งานศพไทย พิธีฌาปนกิจ พิธีงานศพไทย เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของวัฏจักรในการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ เมื่อร่างกายของเราไร้ลมหายใจ เมื่อสังขารถึงคราวดับขันธ์ สิ่งสำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือ การทำพิธีศพ ซึ่งถือเป็นความเชื่อสืบต่อจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าเป็นหนทางในการส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี
และเพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนจิตใจของผู้ที่ยังคงเวียนว่ายอยู่ในโลกปัจจุบัน ถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ซึ่งอาจจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้คนรอบข้างตระหนักถึงการสะสมบุญ โดยหมั่นสร้างความดีในขณะที่ยังมีชีวิต เพื่อที่ชาติภพต่อไปจะได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์อีก
ในช่วงชีวิตคนเรา มีความผูกพันกับพิธีศพอยู่หลายครั้ง เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงที่คนรอบข้างกลายเป็นใบไม้ที่ร่วงโรย เมื่อชีวิตเริ่มเติบโตและได้เห็นการล้มหายตายจากของคนที่เรารัก เมื่อนั้นก็จะเกิดความเข้าใจในสัจธรรมต่างๆ มากขึ้น มีเกิด ก็ต้องมีแก่ เมื่อมีแก่ ก็ต้องมีเจ็บและตายเป็นธรรมดาของสังขาร เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ล้วนแล้วแต่จะต้องเผชิญหน้า
และเมื่อถึงวาระที่เราต้องเผชิญ สิ่งที่เราจะได้รับจากการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ก็คือ การจัดพิธีศพเพื่อระลึกถึงเป็นครั้งสุดท้าย
ทั้งนี้จึงอยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพิธีฌาปนกิจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำพิธีศพ โดยสืบทอดกันมายาวนาน ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญสุดท้ายก่อนร่างกายของผู้ล่วงลับจะสูญสลายไปสู่ภพภูมิใหม่ แจ้งตาย การแจ้งตาย
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
- งานฌาปนกิจ คืออะไร?
- ไขข้อสงสัย ระหว่างคำว่า “ฌาปนกิจ” กับ “ฌาปนกิจศพ” ควรใช้คำไหนกันแน่?
- ความสำคัญของงานฌาปนกิจ
- ขั้นตอนของพิธีศพและการฌาปนกิจตามแบบคนไทย
- 1. การชำระล้างร่างกายศพ
- 2. การหวีผม-แต่งกายให้กับศพ
- 3. การรดน้ำศพ
- 4. การสวดศพ
- 5. การฌาปนกิจ
- ของชําร่วย ยาพารา ถูกสุด 27 บาท ราคาโรงงาน ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว/กล่องลายไทย Cemol 50 เม็ด
- ยาดมสมุนไพร ของชำร่วย ราคาถูกสุด 6 บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ยาดม ราคาส่ง
- ยาหม่องน้ำ ของชําร่วย ราคาถูกสุด 27 บาท ฟรีถุงผ้าไหมแก้ว ฟรีสติ๊กเกอร์
- พิมเสนน้ำ หัวลูกกลิ้ง ฝาทอง ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
- ไฟฉายด้ามยาว LED ของชำร่วย ราคาส่ง 12+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์
- ไฟฉาย ของชำร่วยงานศพ งานแต่ง งานเกษียณ ราคาถูก ฟรีสติ๊กเกอร์
- กระเป๋าใส่เหรียญ ของชำร่วย ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ กระเป๋าใส่เงิน
- ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ พกพา ราคาส่ง [16 บาท] ฟรีสติ๊กเกอร์ ออกแบบฟรี
- ของชําร่วย พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ หนังสือสวดมนต์ แผ่นพับสวดมนต์ ราคาส่ง 10+ บาท
- ยาหม่อง ของชําร่วย ราคาส่ง 31+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว ยาหม่องตราถ้วยทอง
- พิมเสนน้ำ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก 5+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
- 6. การเก็บกระดูกหลังจากฌาปนกิจและลอยอังคาร
- บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ: ประวัติการฝังและเผาศพ
- บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ: การแจ้งตาย การแจ้งเสียชีวิต
- ของชำร่วยงานฌาปนกิจ ราคาส่ง:
งานฌาปนกิจ คืออะไร?
