในการปกครองของพระองค์
ด้วยเหตุนี้ จึงมีการโปรดเกล้าให้มีการใช้ตรา พ.ร.บ. สำหรับทำบัญชีราษฎรในพระราชอาณาจักร ร.ศ.128 ขึ้นมา โดยมีการกำหนดหลักที่ใช้ในการดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ออกเป็น 3 หัวข้อ คือ
- หัวข้อที่ 1 : ให้มีการจัดทำบัญชีสำมะโนครัวขึ้น เพื่อสำรวจจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีอยู่
- หัวข้อที่ 2 : ให้จัดทำบัญชีคนเกิดและคนตาย เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร
- หัวข้อที่ 3 : ให้จัดทำบัญชีคนเข้าออกขึ้น เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยหรือเขตพำนักที่แท้จริง
จะเห็นว่า ในการจัดทำบัญชีประชากรนี้ได้มีการกำหนดให้มีการแจ้งตายเกิดขึ้นด้วย จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่าการใช้มรณบัตรน่าจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงนี้
แต่ในช่วงแรกยังมิได้มีการออกเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้นและทำการคัดชื่อออกจากบัญชีเนื่องจากการเสียชีวิต
ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาให้มีการออกเอกสารเพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้ตายได้เสียชีวิตแล้ว และมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน
.
ขั้นตอนการแจ้งขอใบมรณบัตร
หลังจากที่ผู้ตายเสียชีวิตแล้ว ญาติหรือผู้ใกล้ชิดจะต้องทำการแจ้งตายเพื่อขอมรณบัตรให้กับผู้ตาย โดย การแจ้งตายจะต้องทำการแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากผู้ตายเสียชีวิต ซึ่งขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการแจ้งเพื่อขอมรณบัตร จะใช้โดยขึ้นอยู่กับกรณีการเสียชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
.
1. เสียชีวิตภายในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล
หากเสียชีวิตในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เช่น อนามัย หรือคลินิก เป็นต้น แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะทำการออก หนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) ให้หลังจากที่ผู้ตายเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อความแน่ใจว่าผู้ตายเสียชีวิตจริง ซึ่งเอกสารหนังสือรับรองการตายนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนที่ 1 : จะมอบให้ญาตินำไปติดต่อกับหน่วยงานทะเบียนเพื่อขอเอกสารมรณบัตร
- ส่วนที่ 2 : จะเก็บไว้ที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลเพื่อเป็นเอกสารยืนยัน
หลังจากที่ญาติได้รับหนังสือรับรองการตายแล้ว ให้ญาตินำไปยื่นร่วมกับเอกสารอย่างอื่นของผู้ตาย ต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนอำเภอหรือเทศบาลในพื้นที่ที่ผู้ตายเสียชีวิต โดยเอกสารที่ใช้ในการยื่น มีดังนี้
- ใบ ท.ร.4/1 (หนังสือรับรองการตาย) ที่ทางสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลออกให้
- บัตรประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย (ถ้ามี)
- บัตรประชาชนของผู้ที่ทำการแจ้ง
โดยให้นำเอกสารทั้งหมดไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนในเขตพื้นที่ที่ผู้ตายเสียชีวิต หรือพื้นที่ที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลตั้งอยู่นั่นเอง
เจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่นหรืออำเภอ เมื่อได้รับเอกสารจะทำการออกมรณบัตรให้กับผู้แจ้งเพื่อใช้ในการจัดการกับศพของผู้ตาย พร้อมทั้งทำการคัดชื่อออกจากสำเนาทะเบียนบ้าน ด้วยการ ประทับตราตัวอักษรสีแดงในสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ตายอยู่
.
