งานบวชคืออะไร ประวัติของงานบวช ทำไมถึงเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่

งานบวช คืออะไร

งานบวช – ปัจจุบันงานบวชถือเป็นงานที่ทำแล้วเกิดบุญใหญ่ได้ง่าย เมื่อมีงานบวชเมื่อใดเพื่อนพ้องและญาติมิตรต่างเต็มใจเข้ามาช่วยเหลืองานกันอย่างเต็มที่

 ซึ่งการบวชพระ งานบวชพระ ประเพณีงานบวช เป็นงานพิธีที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน โดยชายไทยทุกคนล้วนต้องเข้ารับการบวชด้วยกันทั้งนั้น 

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีผู้ที่เข้ารับการบวชน้อยลง แต่ความสำคัญของงานบวชหาได้ลดน้อยลงไปไม่

งานบวช ใครถืออะไร <–คลิกอ่าน

ขั้นตอนงานบวช <–คลิกอ่าน

พิธีงานบวช <–คลิกอ่าน

งานบวชเตรียมอะไรบ้าง <–คลิกอ่าน

เครื่องงานบวช มีอะไรบ้าง <–คลิกอ่าน

การบวช มีกี่แบบ <–คลิกอ่าน

ประวัติงานบวช <–คลิกอ่าน

งานบวช ภาษาอังกฤษ <–คลิกอ่าน

 

วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับงานบวช ว่ามีความสำคัญเช่นไร ทำไมจึงถือเป็นงานที่ได้บุญยิ่งใหญ่งานหนึ่ง

งานบวช คืออะไร

 

ประวัติงานบวช

การบวช ประวัติ, งานบวช คือ – การบวชมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้มีการเผยแผ่พระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มาให้แก่คนทั่วไปได้รับรู้

ซึ่งก็มีผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมและขอมาปฏิบัติเช่นเดียวกับพระองค์ ถือเป็นการขอบวชนั่นเอง

 

เมื่อมีผู้ที่ต้องการเข้ามาศึกษาพระธรรมมากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงได้มีการวางกฎ ข้อปฏิบัติที่เรียกว่า “พระธรรมวินัย” ขึ้นมาเพื่อให้หมู่สงฆ์มีหลักปฏิบัติที่เป็นในทางเดียวกันและสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติ

 

นอกจากการบวชที่ได้รับอนุญาตจากพระพุทธเจ้าแล้ว ในสมัยพุทธกาลยังมีการบวชอีก 2 แบบ คือ การบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทา คือ การบวชสำหรับผู้ที่บรรลุไตรสรณคมน์ แล้ว

และการบวชแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา คือ การบวชโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์

การบวช คืออะไร  โดยการบวชจะเริ่มจากการบรรพชาเป็นสามเณรเสียก่อน เพื่อทำการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนเบื้องต้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าคนผู้นั้นมีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นพระได้ จะทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ในเวลาต่อมา 

ซึ่งยังคงใช้การบรรพชาในการบวชเณรและใช้การอุปสมบทในการบวชพระสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน รูปแบบของการขอบวชได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยมีการจัดงานรื่นเริงและขั้นตอนการบวชที่ต่างออกไป ตามความเชื่อและประเพณีของคนในท้องถิ่น

 

ทว่าบวชจะเป็นการบวชแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์จึงจะสามารถทำการบวชได้ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการบวชเดียวที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้

 

งานบวช
ขอขอบคุณ ภาพงานบวชสวยๆ จากเวปไซต์ akei789.com

.

การบวช มีกี่แบบ

รูปแบบของการบวช การบวชที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

 

1. การบรรพชา

ใช้กับการบวชเณร คือ การบวชให้กับผู้ที่มีอายุน้อยกว่าอายุครบบวช

 

ซึ่งในปัจจุบันได้กำหนดอายุครบบวชคือ 20 ปีบริบูรณ์ หรือผู้ที่ต้องการบวชเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ

 

 ผู้ที่ทำการบรรพชาแล้วจะทำการถือศีลเพียงแค่ 10 ข้อเท่านั้น และสามารถบวชโดยใช้พระอุปัชฌาย์เพียงองค์เดียวก็สามารถทำการบรรพชาสามเณรได้แล้ว 

.

 

2. การอุปสมบท

ใช้ในการบวชพระ คือ การบวชให้กับผู้ที่มีอายุครบบวชและมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำการบวชได้

เช่น ไม่เป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ไม่เป็นผู้ที่เคยฆ่าคนตาย ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติด ไม่เป็นโรคติดต่อ เป็นต้น

 โดยในการอุปสมบทจะต้องมีคณะสงฆ์ทำการลงมติอนุญาต ผู้ขอบวชจึงจะสามารถทำการบวชเป็นพระได้ 

.