หลายคนคงจะเคยได้ยินคำนี้ในพิธีศพกันมาบ่อยครั้ง แต่อาจจะยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าจริงๆ แล้ว ฌาปนกิจ คือส่วนใดในพิธีศพ และมีความสำคัญอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจไปว่า ฌาปนกิจ คือการจัดพิธีศพ แต่จริงๆ แล้ว ฌาปนกิจ ตามความหมายของรากศัพท์ที่แท้จริงคือ การทำให้มอดไหม้ หรือในภาษาพูดก็คือ การเผาศพนั่นเอง
ไขข้อสงสัย ระหว่างคำว่า “ฌาปนกิจ” กับ “ฌาปนกิจศพ” ควรใช้คำไหนกันแน่?
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าระหว่างคำว่า “ฌาปนกิจ” กับ “ฌาปนกิจศพ” ควรใช้คำไหนกันแน่ จริงๆ แล้ว ฌาปนกิจ เป็นคำที่ใช้อย่างแพร่หลายในการทำพิธีศพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคำว่า “ศพ” มาต่อท้าย เพราะฌาปนกิจ มีความหมายตรงตัวอยู่แล้วว่าคือ การเผาศพ แต่ก็ยังมีหลายๆ พิธีศพ ที่ยังคงใช้คำว่า ฌาปนกิจศพอยู่
โดยรากศัพท์ที่แท้จริงของคำว่า ฌาปนกิจ มาจากภาษาบาลี คำว่า ฌาปน แปลว่าการเผาศพหรือปลงศพ รวมกับคำว่ากิจ จึงแปลว่าพิธีการเผาศพ, งานเผาศพ
ความสำคัญของงานฌาปนกิจ
ด้วยความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่น จากอดีตจนถึงปัจจุบันที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ทำให้งานฌาปนกิจ กลายเป็นประเพณีพื้นฐานของการทำพิธีศพ โดย ความสำคัญของงานฌาปนกิจนั้นเกิดขึ้นจากความเชื่อตามหลักศาสนาพุทธ โดยสามารถแบ่งออกเป็นความเชื่อต่างๆ ได้ดังนี้
1. ศาสนาพุทธให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณมากกว่าร่างกาย เมื่อร่างกายดับสลายไปแล้ว ไม่เหลือประโยชน์อันใดอีก จึงจำเป็นต้องเผาให้เป็นธาตุดิน เหลือทิ้งไว้เพียงคุณงามความดีที่อยู่เบื้องหลังผู้ตาย
2. ศาสนาพุทธสอนให้คนยึดถือความดีมากกว่าตัวตน การเผาสลายร่างกายให้เป็นเถ้าธุลี จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้คนรอบข้างผู้ตาย ได้ระลึกถึงคุณความดีนั้นไว้ เพื่อเสริมสร้างบุญบารมีให้มากขึ้น
3. ศาสนาพุทธสอนให้เรารู้จักปล่อยวางในสิ่งที่ไม่เที่ยง ดังเช่น ร่างกายและสังขาร เมื่อเกิดแก่เจ็บตาย ร่างกายก็เป็นสิ่งที่ต้องละทิ้ง การฌาปนกิจจึงเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้คนรู้จักปล่อยวางในสิ่งต่างๆ ที่ไม่เที่ยงแท้
4. การเก็บศพเอาไว้นั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ หากเรารักษาศพของคนที่รักเอาไว้ จิตใจของเราก็จะยังคงห่วงหาอาวรณ์ไม่เลิกรา ทำให้ติดอยู่ในบ่วงแห่งความโศกเศร้า การจัดฌาปนกิจ จึงเป็นหนทางในการที่ทำให้ผู้สูญเสียได้ระลึกถึงความไม่เที่ยงแท้ และได้พิจารณาชีวิตที่แท้จริงว่าทุกสิ่งไม่จีรังและยั่งยืน
5. งานฌาปนกิจทำให้เกิดบุญบารมีของผู้ที่ยังมีชีวิตด้วยการเสริมสร้างบุญกุศลให้กับผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความดีให้กับตัวผู้ที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ก่อนที่จะละสังขาร
6. นอกจากประเทศไทยแล้ว ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธ, ฮินดู และพราหมณ์ ก็มีความเชื่อในการประกอบพิธีฌาปนกิจด้วย เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลี เป็นต้น
ขั้นตอนของพิธีศพและการฌาปนกิจตามแบบคนไทย
ตามความเชื่อของพุทธศาสนา การจัดฌาปนกิจนั้น จะเกิดขึ้นในช่วงท้ายสุดของพิธีศพ ซึ่งผู้จัดพิธีศพส่วนใหญ่จะจัดการขั้นตอนต่างๆ ในการทำพิธีศพดังนี้
1. การชำระล้างร่างกายศพ
ถือเป็นขั้นตอนแรกก่อนการนำศพไปประกอบพิธี ผู้เกี่ยวข้องหรือญาติของผู้ล่วงลับ จะต้องชำระล้างร่างกายของศพด้วยน้ำสะอาด ด้วยความเชื่อที่ว่าน้ำสะอาดจะสามารถพาดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี ด้วยความสะอาดและบริสุทธิ์
ซึ่งในสมัยก่อน น้ำที่นำมาอาบชำระล้างร่างกายของผู้ล่วงลับนั้น มักเป็นน้ำที่ต้มจนเดือด แล้วผสมด้วยน้ำเย็น พร้อมด้วยขมิ้นผสมมะกรูดเพื่อนำมาขัดล้างร่างกายของผู้ล่วงลับ ซึ่งถือเป็นการแสดงออกความเคารพรักในหมู่ญาติพี่น้องต่อตัวผู้จากไป อีกทั้งยังเป็นการขัดชำระร่างกายให้ผู้ล่วงลับหมดสิ้นซึ่งบาปกรรมที่ทำเอาไว้ในชาติภพนี้
2. การหวีผม-แต่งกายให้กับศพ
