แอลกอฮอล์ คืออะไร มีกี่ประเภท ใช้อย่างไรให้เหมาะสมปลอดภัย

แอลกอฮอล์ คืออะไร มีกี่ประเภท ใช้อย่างไรให้เหมาะสมปลอดภัย

ถ้าเอ่ยถึง แอลกอฮอล์ หรือ alcohol ในภาษาอังกฤษ เราอาจนึกไปถึงสองสิ่งด้วยกัน คือ แอลกอฮอล์ที่ใช้สำหรับทำความสะอาด เช็ดล้างแผล และแอลกอฮอล์ในแบบของเครื่องดื่ม เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ มีกี่ประเภท

 

เมื่อพูดถึงชื่อนี้ทีไรก็มักจะเหมากันไปหมดว่า คือ สุราหรือเหล้า

ซึ่งจริง ๆ แล้วสารชนิดนี้แบ่งย่อยออกเป็นหลากหลายประเภท โดยจะมีทั้งชนิดที่ดื่มได้ และชนิดที่ไม่สามารถดื่มได้

 

เพราะฉะนั้นมาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น ว่าแอลกอฮอล์มีชื่อเรียกอะไรบ้าง สเปรย์แอลกอฮอล์ ของชําร่วย แบบการ์ด แบบตลับ แบบขวด พกพา แอลกอฮอล์สเปรย์ สั่งทำ ราคาส่ง

แล้วแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงการผลิตเพื่อให้ได้สารชนิดนี้มา ต้องทำอย่างไร? แอลกอฮอล์ มีกี่ประเภท

แอลกอฮอล์ ภาษาอังกฤษ Alcohol

แอลกอฮอล์ คืออะไร มีกี่ประเภท ใช้อย่างไรให้เหมาะสมปลอดภัย

 

ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ

แอลกอฮอล์ คือ อะไร

นิยามของแอลกอฮอล์นั้นถือว่าเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของสารประกอบอินทรีย์

 ถ้ามองลึกลงไปถึงชั้นการเชื่อมต่อของโมเลกุล เราจะพบกับหมู่ไฮดรอกซิล เชื่อมต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิล 

ลักษณะพื้นฐานของสารชนิดนี้คือ เป็นของเหลว

 

แอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ – ขอขอบคุณ รูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

 

แอลกอฮอล์ มีกี่ประเภท

แอลกอฮอล์ มี กี่ ประเภท, แอลกอฮอล์ มี กี่ แบบ

ประเภทของแอลกอฮอล์ – แอลกอฮอล์จัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ซึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งาน มีดังนี้

 

1. เอทานอล (Ethanol)

เอทานอล คือ – สำหรับแอลกอฮอล์ประเภทเอทานอล มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า  เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) 

เอทานอล สูตรเคมี – โดยมีสูตรทางเคมีคือ C2H5OH ประกอบด้วยคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีการแทนที่ทางเคมีเกิดขึ้น การเชื่อมต่อของสายโซ่คาร์บอนที่เข้ามาแทนที่ ไฮโดรเจนอะตอม

เอทานอล สูตรเคมี
เอทานอล สูตรเคมี

 

ที่มาของเอทานอล เป็นการคิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 เป็นการใช้คำว่า ethane ร่วมกับคำว่า ol

โดยมีลักษณะเฉพาะคือ ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นเฉพาะตัว ไม่มีสี เป็นของเหลวใส โมเลกุลขนาด 46.07 กรัม/โมล

จุดเดือดอยู่ที่ 78.32 องศาเซลเซียส และจุดเยือกแข็งอยู่ที่ -114.1 องศาเซลเซียส

มีค่า pH อยู่ที่ 5-7 สามารถละลายน้ำได้ดี รวมถึงสารทำละลายอินทรีย์ เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์, เมทิลแอลกอฮอล์ และอีเทอร์ เป็นต้น

 

กระบวนการผลิตเอทานอล

เอทานอล ผลิตได้จากการหมัก มีส่วนประกอบหลักคือ  น้ำตาลกลูโคสใช้เป็นสารตั้งต้น แล้วใช้ยีสต์ในการเปลี่ยนโมเลกุลของน้ำตาล 