2. เสียชีวิตนอกสถานพยาบาล
สำหรับกรณีของผู้ที่เสียชีวิตนอกสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลนั้น สามารถแบ่งแยกย่อยออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การเสียชีวิตในบ้าน
หากมีผู้ที่เสียชีวิตในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านของผู้ตายเองหรือบ้านของผู้อื่น ผู้ที่เป็นเจ้าบ้านจะต้องเป็นผู้ทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ แต่หากบ้านที่พบศพไม่มีเจ้าบ้าน แนะนำให้ผู้ที่พบศพหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องไปทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่
ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการรับแจ้งการตายจะแบ่งหน้าที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.1.1 บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองแบบอำเภอหรือท้องถิ่น
ผู้แจ้งต้องทำการแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ทะเบียนในพื้นที่ เมื่อผู้ใหญ่บ้านรับแจ้งว่ามีการตายเกิดขึ้น ผู้ใหญ่บ้านจะทำการมาดูพื้นที่ที่เกิดเหตุและมีผู้เสียชีวิตว่าเสียชีวิตจากสาเหตุใด
หากเป็นการเสียชีวิตการจากเจ็บป่วยหรือชราภาพ ผู้ใหญ่บ้านจะทำการออกใบรับแจ้งการตายหรือที่เรียกว่า “ท.ร.4 ตอนหน้า”** ให้กับผู้แจ้ง เพื่อนำไปยื่นขอมรณบัตรจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่อำเภอต่อไป
**หนังสือใบรับแจ้งการตายจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จะมอบให้แก่ผู้แจ้งเพื่อใช้สำหรับมอบให้กับเจ้าหน้าที่ทะเบียนเพื่อออกใบมรณบัตร ส่วนที่ 2 เจ้าหน้าที่จะทำการเก็บไว้ที่สำนักทะเบียนเพื่อเป็นเอกสารยืนยัน
2.1.2 บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลหรือท้องที่
ผู้แจ้งต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เทศบาลที่สำนักทะเบียนเทศบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) ให้กับผู้แจ้ง เพื่อนำไปแสดงสำหรับออกในมรณบัตรที่สำนักงานทะเบียนอำเภอหรือเขตต่อไป
– สำหรับผู้ที่เสียชีวิตด้วยอาการเจ็บป่วยที่ผ่านการรักษาจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลมาก่อน ซึ่งมีอาการหนักจนไม่สามารถรักษาให้หายได้หรือเคยได้รับการรักษาโรคมาก่อนแล้ว จึงได้เดินทางมาพักยังที่บ้านก่อนที่จะเสียชีวิตลงในช่วงการพักอยู่ที่บ้าน หลังจากที่ผู้ตายเสียชีวิตแล้ว
ญาติสามารถไปขอใบ ท.ร.4/1 จากสถานโรงพยาบาลที่ทำการรักษาก่อนหน้านี้มา เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขอมรณบัตรแทนการขอใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) ได้เช่นกัน เพราะถือว่าผู้ตายได้ผ่านการรักษามาแล้วในระยะหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เสียชีวิตด้วยอาการเจ็บป่วยชนิดเฉียบพลันที่บ้าน
– แต่หากผู้ตายเสียชีวิตด้วยการเกิดอุบัติเหตุหรือการฆาตกรรม ทั้งจากน้ำมือของตนเองหรือผู้อื่น เช่น ตกจากที่สูง ถูกแทง หรือถูกยิง เป็นต้น เจ้าบ้านจะต้องเป็นผู้ที่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ แต่หากไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ในข้อ 2.1.1 หรือ 2.1.2 ที่ได้กล่าวมาข้างต้น เพื่อขอใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า)
ซึ่ง การแจ้งต้องเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่พบศพ พร้อมกันนั้น ผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าบ้านจะต้องทำการแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้ามาตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุร่วมด้วย เพื่อให้ตำรวจเข้ามาทำการพิสูจน์ศพถึงสาเหตุการตายเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุการตายในขณะนั้นได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการส่งศพไปยังสถาบันนิติเวชให้ทำการชันสูตรศพเพื่อหาถึงสาเหตุของการตาย เมื่อได้ข้อสรุปและรู้ถึงสาเหตุของการตายแล้ว แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะทำการออกใบรับแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจให้กับผู้แจ้ง
เมื่อได้ใบรับแจ้งการตายจากสถาบันนิติเวชแล้ว ก็ให้นำเอกสารดังต่อไปนี้ไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนเพื่อออกใบมรณบัตรต่อไป
- ใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า)
- ใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจ
- บัตรประชาชนผู้ตาย
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย (ถ้ามี)
- บัตรประชาชนผู้แจ้ง
โดยผู้แจ้งจะต้องนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่นอำเภอหรือเขต ให้ทำการ ออกมรณบัตรและประทับตราตัวอักษรสีแดงในทะเบียนบ้านว่า “ตาย” บนหน้าที่เป็นชื่อของผู้ตายบันทึกอยู่ เพื่อเป็นการยืนยันสถานะของผู้ตาย
.