ขั้นตอนต่อมาก็คือ การหวีผมให้กับผู้ล่วงลับ ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันออกไปในการหวีแต่ละครั้ง โดยครั้งแรกให้หวีจากหน้าไปหลัง ซึ่งแสดงออกถึงการระลึกถึงอดีตและคุณงามความดีของผู้ล่วงลับตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งจากโลกนี้ไป
ครั้งต่อมาให้หวีจากหลังไปหน้า ด้วยความเชื่อว่าจะสามารถกำหนดจุดหมายของผู้ล่วงลับที่กำลังจะเดินทางไปได้ และ เมื่อหวีเสร็จแล้ว ให้ผู้หวีหักหวีออกเป็น 2 ท่อน พร้อมกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วให้โยนหวีนั้นทิ้งเสีย
หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการแต่งกายผู้ล่วงลับ ซึ่งขั้นตอนนี้ ผู้ทำพิธีอาจจะเลือกเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มที่ผู้ล่วงลับชอบสวมใส่ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ หรืออาจแต่งด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงทางที่จะสามารถดับทุกข์ และหนีทุกข์ สำหรับผู้ล่วงลับ อันเกี่ยวข้องกับการรักษาศีลและปฏิบัติธรรมของผู้ล่วงลับในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ทั้งนี้ควรประพรมบริเวณใบหน้าและร่างกายของผู้ล่วงลับด้วยแป้งหอมหรือน้ำอบ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในการใส่เงินเข้าไปในปากของผู้ล่วงลับเพื่อมอบให้เป็นค่าเดินทางไปสู่เมืองสวรรค์ โดยทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นการสอนให้ผู้ล่วงลับรู้จักใช้เงินให้มีประโยชน์ แบ่งกิน แบ่งใช้และไม่ตระหนี่ถี่เหนียวจนเกินไปในชาติภพอื่นๆ
3. การรดน้ำศพ
การรดน้ำศพถือเป็นพิธีแรกที่เกิดขึ้นในพิธีศพ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและไว้อาลัยผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้ายของผู้คนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการขออโหสิกรรมจากความล่วงเกินต่างๆ ต่อผู้ล่วงลับในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยน้ำที่ใช้อาบศพนั้นจะต้องเป็นน้ำมนต์ผสมน้ำสะอาดหรือน้ำอบ ซึ่งมักจะโรยตกแต่งด้วยดอกไม้หอม โดยผู้ที่มาเคารพศพจะตักน้ำรดลงบนมือข้างหนึ่งของผู้ล่วงลับ พร้อมกล่าวคำอาลัย, คำระลึกถึง, คำอโหสิกรรมต่างๆ ขณะที่รดน้ำลงไป จากนั้นผู้จัดพิธีศพ ก็จะทำการบรรจุผู้ล่วงลับใส่โลงเพื่อทำพิธีสวดศพต่อไป
4. การสวดศพ
การสวดศพ เรียกเป็นภาษาทางการว่า พิธีสวดอภิธรรม เป็นพิธีที่จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงให้เห็นถึงความจริงและสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ และเป็นการระลึกถึงคุณความดีของผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย โดยผู้จัดพิธีจะนิมนต์พระเพื่อมาสวดบทอภิธรรม อันมีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิตให้กับผู้ล่วงลับ และเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ เกิดความเข้าใจถ่องแท้ของสังขารและความไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง
โดยระยะเวลาในการสวดอภิธรรม ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้จัดงานว่าจะจัดกี่วัน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ที่ 3 วัน 5 วันและ 7 วัน
นอกจากนี้การสวดศพยังเป็นพิธีสำคัญที่บรรดาญาติพี่น้องต่างๆ ของผู้ล่วงลับจะได้มารวมตัวกัน ทั้งนี้ด้วยความเชื่อที่ว่า การมารวมตัวกันของผู้คนที่เกี่ยวข้องจะทำให้ผู้ล่วงลับไม่เงียบเหงาวังเวง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เจ้าภาพหรือผู้จัดพิธีเกิดความรู้สึกผ่อนคลายจากความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
อนึ่ง การเลี้ยงอาหารในงานพิธีสวดเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ โดยทางเจ้าภาพจะมีการจัดเตรียมอาหารงานศพ อาหารว่างงานศพ หรือ ขนมงานศพ (Snack Box งานศพ) ขนมเบรค ให้แก่แขกผู้เข้าร่วมพิธีสวดอภิธรรมศพทุกวัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบแทนและขอบคุณแขกที่ได้สละเวลาอันมีค่า และเดินทางไกลเพื่อมาร่วมไว้อาลัยผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้าย
.