ซึ่งอาจจะได้มาจากการนำเอาพืชผลทางการเกษตรเข้ามาใช้ เช่น กากน้ำตาล กากอ้อย แป้ง และมันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น

เอทานอล กินได้ไหม

 

ดังนั้น จึงเป็นแอลกอฮอล์ที่สามารถกินได้ ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมจะถูกนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น เบียร์ และ ไวน์

 

โดยที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้จะมีสัดส่วนของเอทานอลแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการกลั่น (เหล้าที่มาจากการกลั่นจะมีแอลกอฮอล์สูงกว่าเบียร์ ราว 40-50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว)

ปริมาณของเอทานอลในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 แต่ก็ยังมีบางส่วนที่นำเอาไปทำเป็นน้ำยาล้างแผล น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ไม่สามารถกินได้ จึงต้องผสมสีลงไปเพื่อแบ่งประเภทให้ชัดเจน ป้องกันไม่ให้นำเอาไปรับประทาน 

 

เมื่อหมักบ่มเอทานอลจนได้ที่ จะนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นที่เรียกว่า Distillation ซึ่งจะถูกส่งต่อไปที่หอกลั่น มีการแยกน้ำและสิ่งเจือปนออกไป เพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์มากที่สุด ราวๆ 96% เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นสูง แต่ก็ยังมีน้ำหลงเหลืออยู่ราว 4% ซึ่งจะถูกดูดออกเป็นขั้นตอนสุดท้าย

 

การกลั่น เอทานอล
การกลั่น เอทานอล – ขอขอบคุณรูปภาพต้นแบบ จาก tpa.or.th

 

จนได้ออกมาเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ที่ 99.5% ด้วยความเข้มข้นระดับนี้จะถูกนำไปผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างน้ำมันเบนซิน เพื่อใช้ในรถยนต์ได้

นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรม ใช้สำหรับสังเคราะห์สารเคมี เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ไปจนถึงการผลิตอาหาร ยา และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์อีกด้วย

 ส่วนการนำมารับประทานนั้น จะเป็นสัดส่วนที่ไม่เข้มข้นมากไปกว่า 50% ด้วยการผลิตที่มีวัตถุดิบจากพืชผลในธรรมชาติ จึงทำให้แอลกอฮอล์ที่ได้ออกมานั้นสามารถกินได้ เกิดจากขั้นตอนการทำที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันด้วยระดับความเข้มข้นนั่นเอง 

เช่น ถ้าเป็นแอลกอฮอล์ล้างแผลจะอยู่ที่ 70% ถ้าเป็นเหล้าจะอยู่ที่ 40-50% ส่วนเบียร์จะมีสัดส่วนน้อยที่สุดคือ 4-6% เท่านั้น

 

เอทานอล โดยอาจารย์แพทย์หญิงธัญจิรา จิรนันทกาญจน์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิก ดาวน์โหลดไฟล์ pdf

เอทานอล โดยอาจารย์แพทย์หญิงธัญจิรา จิรนันทกาญจน์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เอทานอล อาจารย์แพทย์หญิงธัญจิรา จิรนันทกาญจน์

Ethanol โดยอาจารย์แพทย์หญิงธัญจิรา จิรนันทกาญจน์

Ethanol อาจารย์แพทย์หญิงธัญจิรา จิรนันทกาญจน์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Ethanol เอทานอล โดยอาจารย์แพทย์หญิงธัญจิรา จิรนันทกาญจน์

.

2. เมทานอล (Methanol)

เมทานอลมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า  เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl alcohol) 

ในอดีตเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการกลั่นไม้

เมทานอล สูตรเคมี – มีสูตรทางเคมีคือ CH3OH คุณสมบัติของตัวเมทานอลนั้นใกล้เคียงกับเอทานอล คือมีความใส เป็นของเหลวที่ระเหยได้ง่าย

เมทานอล สูตรเคมี
เมทานอล สูตรเคมี

 

กระบวนการผลิตทานอล

การผลิตเมทานอล – ในกระบวนการผลิตสารเมทานอลมีหลายวิธีการด้วยกัน ซึ่งมีการพยายามพัฒนามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้ได้เมทานอลในปริมาณมาก ต้นทุนต่ำ และมีความบริสุทธิ์ เพื่อการนำมาใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