 

งานบวชเตรียมอะไรบ้าง

การบวชพระ ต้องเตรียมอะไรบ้าง, การจัดงานบวชต้องเตรียมอะไรบ้าง, งานบวชมีอะไรบ้าง, พิธีงานบวชมีอะไรบ้าง – เครื่องใช้ที่ต้องทำการจัดเตรียมสำหรับงานบวช อุปกรณ์ที่ใช้ในงานบวช จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

 

งานบวช ต้องใช้อะไรในพิธีบ้าง ของแต่ละอย่างมีความหมายอย่างไร

YouTube video

 

1. เครื่องใช้สำหรับงานบวช

เครื่องงานบวช มีอะไรบ้าง เครื่องงานบวช เครื่องใช้ในงานบวชประกอบด้วย

  • กรรไกร สำหรับตัดปอยผม
  • ใบบัวขนาดใหญ่ สำหรับใส่ปอยผมที่ตัดแล้ว
  • มีดโกน สำหรับโกนผม
  • เครื่องอาบน้ำสำหรับล้างตัวนาคหลังจากที่ทำการโกนผมเสร็จแล้ว เช่น สบู่ ยาสระ เป็นต้น
  • ชุดขาวสำหรับนาคใส่
  • ชุดคลุมนาค สำหรับสวมทับชุดขาว
  • ธูปเทียนแพสำหรับทำพิธีขอขมากรรม
  • ดอกไม้ธูปเทียน นิยมใช้เป็นดอกบัว 3 ดอกพร้อมธูปเทียน สำหรับนาคใช้ถือตอนงานแห่นาคและเดินรอบอุโบสถ
  • ดอกไม้ธูปเทียนสำหรับใช้ในการแห่นาครอบอุโบสถ
  • เหรียญโปรยทาน
  • อาหารเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน งานบวช เลี้ยงแบบไหนดี –> ขนมเบรค, ขนมจัดเบรค, ชุดอาหารว่าง ราคาถูก, snack box งานบวช by NPG Snack Box

ที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่หลัก ๆ ที่จำเป็นในการจัดงานบวช ซึ่งอาจมีสิ่งของที่จำเป็นเพิ่มเติมตามลักษณะงานของแต่ละพื้นที่

 

2. เครื่องใช้สำหรับพระใหม่

เครื่องใช้สำหรับงานบวชเรียกว่า “เครื่องอัฐบริขาร” คือ เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับการดำรงเพศบรรพชิต

 ซึ่งเครื่องอัฐบริขารตามหลักพระพุทธศาสนาประกอบด้วย “ผ้า 4 เหล็ก 3 น้ำ 1” รวมทั้งหมด 8 อย่าง 

ได้แก่

  • ผ้า 4 อย่าง คือ ผ้าสบง ผ้าจีวร ผ้าสังฆาฏิ และผ้าประคดคาดเอว
  • เหล็ก 3 อย่าง คือ บาตร มีดโกน เข็ม
  • น้ำ 1 อย่าง คือ ธมกรก (กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์)

 

เครื่องอัฐบริขาร เป็นของสำคัญที่ห้ามขาดอย่างยิ่งในงานบวช ซึ่งนอกจากเครื่องอัฐบริขารที่ต้องจัดเตรียมแล้ว

เจ้าภาพจะต้องทำการจัดเตรียมของใช้ส่วนตัวสำหรับพระภิกษุ เช่น เสื่อ ที่นอน หมอน มุ้ง แก้วน้ำ กาต้มน้ำ ปิ่นโต ย่าม ร่ม และรองเท้า เป็นต้น

ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ไม่ถือเป็นของใช้ฟุ่มเฟือยแต่เป็นของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในปัจจุบันนั่นเอง

 

ขั้นตอนงานบวช

ประเพณีงานบวช ขั้นตอนและพิธีการ, ขั้นตอนพิธีงานบวช, ขั้นตอนการจัดงานบวช, พิธีการงานบวช

 การบวชในสมัยพุทธกาลไม่มีขั้นตอนหรือพิธีการ เพียงแค่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตก็ถือเป็นการบวชแล้ว 

แต่หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน รูปแบบของงานบวชได้มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยจนในปัจจุบันนี้

งานบวช ขั้นตอน – ขั้นตอนของงานบวช มีดังนี้

เตรียมตัวก่อนบวช มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง

YouTube video

 

1. การเตรียมตัว

การเตรียมตัวสำหรับงานบวชแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

 

1.1 การเตรียมงานพิธี

การเตรียมสถานที่ กำหนดวันเวลาในการจัดงานบวช โดยงานบวชถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นการหาฤกษ์บางครั้งพระท่านถือว่าค่อนข้างมีความสำคัญ