5. การฌาปนกิจ
พิธีนี้จะอยู่ในช่วงท้ายสุดของพิธีศพและเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด หากจัดพิธีศพ 7 วัน พิธีฌาปนกิจจะเกิดขึ้นในวันที่ 7 เป็นพิธีที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของชีวิตอย่างแท้จริง โดยจะเป็นวันสุดท้ายที่ร่างของผู้ล่วงลับจะเข้าสู่เชิงตะกอน
ทั้งนี้มีความเชื่อว่า วันที่ไม่ควรทำพิธีฌาปนกิจนั้น ได้แก่ วันพระ, วันอังคารและวันเก้ากอง (คือวันที่คนโบราณกำหนดไว้ว่าเป็นวันไม่มงคล)
ตามความเชื่อ จะจัดให้มีการบวชหน้าไฟในวันฌาปนกิจ (วันเผาศพ) เป็นการบวชสามเณรเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ การบวชหน้าไฟเป็นประเพณีความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะทำให้ผู้เสียชีวิตได้รับบุญเป็นอย่างมาก
โดยในวันฌาปนกิจ ผู้จัดพิธีจะนิมนต์พระมาสวดศพอีกหนึ่งครั้ง ก่อนที่จะทำการเคลื่อนศพ ไปสู่ฌาปนสถานหรือสถานที่เผาศพ ซึ่งตามความเชื่อของโบราณอาจจะใช้วิธีการแบกหามผู้ล่วงลับด้วยแรงคน แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้รถเพื่อเคลื่อนย้ายแทน โดยจะใช้วิธีการโยงสายสิญจน์จากรถมาให้พ่อแม่, ญาติพี่น้องและผู้เกี่ยวข้องของผู้ล่วงลับได้ทำการจูงศพ โดยมีเณรที่บวชหน้าไฟเป็นผู้เดินนำ เพื่อนำไปยังสถานที่ที่จะทำการฌาปนกิจ
จากนั้นเณรจะทำการโปรยเหรียญ ซึ่งเรียกว่า เหรียญโปรยทาน โดยเชื่อกันว่าเป็นการซื้อทางให้แก่ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับให้ได้ผ่านไปตามทางได้อย่างราบรื่น สะดวก ไม่ติดขัดสิ่งใด
และก่อนที่จะมีการเริ่มเผาศพนั้น จะมีพิธีกรรมเพื่อเป็นการสร้างกุศลผลบุญให้กับผู้เสียชีวิต ด้วยการทำการถวายสิ่งของต่างๆ ต่อพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเรียกว่า ของไหว้วันเผา (ได้แก่ เครื่องไทยธรรม, เครื่องติดกัณฑ์เทศน์, ผ้าทอดบังสุกุล, ดอกไม้จันทน์ เป็นต้น) โดยผู้จัดพิธีจะทอดผ้าบังสุกุลขึ้นไปบนเมรุเผา
จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการฌาปนกิจ ซึ่งพ่อแม่, ญาติพี่น้อง, เพื่อนฝูงและผู้เกี่ยวข้องของผู้ล่วงลับ จะได้เดินขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ให้กับผู้ล่วงลับบนเมรุเผา เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี และบอกกล่าวอำลาอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนพิธีการเผาหลอก เผาจริง
ทางเจ้าภาพจะจัดเตรียมของชำร่วยงานศพ ของแจกงานศพ เช่น ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์, ไฟฉาย ของชำร่วยงานศพ, พิมเสนน้ำ ของชำร่วยงานศพ, กระเป๋าใส่เหรียญ ของชำร่วยงานศพ, พิมเสนน้ํา ลูกกลิ้ง ราคาถูก, ของชำร่วย ชินบัญชรแผ่นพับ, ของชำร่วย ไฟฉายด้ามยาว LED, ของชำร่วย ยาหม่อง, ของชำร่วย ยาหม่องน้ำ, ของชำร่วยถุงผ้า ฯลฯ เพื่อมอบแทนคำขอบคุณให้กับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน โดยที่ของชำร่วยงานฌาปนกิจนั้น มักมีความหมายที่ดี เป็นศิริมงคล สามารถนำไปใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
ข้อมูลเพิ่มเติม ของชำร่วยงานศพ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ
นอกจากของที่ระลึกงานฌาปนกิจแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีศพ และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมา คือ พวงหรีด เพื่อเป็นการแสดงถึงความอาลัยที่ผู้มอบพวงหรีดนั้นมีต่อผู้เสียชีวิต
6. การเก็บกระดูกหลังจากฌาปนกิจและลอยอังคาร
เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่มีการมาแต่โบราณ ในการเก็บกระดูกหรืออัฐิของผู้ล่วงลับเอาไว้ หลังร่างกายหรือสังขารของผู้ล่วงลับกลายเป็นเถ้าฐาน เพื่อนำไปลอยอังคาร การลอยอังคาร เป็นการบอกแก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย ถึงการละสังขารที่แท้จริงไปสู่ภพภูมิใหม่ ซึ่งญาติพี่น้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ ก็จะนำเอาอัฐิไปโปรยในแหล่งน้ำกว้างใหญ่ เพื่อให้ลมพัดปัดเป่าดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สุคติ
การลอยอังคาร เป็นการนำเถ้ากระดูกและเถ้าของสิ่งของที่นำมาใช้ในการฌาปนกิจ นำไปลอยในแม่น้ำ เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ให้อยู่อย่างร่มเย็น ประดุจดั่งสายน้ำที่เย็นชื่นใจทุกเมื่อที่ได้สัมผัส โดยมีสถานที่หลายแห่งที่ได้รับความนิยมในการจัดพิธีลอยอังคาร เช่น กองทัพเรือ ฐานทัพเรือสัตหีบ, การลอยอังคาร วัดหลวงพ่อโสธร, ลอยอังคาร ท่าเรือปากเกร็ด เป็นต้น
การลอยอังคาร เป็นพิธีที่เสร็จสิ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง นิยมทำต่อจากพิธีเก็บกระดูก
โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการเก็บอัฐิบางส่วนของผู้ล่วงลับเอาไว้เพื่อทำบุญ และไว้เพื่อระลึกถึงในวัดหรือโบสถ์ด้วย
พิธีฌาปนกิจนั้น จัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับ ที่ปฏิบัติสืบทอดมาจนกลายเป็นประเพณีและธรรมเนียม เป็นการทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งพ่อ-แม่, ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง ได้ตระหนักถึงชีวิตที่ล่วงลับของผู้ตาย ว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่จีรังและยั่งยืน เป็นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต
โดยทำให้ผู้ร่วมพิธีเข้าใจถึงหลักคำสอนในศาสนาต่างๆ ได้อย่างถ่องแท้ ด้วยการใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนศีลธรรม เพื่อที่เมื่อเราจากโลกนี้ไป คุณงามความดีต่างๆ ที่เราทำเอาไว้จะช่วยส่งเสริมให้คนรอบข้างได้บุญกุศลนั้น รวมไปถึงการที่ดวงวิญญาณของเราจะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดีด้วยเช่นกันนั่นเอง
อนึ่ง หลังจากงานฌาปนกิจจะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ การใส่บาตร กรวดน้ํา ทำบุญครบรอบ 7 วัน, 50 วัน, ทำบุญ 100 วัน (นับจากวันที่เสียชีวิต) ซึ่งถือเป็นพิธีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ เพื่อที่จะได้หมดห่วงและเดินทางไปสู่ภพหน้า (สัมปรายภพ) อย่างสุขสงบต่อไป
อีกทั้งการทำบุญครบรอบวันเสียชีวิตเป็นการแสดงความกตัญญู เป็นการเตือนใจผู้ที่ยังมีชีวิตว่า ความตายเป็นสิ่งใกล้ตัว และทำให้ดำรงชีวิตอย่างมีสติ
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ: ประวัติการฝังและเผาศพ
บทความกล่าวถึงประวัติของการฝังศพและการเผาศพ ตั้งแต่สมัยเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการอย่างไร ความเชื่อค่านิยมอะไรบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นบทความที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ: การแจ้งตาย การแจ้งเสียชีวิต
บทความนี้กล่าวถึง ขั้นตอนแบบละเอียด (step-by-step) ของการแจ้งเสียชีวิต รวมถึงขั้นตอนในการขอใบมรณบัตรเพื่อเป็นการยืนยันการเสียชีวิต และใช้เป็นเอกสารสำคัญในการติดต่อกับหน่วยงานราชการต่อไป
ของชำร่วยงานฌาปนกิจ ราคาส่ง:
หัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ขั้นตอนการแจ้งเสียชีวิต การแจ้งตาย และการขอมรณบัตรอย่างถูกต้อง
- ฮวงซุ้ย ประวัติความเป็นมา การเลือกฮวงซุ้ยให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย
- เช็งเม้ง ประวัติความเป็นมา และข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้ !