 

เมทานอล เป็นสารอะไร, เมทานอล ผลิตจาก – ที่มาของสารชนิดนี้ ได้มาจากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมีที่ผ่านความร้อนอุณหภูมิ 320-380 องศาเซลเซียส ด้วยการทำปฏิกิริยากันระหว่างคาร์บอนมอนนอกไซด์กับไฮโดรเจน ในอัตราส่วน 1:2 ภายใต้แรงดันสูง 350 บาร์

 

ด้วยกระบวนการที่มาจากอุตสาหกรรม นิยมใช้งานเป็นสารละลายต่าง ๆ เช่น ส่วนผสมในสีทาไม้, เป็นน้ำมันเคลือบเงา เป็นต้น

 เมทานอล กินได้ไหม – ด้วยวัตถุดิบที่ไม่ได้มาจากการเกษตร แต่ใช้ก๊าซสังเคราะห์เป็นสารตั้งต้น ดังนั้น จัดว่าเป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเป็นพิษสูง ไม่ควรสัมผัสโดนผิวหนัง ห้ามกิน หรือแม้กระทั่งการสูดดมเข้าไปก็ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองจนเสี่ยงที่จะเกิดการอักเสบของระบบอวัยวะภายในได้ 

 

อันตรายจากเมทานอลต่อร่างกาย และวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น

เมทานอล อันตราย

1. การสัมผัสกับผิวหนัง

เมื่อเมทานอลมีการสัมผัสกับผิวหนัง มักจะเกิดอาการระคายเคือง มีผื่นแดง คัน และแสบได้หากสัมผัสได้ปริมาณมาก

การแก้ไขในเบื้องต้น ให้รีบถอดเสื้อผ้าในบริเวณที่สัมผัสเมทานอลออก แล้วล้างผิวหนังด้วยสบู่และน้ำเปล่าจนอาการทุเลาลง แต่หากไม่ดีขึ้น ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

 

2. การสูดดมเข้าไป

กรณีที่สูดดมเอาสารเมทานอลเข้าไป จะส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ เสี่ยงที่จะทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ แสบบริเวณเนื้อเยื่อจมูก ระคายเคืองร่วมกับดวงตา มีอาการแสบคัน

 หากสูดดมในปริมาณมาก จะส่งผลต่อไปยังสมอง ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะจนหมดสติได้ 

 

วิธีแก้ไข ให้รีบนำตัวเองออกจากบริเวณที่เมทานอลระเหยโดยด่วน หาพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ตั้งสติแล้วหายใจเข้าออกให้ลึก ๆ เพื่อสูดอากาศปกติเข้าไปแทนที่ จนกว่าอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น

เช่นเดียวกัน หากพบว่าอาการยังทรุดลง ให้รีบพบแพทย์โดยด่วนที่สุด

 

3. การรับประทาน

เมื่อเผลอรับประทานเอาเมทานอลเข้าไป จะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร แม้จะเพียงเล็กน้อย หรือกระทั่งเกิดความรู้สึกผิดปกติที่รับรู้ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการท้องเสีย เสี่ยงที่จะเข้าสู่กระแสเลือดได้ มีผลต่อระบบประสาทตาและกล้ามเนื้อ

ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยด่วน ป้องกันอวัยวะภายในถูกทำลาย

 

ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับแอลกอฮอล์

methanol กับ ethanol ต่างกัน – เนื่องจากในท้องตลาดทั้ง เอทานอล และ เมทานอล ล้วนเป็นชื่อเรียกของแอลกอฮอล์ด้วยกันทั้งสิ้น ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ไม่มีความรู้ อาจจะเข้าใจผิดในการนำไปใช้งาน และคิดว่าทั้งสองชนิดก็เป็นแอลกอฮอล์เหมือน ๆ กัน

 

โดยทั่วไปถ้าหากในร้านขายยา ราคาของเอทิลแอลกอฮอล์จะมีราคาแพงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย โดยเฉพาะแอลกอฮอล์สำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล

 

ผู้จำหน่ายมักจะหยิบทั้งสองแบบมาให้เลือก เราก็มักจะเลือกตัดสินใจซื้อตัวที่ถูกกว่า เพื่อต้องการประหยัด แต่หารู้ไม่ว่าคุณสมบัติในการใช้งานนั้นแตกต่างกัน