งานบวชสามารถจัดงานวันใดก็ตามความสะดวกของผู้บวชและอุปชา แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ อุปัชฌาย์ที่จะทำหน้าที่เป็นประธานในพิธีบวช

ดังนั้นก่อนที่จะกำหนดวันบวช เจ้าภาพจะต้องไปหาอุปัชฌาย์ เพื่อถามถึงวันว่างของอุปัชฌาย์ จะได้ทำการกำหนดวันงานบวชได้

 

1.2 การเตรียมตัวของผู้บวช

ผู้ที่ต้องการบวชจะต้องทำการเตรียมตัวด้วยการฝึกท่องคำขอบรรพชาอุปสมบท หรือคำขานนาค และท่องบทสวดคำบาลีที่ต้องใช้ในการประกอบงานบวช คือ คำกรวดน้ำวิธีทำพินทุ, อธิษฐาน วิธีวิกัปจีวร วิธีแสดงอาบัติ บทยถา บทสัพพี วิธีพิจารณาปัจจัย ท่องบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น

ซึ่งผู้บวชจะต้องมาทำการฝึกกับอุปัชฌาย์หรือพระพี่เลี้ยงที่ทำการสอนบทสวดให้

หากผู้ที่ต้องการบวชไม่สามารถท่องคำขานนาคได้แล้ว คนผู้นั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้บวช

ดังนั้นในอดีต ผู้ที่ต้องการบวชจะต้องไปอยู่วัดอย่างน้อย 7 วันเพื่อทำการฝึกบทสวด เตรียมใจด้วยการทำใจให้สงบ ระลึกถึงคุณพ่อแม่และคุณพระรัตนะตรัย จะได้ดำรงอยู่ในศีลอย่างเคร่งครัดในระหว่างที่ทำการบวช

 

2. พิธีงานบวช

เมื่อถึงวันงานบวชที่ได้กำหนดไว้ จะมีขั้นตอนและพิธีของการจัดงานดังนี้

 

2.1 การตัดปอยผม

การตัดปอยผมจะเป็นการให้พ่อแม่ ญาติ เพื่อน พี่น้องและเพื่อนเข้ามาทำการตัดปอยผมออกจากศีรษะด้วยกรรไกร

โดยเมื่อทำการตัดปอยผมแล้วจะนำปอยผมดังกล่าวมาวางไว้บนใบบัวขนาดใหญ่ ที่จัดเตรียมไว้

 

2.2 การโกนศีรษะ

เมื่อญาติทำการตัดปอยผมจนครบทุกคนแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะทำการโกนผมที่อยู่บนศีรษะออกทั้งหมด

 

เมื่อโกนผมเสร็จแล้วจะเรียกผู้ทำการขอบวชว่า “นาค”

.

 

2.3 การขอขมา

เมื่อทำการโกนผมเสร็จแล้ว นาคจะเข้ามาทำการพิธีขอขมาพ่อแม่ ญาติและผู้ที่มาร่วมงานทุกคนสามารถเข้าไปทำพิธีเพื่อให้นาคได้ทำการขอขมาในสิ่งที่เคยได้ล่วงเกินมาก่อน ทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ

โดยนาคจะทำการยกธูปเทียนแพเป็นการขมา

 

2.4 แห่นาค

การแห่นาค คือ การเดินทางพานาคไปยังอุโบสถสำหรับประกอบพิธีอุปสมบทนาคให้เป็นพระ

แห่นาค
ขอขอบคุณ ภาพงานแห่นาค จากเวปไซต์ https://pantip.com/topic/31804035

.

2.5 เดินรอบอุโบสถ

ก่อนที่นาคจะสามารถเข้าไปภายในอุโบสถได้นั้น นาคจะต้องทำการเวียนรอบพระอุโบสถจำนวน 3 รอบพร้อมกับพ่อแม่และผู้ที่มาร่วมงาน

 

งานบวช ใครถืออะไร

งานบวชใครถืออะไรบ้าง, งานบวช แม่ถืออะไร, ถือของงานบวช – คุณพ่อเป็นผู้อุ้มบาตรและถือตาลปัตร ส่วนคุณแม่เป็นผู้ถือพานผ้าไตร

ญาติพี่น้องหรือผู้ร่วมงานทำการถือหมอน ที่นอน กลด อัฏฐบริขาร สังฆทาน

 

2.6 การโปรยทาน

เมื่อเวียนรอบอุโบสถครบ 3 รอบแล้ว นาคทำการโปรยทานเพื่อเป็นการแสดงถึงการสละซึ่งทรัพย์สมบัติทางโลกเพื่อที่จะเข้าสู่ทางธรรม

 