2.2 การเสียชีวิตนอกบ้าน
สำหรับกรณีที่ผู้ตายมีการเสียชีวิตนอกบ้าน เช่น ถนน ที่ดินเปล่า ที่สาธารณะประโยชน์ หรือสถานที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ที่บ้าน เป็นต้น ผู้ที่พบเห็นศพหรือผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ดังกล่าวจะต้องทำการแจ้ง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งทำหน้าที่ดูแลในพื้นที่ดังกล่าว
โดยหากเป็นเขตท้องถิ่นหรืออำเภอให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน แต่หากเป็นเขตเทศบาลให้แจ้งต่อนายทะเบียนเทศบาล เพื่อให้ออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) ภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเข้ามาตรวจสอบการเสียชีวิตของผู้ตายว่าเกิดจากสาเหตุใด หรือส่งศพไปชันสูตรที่สำนักนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจเพื่อออกใบแจ้งการตาย
โดยเอกสารที่ใช้ในการขอมรณบัตร มีดังนี้
- ใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า)
- ใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจ
- บัตรประชาชนผู้ตาย
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย (ถ้ามี)
- บัตรประชาชนผู้แจ้ง
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนทำการออกมรณบัตรให้กับผู้แจ้ง เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสารแล้ว จะทำการออกมรณบัตรและแจ้งไปยังสำนักทะเบียนกระทรวงมหาดไทยถึงสถานะของผู้ตายต่อไป
ข้อพึงรู้ในการขอมรณบัตร
จะเห็นว่าการแจ้งขอมรณบัตรนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจและจัดเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอรับมรณบัตรให้ครบถ้วน เมื่อท่านไปติดต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่นหรือเขต ท่านก็สามารถที่จะยื่นขอมรณบัตรได้ภายในระยะเวลาไม่นาน
ในการขอมรณบัตรมีข้อที่พึงรู้ทุกครั้ง คือ
1. ผู้แจ้งการตายจะต้องทราบข้อมูลของผู้ตาย ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล อายุ สัญชาติ เพศ ชื่อนามสกุล บิดา-มารดาของผู้ตาย รวมถึงที่อยู่ของผู้ตาย สถานที่ตาย เวลาที่ตาย พร้อมระบุวันเดือนปีโดยละเอียด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะมีปรากฏอยู่ในสำเนาทะเบียนอย่างครบถ้วน ดังนั้นในการแจ้งเพื่อขอรับใบ ท.ร.4 ตอนหน้า หรือ ใบ ท.ร.4/1 ควรมีสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชานชนของผู้ตายไปด้วยทุกครั้งเพื่อความรวดเร็ว
2. การแจ้งขอใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) จากผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าหน้าที่เทศบาลจะต้องทำการแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากที่ผู้ตายเสียชีวิตหรือหลังจากที่พบศพทุกครั้ง ไม่ว่าผู้ตายจะเสียชีวิตด้วยการตายตามธรรมชาติ เช่น ป่วย ชราภาพ หรือการตายผิดธรรมชาติ เช่น ถูกยิง ฆ่าตัวตาย หรือถูกแทง เป็นต้นก็ตาม
3. หากผู้ตายเสียชีวิตในบ้าน แต่เจ้าบ้านไม่สะดวกหรือไม่สามารถที่จะทำการแจ้ง ให้ทำหนังสือมอบหมายให้กับผู้รับมอบอำนาจในการแจ้ง พร้อมทั้งแนบบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจไปกับผู้ที่รับมอบอำนาจทุกครั้ง
4. การแจ้งเพื่อขอใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) หรือใบ ท.ร.4/1 จากสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล จะต้องทำการแจ้งภายในไม่เกิน 24 ชั่วโมง หากเกินเวลาดังกล่าวจะต้องเสียค่าปรับในความล่าช้าของการแจ้ง โดยจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่ก็มีข้ออนุโลมให้สำหรับพื้นที่กันดารหรือห่างไกลที่มีการเดินทางยากลำบาก ให้สามารถแจ้งเกิน 24 ชั่วโมงได้ แต่ไม่เกิน 7 วัน
5. สำหรับผู้ตายที่เสียชีวิตจากการฆาตกรรมหรืออุบัติเหตุที่ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของการตายที่แน่ชัดในใบ ท.ร.4 ตอนหน้า แล้ว จำเป็นต้องส่งศพเพื่อพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง โดยการขอมรณบัตรจะต้องรอจนกว่าผลการชันสูตรศพมีการออกใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจมาเสียก่อน จึงจะสามารถขอมรณบัตรได้
6. ต้องทราบวิธีจัดการศพของผู้ตายด้วยว่าจะมีวิธีจัดการอย่างไรกับศพ เช่น เผา หรือฝัง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลนี้จะต้องตรงกับความเป็นจริงที่ใช้ในการจัดการศพ เพราะหากมีการจัดการที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังจากที่ออกมรณบัตรมาแล้ว ญาติสามารถทำการติดต่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลการจัดการศพได้ โดยให้ทายาทของผู้ตายเป็นผู้ทำการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล ซึ่งมีเอกสารประกอบการขอเปลี่ยนแปลง คือ บัตรประชาชนผู้แจ้งและมรณบัตรของผู้ตาย โดยทำการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่ที่ผู้ตายเสียชีวิตหรือทำการออกมรณบัตรให้นั่นเอง
ที่กล่าวมานี้เป็นข้อพึงระวังและควรปฏิบัติให้ครบถ้วนก่อน เพื่อให้การขอมรณบัตรเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว แล้วการขอมรณบัตรจะไม่ยากอีกต่อไป
ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- งานฌาปนกิจคืออะไร งานศพไทย ความสำคัญของงานฌาปนกิจ พร้อมขั้นตอนการทำพิธีแบบไทย
- ของชำร่วยงานขาวดำ ราคาถูก
- พิธีสวดพระอภิธรรมศพ ความเป็นมาและความสำคัญ
- ฮวงซุ้ย ประวัติความเป็นมา การเลือกฮวงซุ้ยให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย
- เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