- 8 ของชำร่วยต้องห้าม ที่ไม่ควรนำมาใช้กับงานศพ
- อาหารงานศพ อาหารว่างงานศพ (Snack Box) เลือกอย่างไรให้ประหยัดและสมเกียรติ
- พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
งานฌาปนกิจ
เตรียมตัวตายกันได้แล้วทุกคน “ตอนใกล้ตาย” มันมีความรู้สึกอย่างไร? จงอย่าพยายามไม่อยากตาย เพราะยังไง ๆ ก็ต้องตาย ใครรู้ตัวว่าจะต้องตายช่วยกันแชร์ต่อ ใครมั่นใจว่าไม่ตายไม่ต้องแชร์
อาการของการ “ตาย” ที่คนอื่นได้ศึกษามาหรือเคยได้พูดคุย
กับคนมีประสบการณ์ใกล้ตาย (near-death experience) นั้นเป็นเช่นไร คุณหัชชา ณ บางช้าง เคยค้นคว้าเรื่องนี้มาเขียนใน “ภาวะหลังตาย” และเล่าว่า “กระบวนการตาย” ในระยะต่าง ๆ นั้นมี 4 ขั้นตอนอย่างนี้
๑. ระยะแรก เป็นระยะที่ธาตุดินเริ่มสลายตัว
กลายเป็นน้ำ ผู้ตายจะรู้สึกอ่อนระโหย
ไม่มีแรง การมองเห็นต่าง ๆ เริ่มเสื่อม
มองอะไร ๆ ก็ไม่ชัด ทุกอย่างดูมัว ไปหมด
ทุกอย่างที่เห็น เหมือนมองไปกลางถนน
ขณะแดดจัดๆภาพต่างๆจะเต้นระยิบระยับ
เต็มไปหมด
๒. ระยะที่น้ำจะกลายเป็นไฟ ช่วงนั้น
น้ำในร่างกายเริ่มแห้งลง จะรู้สึก ชา ๆ ตื้อ ๆ
เริ่มหมดความรู้สึก ไล่จากปลายเท้าขึ้นมา
ประสาทหูเริ่มไม่รับรู้คือเริ่มไม่ได้ยินเสียง
อะไร มองไปทางไหนก็เห็นแต่ควัน
๓. ระยะนี้ไฟเปลี่ยนเป็นลม
หูจะไม่ได้ยินอะไรอีกเลย รู้สึกหนาว
จับใจ ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ หยุดหมด
ลมหายใจอ่อนลงเรื่อย ๆ
จมูกเริ่มไม่รับความรู้สึกเรื่องกลิ่น
๔. ระยะนี้ ธาตุลมจะเปลี่ยนเป็นอากาศธาตุ
ตอนนี้ เจตสิกทุกอย่าง รวมทั้งการหายใจ
จะหยุดหมดพลังงานทั้งหลายที่เคย
ไหลเวียนอยู่ในร่างกายจะไหลกลับคืนไปสู่
ระบบประสาทส่วนกลางหมด ลิ้นแข็ง
ไม่รับรู้เรื่องรสชาติใดๆความรู้สึกสัมผัส
หมดไป ความรู้สึกอยากโน่น อยากนี่ต่าง ๆ
ที่เคยมีก็หมดไป มีความรู้สึกเหมือน
อยู่กับแสงเทียนที่กำลังลุกโพลงอยู่เท่านั้น
ท่านบอกว่าตอนนี้แหละที่แพทย์จะประกาศว่า
ผู้ป่วยในความดูแล “ถึงแก่กรรม” แล้ว (clinical death)
นั่นก็คือจุดที่ “เวทนา” ทั้งหมดดับไป สมองและระบบไหลเวียนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดทำงานหมด แปลว่ารูปและนาม หรือเบญจขันธ์ ตายไปแล้ว
ก็ต้องถกกันต่อไปว่า ถ้าเราเชื่อว่า วิญญาณยังอยู่ต่อเมื่อร่างกายสลายไป จะไปอยู่ที่ไหนอย่างไรต่อไป
อ่านเจออีกแหล่งหนึ่งเรื่อง “ลักษณะการตาย” ตามแนวคิดแบบ “เซน” ที่คุณ “โชติช่วง นาดอน” เคยรวบรวมไว้ในหนังสือ “จิตคือพุทธะ” เมื่อนานมาแล้ว
ท่านบอกว่าคนเราตายได้สองลักษณะ คือ “ตายอย่างปราศจากที่พึ่ง” และ
“ตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่ง”
คนที่ตายย่างแรกนั้นเวลาใกล้จะสิ้นลม มีอารมณ์ผิดไปจากปกติ จิตใจกลัดกลุ้มยุ่งเหยิง เรียกว่า “จิตวิการ” ซึ่งหมายถึงจิตเกิดความปวดร้าวทรมานเพราะ
ยัง “ยึดติด” กับหลายเรื่อง
หรือที่ผมเรียกว่า “ไม่ยอมตายทั้ง ๆ ที่ต้องตาย” นั่นคือจิตใจยังติดข้องกับอุปาทาน ๔ ประการคือ
๑. ติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
๒. ห่วงใยอาลัยในสิ่งที่เป็นรูป และอรูป
โดยเห็นว่าเป็นของเที่ยง
๓. มีนิวรณ์ความวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน
มาห้ามจิตมิให้บรรลุความดี
๔. มีความดูแคลนเมินเฉยในคุณพระรัตนตรัย
เขาบอกว่าคนส่วนใหญ่ตายลักษณะอาการ
อย่างนี้ เรียกว่าตายอย่างอนาถา
ส่วนการตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่งนั้น
แปลว่าคนใกล้ตายมีสติอารมณ์ผ่องใส
ไม่หวั่นไหว และซาบซึ้งในวิธีของมรณกรรม และยึดหลัก ๔ ประการคือ
๑. มีอารมณ์เฉย ๆ
ซาบซึ้งถึงกฎธรรมดาแห่งความตาย
๒. ซาบซึ้งถึงสภาพการณ์สิ่งในโลกของ
ความไม่เที่ยง ไม่เป็นแก่นสาร
๓. รำลึกถึงกุศลกรรมที่ได้ผ่านมาในชีวิต
และเกิดปิติปลาบปลื้ม
๔. ยึดมั่นเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
อยู่ตลอดเวลาจนสิ้นลมหายใจ
ด้วยเหตุนี้แหละ, ผมจึงเห็นว่าการ
“ฝึกตายก่อนตาย”ดั่งที่ท่านพุทธทาส หรือ.. หลวงพ่อ หลวงปู่ ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะ..
หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ท่านเคยสอนเรานั้น
เป็นเรื่องที่ประเสริฐสุดแล้ว
แต่คนส่วนใหญ่กลัวตาย แม้จะเอ่ยถึงคำว่าตายก็รับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการ “แช่ง” ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครหนีความตายได้แม้แต่คนเดียว
การเรียนรู้ “มรณาอุปายะ” หรือ “ฝึกตายก่อนตาย” นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทำให้มันสนุกเสีย ให้มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นน่ายินดี ก็จะทำให้ความทุกข์ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้น
ลดน้อยถอยลง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากโลกนี้ไปก็ไม่ตกใจ
ไมตื่นเต้น ไม่รันทดและทรมานเพราะ..
ความกลัวและความไม่ต้องการที่จะจากไป
ชาวพุทธที่ฝึกปฏิบัติธรรมในสาระจริง ๆ (ไม่ใช่แค่ทำบุญแล้วนึกว่าจะต้องไปสวรรค์
โดยไม่ต้องปฏิบัติธรรม) ก็จะเข้าใจว่า.. “ขันธ์ทั้งห้า” ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงและทรุดโทรม และท้ายสุดก็แตกดับไป และระหว่างที่มรณกาลมาถึงนั้น ขันธ์ห้าก็ย่อมจะแปรปรวน จึงควรจะเตรียมตัวและเตรียมใจไว้
เมื่อความตายมาถึง, เราก็จะได้ไม่ทุรนทุราย และตายอย่างมีสติ และ “รู้เท่าทันความตาย” ซึ่งเป็นสุดยอดของการมีชีวิตอยู่นั่นเอง..
…หมั่นเจริญสติ ภาวนา ให้มาก ๆ ถึงเวลาตายสบายนักแล !!!