 กรณีที่ซื้อเอทิลแอลกอฮอล์มาใช้เช็ดแผล จะไม่เป็นอันตรายตามที่บอกไว้ด้านบน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ สัมผัสกับผิวหนังมนุษย์ได้ เป็นส่วนผสมทั้งในยาและสุรา 

 

แต่ในส่วนของเมทิลแอลกอฮอล์นั้นเป็นพิษต่อผิวหนัง จะใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เท่านั้น ห้ามใช้กับร่างกายเด็ดขาด

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจใหม่ ทั้งผู้จำหน่ายและผู้บริโภคว่าแอลกอฮอล์ทั้งสองชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ควรจับมาใช้งานร่วมกันเด็ดขาด แม้ว่าจะมีการตักเตือนจากหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว แต่เราก็ยังเห็นว่ามีการจำหน่ายแบบผิด ๆ

 การดูฉลากก่อนซื้อให้ละเอียด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย 

 

เมทานอล vs เอทานอล สารขนิดใดส่งผลร้ายแรงแก่ร่างกาย?

พบหมอรามาฯ 24.10.2562

 

สารเอทิลแอลกอฮอล์กับผลกระทบต่อร่างกาย

เนื่องจากเอทิลแอลกอฮอล์ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย จึงเน้นเป็นแอลกอฮอล์ที่เราอยากจะแนะนำให้รู้จักมากเป็นพิเศษ และให้จำเอาไว้เพียงแค่ว่า

 เมทิลแอลกอฮอล์นั้นเป็นพิษต่อร่างกาย 

 

ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์นั้นอยู่ในชีวิตประจำวันรอบ ๆ ตัวของเราอย่างแพร่หลาย และแน่นอนว่าในเครื่องดื่มสุราและของมึนเมา

หลายคนอาจสงสัยว่าผลจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีเอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอลนั้น ส่งผลอะไรกับร่างกายบ้าง ทำไมกินเข้าไปแล้วถึงพบการเปลี่ยนแปลง?

คำตอบก็คือ แอลกอฮอล์ชนิดนี้เป็นสารที่มีคุณสมบัติกดประสาท เมื่อได้รับเข้าไปแล้วจะเข้าไปกระทบกับระบบประสาทของเราโดยตรง

เมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ในช่วงแรก ร่างกายจะมีการหลั่งสารชื่อว่า “ โอปิออยด์ ” (Opioids) ออกมา ซึ่งทำให้สมองได้รับการกระตุ้น หลั่งสารอื่น ๆ อีกหลายชนิดออกมา โดยเฉพาะ เอนดอร์ฟิน เราจะรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว และมีความสุขมากกว่าปกติ

 

เป็นเหตุให้เข้าใจได้ไม่ยากว่า การที่เราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในปริมาณมากจนมึนเมา จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดีขึ้น และหากได้รับในปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สมองทำงานช้าลง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าและสมองส่วนกลาง

 

ในส่วนของการควบคุมการทรงตัวจะเกิดขึ้น เมื่อแอลกอฮอล์ในเลือดสูงมาก ส่งผลให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เดินเซ คลื่นไส้ได้ง่าย ยืนไม่ตรง รู้สึกโลกหมุน ซึ่งมาจากการทำงานของสมองในส่วนซีรีเบลลั่ม

 ความรู้สึกที่ดีในช่วงที่แอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายนั้น เป็นเหตุที่ทำให้เกิดการเสพติด นำไปสู่โรคพิษสุราเรื้อรังตามมาได้ 

 

ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้ปลอดภัย by หมอแอมป์

 

เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ มีกี่ประเภท

ปริมาณของเอทานอลในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เมื่อแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มต่าง ๆ หลากหลายชนิด

ซึ่งชนิดของเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยม มีดังต่อไปนี้ (โดยเรียงตามปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์จากน้อยสุดไปมากสุด)

เครื่อง ดื่ม แอลกอฮอล์ มี กี่ ประเภท

 