2.7 ทำการวันทาสีมา

ก่อนที่นาคจะทำการเข้าสู่ภายในอุโบสถ นาคจะต้องทำการวันทาสีมาที่บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าอุโบสถ ด้วยการกล่าวคำวันทาสีมาหน้าพระอุโบสถ

ถือเป็นการแสดงความเคารพต่อพระอุโบสถ

 

2.8 เดินเข้าอุโบสถ

โดยนาคจะต้องเดินเข้าอุโบสถเป็นคนแรก ตามด้วยพ่อแม่หรือญาติพี่น้อง

ซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณ ในขณะที่เดินเข้าอุโบสถ พ่อแม่หรือญาติสามารถทำการจับที่ชายผ้าของชุดที่นาคสวมอยู่ได้ เปรียบเป็นการจับชายพาเข้าสู่ร่มพระธรรม

 

2.9 ทำพิธีบวชนาค

เมื่อนาคเข้าสู่อุโบสถจะเป็นการเริ่ม พิธีบวชนาค โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำกับนาคว่าต้องปฏิบัติตน และมีขั้นตอนจนกระทั่งจบพิธีการบวชนาค ก็จะได้ชื่อว่าเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์

 

หลังจากที่ทำการบวชพระเสร็จแล้ว พระใหม่จะเดินออกจากอุโบสถ พร้อมทั้งรับบิณฑบาตจากญาติโยมที่รออยู่ด้านหน้า ซึ่งหลังจากนี้อาจจะมีพิธีฉลองพระใหม่หรือไม่ก็ได้ตามความพร้อมของเจ้าภาพ

 

งานบวชพระ
ขอขอบคุณ ภาพงานบวชพระ จากเวปไซต์ Piteethai.com

.

ความสำคัญของงานบวช

งานบวช ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา

เนื่องจากงานบวชพระนั้นมีความสำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนาดังนี้

 

1. เป็นการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าหลังจากที่พระองค์ทรงปรินิพพานแล้ว พระธรรมวินัยและคำสอนคือตัวแทนของพระองค์

ซึ่งพระภิกษุก็คือผู้ที่ทำหน้าที่สืบทอดพระธรรมวินัยให้ดำรงคงอยู่ต่อไป

 

2. ได้ศึกษาพระธรรม

พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่สอนให้เป็นคนดี มีสติ ผู้ที่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมความดีตามหลักพระพุทธศาสนาทุกคนล้วนแต่มีความเจริญในชีวิตทั้งสิ้น

ดังนั้นผู้ที่ทำการบวชย่อมเป็นผู้รู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่มี ซึ่งในสมัยก่อนผู้ที่ทำการบวชจะอยู่ในช่วงวัยรุ่นที่เป็นวัยแห่งความคึกคะนอง

ดังนั้นการบวชจึงเป็นการฝึกความอดทน ฝึกความคิดให้รู้จักยับยั้งชั่งใจไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดีจากการศึกษาพระธรรมนั่นเอง

 

3. ได้ตอบแทนคุณ

ความเชื่อของคนในสมัยก่อนนั้น เชื่อว่าการที่ลูกหรือบุคคลที่อยู่ในอุปการะของตนได้บวช ถือว่าเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะคนที่เป็นแม่ที่ไม่สามารถทำการบวชเรียน ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปขึ้นสวรรค์

เนื่องจากพระคือผู้ที่มีความบริสุทธิ์ เป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม เป็นผู้ที่มีจริยวัตรอันงดงาม

ดังนั้นการที่ลูกชายได้ทำการบวชพระถึงสร้างความปิติยินดี ทำให้พ่อแม่ความสุขเหมือนได้ขึ้นสวรรค์นั่นเอง

 

งานบวช ภาษาอังกฤษ

ประเพณีงานบวช ภาษาอังกฤษ, งานบวช ภาษาอังกฤษ คือ Buddhist Ordination

 

งานบวชต้องมีของชำร่วยไหม

งานบวชจำเป็นต้องมีของชำร่วยหรือไม่ และควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม <–คลิกอ่าน

 

 

จะเห็นว่างานบวชเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้รูปแบบการจัดงานบวชในแต่ละพื้นที่อาจมีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเพณีการจัดงานของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่เคยขาดไม่ว่าจะงานแห่งใดก็คือ หัวใจหลักของงานซึ่งก็คือ การบวชพระ โดยเป็นสิ่งที่ผู้บวชจะได้ปฏิบัติตนสืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดำรงคงอยู่ต่อไป

 

บทสวดชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลวงพ่อโต กับความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ควรค่าแก่การสักการะ

วัดระฆัง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ความสำคัญแห่งศาสนสถานคู่เมืองไทย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only