ท่านคมสรณ์ ข่าวสารงานพระธรรมทูตอินเดีย
นำมาฝากเตือนสติกันรวมทั้งตนเองด้วย
หมายเหตุ: ถ้าใครมั่นใจว่าไม่ตายไม่ต้องแชร์
*******************
“จิตสุดท้ายก่อนตาย”
โดย .. นพ.สรศักดิ์ ศุภผล
รพ.รามา ผู้ส่งบทความดีๆนี้
“จิตหลังความตาย 20 นาทีแรก”
ก็มีความสำคัญในการเปลี่ยนภพด้วย
“การศึกษาทางประสาทสรีรวิทยา
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
พบว่า หนูที่ตายใหม่ๆ หัวใจหยุดทำงาน
เลือดหยุดไปเลี้ยงสมอง
แต่คลื่นสมองยังคงอยู่ในภาวะ
“ตื่นตัวขั้นสูง”
บ่งบอกถึงการมีสติสัมปชัญญะ
ของคนเมื่อหัวใจหยุดเต้น
ดังนั้น .. ทางการแพทย์บอกว่า
“ตาย” .. แต่สมองยังทำงานอยู่
เป็น “การสร้างภาพจากสังขารจิต 20 นาที”
ว่าจะไปภพภูมิใด
ดังนั้น .. จึงควร “เหนี่ยวนำ
ไม่ให้นิมิตมาหลอกหลอน 20 นาที
หลังหัวใจหยุดเต้น
(กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต)
การเข้าสู่ความมืด(ภวังคจิต)
บังสุกุล คำศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละศาสนา
จะปลุกจิตให้ตื่นหรือถอนออกมาเอง
แปลว่า .. ต่อให้ก่อนตาย
ญาติและคนไข้ได้เตรียมตัว
เหนี่ยวนำจิตเป็นอย่างดี จนตายไปแล้ว
(ก็คือหัวใจหยุดทำงาน)
สมองก็ยังเหนี่ยวนำสิ่งที่ทำก่อนตายอยู่
เช่น .. ถ้ากำลังสวดมนต์ภาวนา
ตายไปแล้วจิตและสมองก็ยังหมกมุ่น
อยู่กับการสวดมนต์ภาวนา
ดวงจิตก็ย่อมเปลี่ยนภพภูมิไปที่ดี
แต่หากสมมติว่า .. ก่อนตายเตรียมตัวดีมาก
แต่เมื่อตายไปแล้ว
ญาติๆ ร้องไห้ระงมเสียงดังลั่น
หรือ ลูกหลานทะเลาะแย่งสมบัติ
ด้วยเสียงแซ่งแซ่ บรรยากาศเหล่านั้น
ก็จะเหนี่ยวนำให้สมองครุ่นคิดตรงนั้น
และก็นำพาดวงจิตไปสู่ภพภูมิไม่ดีได้ นั่นเอง
ดังนั้น .. สิ่งที่ควรทำหลังความตาย 20 นาทีแรก คือ .. “สวดมนต์”
เมื่อรู้ว่ามีคนตาย ก็หยิบขวดน้ำมนต์เย็นๆ
ในตู้เย็นติดมือไป และ หยดน้ำมนต์ที่ตาที่สาม (จักระ 6) ตรงหน้าผากหว่างคิ้ว
เพื่อให้ความเย็นของน้ำไปส่งสัญญาณ
ให้สมองที่ตรงกลางข้างในซึ่งยังทำงานอยู่
ได้ตื่นตัวฟังเสียงสวดมนต์หรือบังสุกุล
แต่ถ้าใครไม่มีน้ำมนต์ ก็ให้ใช้น้ำเย็นธรรมดาก็ได้
สรุป
บรรยากาศในการเตรียมตัวก่อนตาย
และหลังความตาย 20 นาที
จะต้องปราศจากเสียงร้องไห้เศร้าโศก
การทะเลาะเบาะแว้ง
หรือ .. การพูดเรื่องไม่สบายใจ
เพื่อให้คนตายได้เปลี่ยนภพภูมิที่ดีขึ้น
แต่ทั้งนี้ .. ตอนที่มีชีวิตอยู่
ก็ต้องทำความดี ละความชั่ว
ขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใสด้วย
จะได้พร้อมเปลี่ยนภพภูมิได้ ทุกที่ ทุกเวลา
จิตใครเศร้าหมองก็สั่งจิตให้คลาย
ความเศร้าหมอง ให้อภัยปล่อยวาง
คิดซะว่า .. กฎหมายเอาผิดไม่ได้
แต่ก็หนีกฏแห่งกรรมไม่พ้น
ปล่อยให้เป็นหน้าที่กฏแห่งกรรม
เราไม่ต้องไปเอาคืนแก้แค้น
เอาเวลามาทำจิตให้ผ่องใสเข้าสู่ความว่างดีกว่า
ผู้ใด เผยแผ่ ผู้นั้น ได้สะสมบุญ บารมี