1. เบียร์

เป็นการหมักจากมอลต์และเมล็ดพืช ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยที่สุด ร้อยละ 10-15  เท่านั้น

 

2. ไวน์

เป็นเครื่องดื่มที่หมักจากผลไม้ ที่นิยมสุดก็เห็นจะเป็นองุ่น ซึ่งจะมีแอลกอฮอล์อยู่ ร้อยละ 15-20 

 

3. วอดก้า

เป็นการหมักบ่มที่ได้มาจากพืชอย่างมันฝรั่ง ซึ่งจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ ร้อยละ 40-50 

 

4. วิสกี้

วัตถุดิบหลัก เรียกได้ว่าเป็นหัวใจ ทำให้วิสกี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นั่นก็คือ ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้จะมีปริมาณแอลกอฮอล ร้อยละ 45-60  มากกว่าวอดก้าเล็กน้อย

 

5. บรั่นดี

เป็นขั้นกว่าของไวน์ ซึ่งได้จากการกลั่นไวน์อีกชั้น หรือใช้การกลั่นผลไม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งด้วยกระบวนการนี้ ทำให้ได้ออกมาเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณของแอลกอฮอล์เข้มข้นถึง ร้อยละ 45-60 

 

6. ยิน

ยิน หรือ จิน (Gin) ใช้ขั้นตอนการกลั่นผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืช ซึ่งจะมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ ร้อยละ 40-48 

 

7. รัม

เป็นเหล้าชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม มีวัตถุดิบหลักคือ กากน้ำตาล ได้จากกระบวนการกลั่น มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงที่สุดจากเครื่องดื่มทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่ระหว่าง ร้อยละ 40-95  เลยทีเดียว

 

แอลกอฮอล์ล้างแผลกินได้หรือไม่?

 ตามปกติแล้วแอลกอฮอล์ล้างแผลจะเป็นแอลกอฮอล์ชนิดเอทานอล ซึ่งเรารู้แล้วว่าเป็นแบบที่สามารถกินได้  มีส่วนผสมอยู่ในเครื่องดื่มหลากหลายชนิด

 

แต่ ถ้าถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาล้างแผล จะใช้สำหรับภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถดื่มได้ เนื่องจากมีสัดส่วนที่เข้มมากจนเกินไป โดยอัตราส่วนของสุราจะสูงสุดไม่เกิน 50% ในขณะที่แอลกอฮอล์ล้างแผลจะอยู่ที่ราว ๆ 70%

 

ดังนั้น จะสลับมาใช้งานกันไม่ได้ เช่น หากใช้เหล้ามาล้างแผล ก็จะทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ไม่มีคุณภาพ ฆ่าเชื้อโรคได้ไม่ดีพอ เป็นต้น

 

สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดบนอาหารอันตรายไหม?

 เอทานอลไม่สามารถกินได้หากไม่ได้อยู่ในส่วนผสมของสุราหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ 

แต่ถ้าหากเป็นสเปรย์แอลกอฮอล์ล่ะ? จะสามารถฉีดฆ่าเชื้อบนอาหารก่อนกินได้หรือไม่?

 

เอาจริง ๆ แล้วจะต้องตอบว่า “ไม่ควรทำ” เพราะสเปรย์ที่ใช้มีความเข้มข้นไม่ต่างจากแอลกอฮอล์ล้างแผล หากระเหยไปไม่หมด เสี่ยงที่ส่งผลร้ายต่อร่างกายตามมา

 

ดังนั้น การทำให้อาหารสะอาด ต้องการฆ่าเชื้อโรค ให้ใช้การนำไปปรุงซ้ำด้วยการผ่านความร้อน หรือเอาอุ่นในไมโครเวฟแทน

 

โดยสรุปแล้ว แอลกอฮอล์ ที่เรารู้จัก ไม่ได้มีเพียงชนิดเดียวอย่างที่เข้าใจกัน ซึ่งนอกจากเอทานอลและเมทานอลที่ได้รับความนิยมในการใช้งานทั่วไปแล้ว ยังมีอีกหลายชนิดที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไป

ดังนั้น ให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ ว่าชนิดไหนปลอดภัย ชนิดไหนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จะได้เลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดจนส่งผลร้ายต่อร่างกายตามมานั่นเอง

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart