วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลวงพ่อโต กับความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ควรค่าแก่การสักการะ

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลวงพ่อโต กับความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ควรค่าแก่การสักการ

วัดอินทรวิหาร – เมื่อกล่าวถึงชื่อ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้จักหรือนึกไม่ออก

แต่ถ้ากล่าวถึง วัดหลวงพ่อโต เชื่อว่าหลายคนนั้นรู้จักวัดนี้กันเป็นอย่างดี

เพราะ หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และอยู่คู่กับเมืองไทยมาช้านาน

และหลวงพ่อโตยังสร้างจากพระสงฆ์ที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาไทยอย่าง สมเด็จโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

ดังนั้น วันนี้เราจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม มาให้ท่านได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น

เพราะที่วัดแห่งนี้มีสถานที่สำคัญที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ให้ท่านได้เข้าไปเรียนรู้และควรค่าแก่การสักการะอย่างยิ่ง

พระอุโบสถ, พระประธาน, หลวงพ่อโต, บ่อน้ํามนต์ วัดอินทรวิหาร, รอยพระพุทธบาทจำลอง, หอระฆังหลังคาทรงจัตุรมุข  

 

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลวงพ่อโต กับความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ควรค่าแก่การสักการ

 

ประวัติความเป็นมาของวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม

วัดอินทรวิหาร ประวัติ – วัดอินทรวิหาร จัดเป็น  พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ  ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นับว่าเป็นวัดที่มีความเก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานอีกวัดหนึ่งของไทย

 

บ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม – ศักดิ์สิทธิ์คงกระพัน | 9 MCOT HD

 

โดยวัดนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2295 ทว่าในประวัติการสร้างมิได้ทำการระบุไว้ว่าสร้างโดยเจ้าเมืองหรือใครเป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นมา  สร้างอยู่ใกล้กับไร่พริกของชาวจีนที่ทำมาหากินอยู่แถวนั้น ทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกว่า “วัดไร่พริก” 

ภายในวัดมีอุโบสถแบบเตาเผาปูนและกุฏิกระแชงอ่อน ภายหลังได้มีชาวบ้านเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณวัดเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการก่อตั้งหมู่บ้านและมีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อเดียวกันว่า ขุนพรหม

 

ชาวบ้านจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดบางขุนพรหม” ตามชื่อของหมู่บ้านนั่นเอง

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2321 ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรี ทางเมืองนครศรีสัตนาคหุตที่ปกครองโดยพระเจ้าสิริบุญสารได้ทำการยกทัพเข้ามาทำการรุกรานในเขตพื้นที่บ้านดอนมดแกง และได้ทำการจับกุมตัวพระลอและทำการประหารทำให้พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพิโรธ เนื่องจากพระลอได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว

ดังนั้นการประหารพระลอจึงถือเป็นการประกาศตนเป็นศัตรูกับพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทำการจัดทัพภายใต้การคุมทัพของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ กับพระสุรสีห์ให้ทำการยกทัพขึ้นไป เพื่อปราบทัพของพระเจ้าสิริบุญสาร โดยแม่ทัพทั้งสองสามารถทำการตีทัพของพระเจ้าสิริบุญสารจนสำเร็จ

แต่ว่าไม่สามารถจับตัวพระเจ้าสิริบุญสารได้ เนื่องจากพระเจ้าสิริบุญสารได้ทำการออกไปนอกเมืองและได้เข้าไปลี้ภัยที่เมืองญวนก่อน

 

หลังจากที่ทำศึกชนะ ถึงแม้ว่าสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์กับพระสุรสีห์จะไม่ได้ตัวพระเจ้าสิริบุญสาร แต่ก็ได้จับตัวพระโอรสของพระเจ้าสิริบุญสาร คือ เจ้าอินทวงศ์ มาเป็นตัวประกันด้วย

 

ต่อมาพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงให้เจ้าอินทวงศ์และผู้ติดตามได้ทำการถิ่นบ้านเรือนใหม่ ณ บริเวณตำบลไร่พริก  เมื่อเจ้าอินทวงศ์ได้พำนักอยู่ที่บ้านไร่พริก ได้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา 

 

จึงทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม ด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปทรงอุโบสถ จากอุโบสถแบบเตาเผาปูนที่มีอยู่เดิมให้เป็นศิลปกรรมแบบอยุธยาที่คงอยู่มาถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งสร้างศาลาขึ้นภายในวัด

นอกจากนั้น ยังมีการขุดคลองที่ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านหลังวัดอีกด้วย

 

เปิดตำนานวัดอินทรวิหาร สมเด็จบางขุนพรหม สมเด็จโต หลวงปู่ภู

YouTube video

 

หลังจากที่ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่จนเรียบร้อยดีแล้ว ได้มีการอาราธนาท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถร (ด้วง) มาเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ เพื่อเป็นธุระในการจัดการเกี่ยวกับสงฆ์และกิจการภายในวัด

ซึ่งท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถร (ด้วง) ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศในวิปัสสนาธุระและใจดี ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3  ซึ่งในช่วงนี้ชาวบ้านได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดอินทร์” หรือ “วัดอินทาราม” ตามชื่อของเจ้าอินทวงศ์ที่ทำการบูรณปฏิสังขรณ์นั่นเอง 

 

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ได้ทรงให้มีการตัดถนนผ่านกลางวัดขุนพรหม ด้วยเหตุนี้ทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และได้กลายมาเป็น 2 วัดในเวลาต่อมา คือ

 

วัดบางขุนพรหมนอก (ปัจจุบัน คือ วัดใหม่อมตรส) กับวัดบางขุนพรหมใน (ปัจจุบัน คือ วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง) โดยวัดนี้ตั้งอยู่ในเขตวังเทวะเวสม์ที่พระองค์ได้ทรงทำการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ วัดจึงมีชื่อว่า “วัดบางขุนพรหมใน” นั่นเอง

 

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2470 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6)  คณะสงฆ์ได้รับพระราชโองการให้ทำการเปลี่ยนชื่อของวัดเสียใหม่ เพราะชื่อเดิม “วัดอินทาราม” ที่ใช้อยู่นั้นเหมือนกับชื่อของวัดอินทราม (ใต้) ที่บางยี่เรือใต้ (ธนบุรี) 

 

ทำให้สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้มีการขนานนามวัดใหม่ เป็น “วัดอินทรวิหาร” และมีการใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

 

 ต่อมาได้มีการยกฐานะของวัดจากวัดราษฎร์กลายเป็น พระอารามหลวง ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2543 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

โดยมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2543 วัดอินทารามจึงมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง” มาจนถึงทุกวันนี้

 

ประวัติวัดอินทรวิหาร

YouTube video

 

FB Fanpage ทางการของ วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง คลิก

แฟนเพจ วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง Facebook
แฟนเพจ วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง Facebook

 

เว็บไซต์วัดอินทรวิหาร: http://www.watindharaviharn.org/

 

ปัจจุบันนี้ วัดมีเนื้อที่ทั้งหมด 21 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา

– ทางทิศเหนือของวัด ติดกับถนนกรุงเกษม

– ทิศใต้ของวัด ติดถนนวิสุทธิกษัตริย์

– ทิศตะวันออกของวัด ติดถนนเทเวศร์ซอย 1

– และทิศตะวันตกของวัด ติดถนนสามเสน สี่แยกบางขุนพรหม

ที่บริเวณซุ้มประตูทางเข้าวัดอินทรวิหารมีประตูจำนวน 3 ซุ้ม ซึ่งลักษณะของซุ้มเป็นงานศิลปะทรงไทย เรือนยอด ส่วนตรงกลางมีรูปพระมหาบุรุษ มหาภิเนษกรมณ์ ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา ที่บริเวณด้านขวามีรูปของพระอินทร์ และส่วนด้านซ้ายมีรูปพระพรหมตั้งอยู่

 

ศาสนสถาน เสนาสนะวัตถุและปูชนียวัตถุที่สำคัญ

เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน จึงมีศาสนสถาน เสนาสนะวัตถุ และปูชนียวัตถุที่มีความสำคัญอยู่หลายแห่งดังนี้

 

1. พระอุโบสถ

อุโบสถของวัดได้ทำการรักษาแบบดั้งเดิมหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ของเจ้าอินทวงศ์ แต่ได้มีการเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของอุโบสถ เนื่องจากโครงสร้างเก่ามีความชำรุดเสียหายด้วยการบูรณะสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก

พระอุโบสถ วัดอินทรวิหาร
พระอุโบสถวัดอินทรวิหาร – CBT Thailand (CBTThailand.dasta.or.th)

 

ส่วนของผนังและพื้นของอุโบสถได้มีการตกแต่งด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต หลังคาทำการมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสวยงาม ส่วนของช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ที่ใช้ประดับตกแต่งอุโบสถเป็นงานช่างปูนปั้นตามรูปแบบทรงไทยสมัยอยุธยาดั้งเดิม โดยเฉพาะซุ้มเสมาที่บริเวณหน้าบันจะมีความสวยงามเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังมีการประดับกระจกตามลวดลายที่อยู่ตามจุดต่างๆ อีกด้วย

 

สำหรับผนังอุโบสถที่นี่ถือว่ามีความแตกต่างจากที่อื่น เนื่องจากไม่ได้เขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติ แต่ภายในมีการเขียนภาพภาพประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตั้งแต่สมัยที่ท่านทำการบวชเป็นสามเณรที่วัดนี้ และกิจต่างๆ ของท่านมากมายที่ได้ทรงทำเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่

 

นอกจากนั้น ทางวัดได้มีการปรับปรุงห้องใต้ดินของอุโบสถให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อแสดงของเก่าที่ทางวัดได้เก็บรักษาไว้ เช่น พระพุทธรูป ตู้ลายรดน้ำ เครื่องเบญจรงค์ลวดลายไม่ซ้ำกันจำนวน 244 ชุด เป็นต้น

โดยพิพิธภัณฑ์จะมีการเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าชมได้ทุกปีในช่วงงานประจำปีที่ทางวัดจัดขึ้น

 

2. พระประธาน

พระประธานภายในพระอุโบสถนามว่า “พระอินทร์” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่อยู่ในอิริยาบถท่านั่งขัดสมาธิ

พระหัตถ์ด้านซ้ายวางหงายบนพระเพลา ส่วนพระหัตถ์ด้านขวาวางคว่ำลงบนพระชานุ โดยนิ้วพระหัตถ์ทำการชี้ลงไปที่พื้นธรณี

ซึ่งเป็นท่านั่งที่เกิดขึ้นในครั้งที่พระองค์ทรงสามารถเอาชนะมารได้ จึงเรียกท่านั่งปางมารวิชัยหรือปางชนะมารนั่นเอง

 

3. หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร

หลวงพ่อโต หรือ พระศรีอริยเมตไตรย ถือเป็นพระพุทธรูปที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองลงมาจากพระพุทธธรรมกายเทพมงคล วัดปากน้ำภาษีเจริญ

โดยหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่อยู่ในท่ายืน ห่มจีวร มีความสูง 16 วา ความกว้าง 5 วา 2 ศอก หรือสูง 32 เมตร กว้าง 10 เมตร 24 นิ้ว พระพุทธรูปทั้งองค์ประดับด้วยเครื่องโมเสกสีทอง 24 เค จากประเทศอิตาลี

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Watportal.com

 

วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ 1 ใน 9 วัดที่ควรมากราบสักการะในช่วงเทศกาล

YouTube video

 

การสร้างพระพุทธรูปนี้เป็นดำริเริ่มต้นของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามในขณะนั้น โดยท่านได้เป็นผู้ดำเนินการสร้างและควบคุมกับพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ในการดูแลการก่อสร้าง

 

โดยทำการเริ่มสร้างในปี 2410 ซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่การสร้างพระพุทธรูปยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพเสียก่อน ดังนั้นพระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) จึงได้ทำการดูแลการก่อสร้างต่อจนสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2463 ซึ่งองค์พระพุทธรูปยังมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อภายใต้การดูแลของพระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ แต่การบูรณปฏิสังขรณ์ก็ยังไม่สมบูรณ์ทั้งหมด

ต่อมาในปี พ.ศ.2476 ได้มีการตั้งพระราชาคณะโดยการแต่งตั้งพระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ซึ่งท่านได้ดูแลและทำการก่อสร้างหลวงพ่อโตจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2467

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร- ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Facebook.com/WatIndharaviharn

 

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Facebook.com/WatIndharaviharn

 

วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโต
วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโต – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Facebook.com/WatIndharaviharn

 

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลวงพ่อโต
วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลวงพ่อโต – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Facebook.com/WatIndharaviharn

 

หลังจากที่ทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีประธานฝ่ายสงฆ์คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท) และประธานฝ่ายคฤหัสถ์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ มาทำการเปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต ทกปีในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้ทรงให้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงดำรงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในขณะนั้น เสด็จเป็นตัวแทนพระองค์ ทำการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนยอดบนยอดพระเกศหลวงพ่อโต ที่ได้รับมอบมาจากทางรัฐบาลอินเดีย

 

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก โดยเชื่อว่าหลวงพ่อโตสามารถคุ้มกันสรรพภัยพิบัติ และทำให้เกิดสุขสวัสดิ์ลาภผลต่อผู้ที่ได้เข้ามาสักการะบูชา

เนื่องจากมีหลายคนได้เห็นอภินิหารของหลวงพ่อโตมาแล้ว ในช่วงสงครามโลก เพราะถึงแม้จะมีการทิ้งระเบิดมากมายเพียงใด แต่องค์หลวงพ่อโตก็หาได้รับความกระทบกระเทือนแม้แต่น้อย ทำให้ชาวบ้านให้ความเคารพหลวงพ่อโตเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน

 

ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองพระพุทธรูปเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 1-7 เมษายน ถือเป็นเทศกาลประจำปีที่มีการเปิดให้ทำการนมัสการ และปิดทองพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัด โดยหากต้องการนมัสการและขอพรสามารถทำได้ที่บริเวณพระบาทหรือเท้าขององค์หลวงพ่อโต snack box งานศพ ราคาถูก ราคาส่ง

 

4. บ่อน้ำมนต์ วัดอินทรวิหาร

บ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ – บ่อน้ำพระพุทธมนต์ที่วัดอินทรวิหาร นับเป็นบ่อน้ำที่มีความศักดิ์แห่งหนึ่งไทย บ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สร้างขึ้นโดย สมเด็จพุฒาจารย์ (โต)

โดยมีการสร้างบ่อน้ำนี้ขึ้นในช่วงที่มีการก่อสร้างหลวงพ่อโต เนื่องจากในช่วงที่มีการสร้างหลวงพ่อโตที่วัดนี้ ได้มีบรรดาลูกศิษย์ได้เข้ามาขอน้ำมนต์จากสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เป็นจำนวนมาก

บ่อน้ํามนต์ วัดอินทรวิหาร
บ่อน้ํามนต์ วัดอินทรวิหาร – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Watportal.com

 

บ่อน้ำมนต์ วัดอินทรวิหาร
บ่อน้ำมนต์ วัดอินทรวิหาร – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Thaiculturebuddhism.com

 

บ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์
บ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Amuletpura.com

 

บ่อน้ําพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์
บ่อน้ําพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Watportal.com

 

บ่อน้ําพระพุทธมนต์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
บ่อน้ําพระพุทธมนต์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) – ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Watportal.com

 

น้ำพระพุทธมนต์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
น้ำพระพุทธมนต์ สมเด็จพระพุฒาจารย์- ขอขอบคุณรูปภาพ จาก Facebook.com/WatIndharaviharn

 

ดังนั้นสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) จึงให้มีการสร้างบ่อน้ำมนต์ไว้สำหรับลูกศิษย์ทุกคน ซึ่งน้ำมนต์ในบ่อนี้ได้มีการนำน้ำพระพุทธมนต์จากสถานที่ศักดิ์อื่น ๆ มารวมกันอีกจำนวน 381 แห่ง และยังมีแผ่นผ้ายันต์ที่มีการค้นพบอยู่ใต้บ่ออีกจำนวน 121 พระคาถา ทำให้น้ำมนต์ในบ่อนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป

 

โดยมีความเชื่อว่าการได้อาบหรือประพรมน้ำมนต์จากบ่อนี้แล้ว จะส่งผลให้เกิดความเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งกับตนเอง

นอกจากนั้น น้ำมนต์ยังสามารถช่วยขับไล่และป้องกันสิ่งอัปมงคล ภูตผีปิศาจไม่ให้เข้ามาใกล้หรือทำร้ายคนภายในบ้านของตนได้อีกด้วย

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการสร้างอาคารคลุมบ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาใหม่ ทดแทนอาคารหลังเก่าที่ทรุดโทรมและยากต่อการทำความสะอาด

โดยอาคารหลังใหม่มีรูปทรงเจดีย์แบบศิลปะไทยประยุกต์ ซึ่งอาคารหลังใหม่สร้างแล้วเสร็จในปี 2531

 

คชาภาพาไปมู บ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จโต วัดอินทรวิหาร

YouTube video

 

YouTube video

 

YouTube video

 

YouTube video

 

5. รอยพระพุทธบาทจำลอง

ถือเป็นสถานที่ศักดิ์อีกแห่งหนึ่งที่อยู่ภายในวัด โดยรอยพระพุทธบาทตั้งอยู่ภายในมณฑปที่บริเวณด้านหลังขององค์หลวงพ่อโต มีลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทจำลองที่สร้างจากหินอ่อน นับเป็นสถานที่ศักดิ์ที่เมื่อมาถึงวัดอินทรวิหารแล้วจะต้องเข้าไปสักการะ

 

6. หอระฆังหลังคาทรงจัตุรมุข

หอระฆังมีลักษณะเป็นอาคารที่ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน หลังคาเป็นทรงจัตุรมุข หอระฆังแห่งนี้มีการสร้างมาแต่สมัยโบราณ ถือเป็นสถานศักดิ์ที่อยู่กับวัดอินทรวิหารอีกแห่งหนึ่งของวัด

 

วัดอินทรวิหาร เดินทาง การเดินทางไปยังวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม ถือเป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญของคนไทย ตั้งอยู่ที่ 114 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200, หมายเลขติดต่อ โทร.02-282-0461, 02-282-3094, 02-281-1406

จึงมีเส้นทางที่ใช้เดินทางไปยังตัววัดได้อย่างสะดวก วัดอินทรวิหาร mrt, วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม เดินทาง, วัดอินทรวิหาร เส้นทาง, วัดอินทรวิหาร อยู่ที่ไหน

ซึ่งการเดินทางไปยังวัดสามารถเดินทางไปได้ด้วยรถส่วนตัวและรถสาธารณะ ดังนี้

1. รถไฟใต้ดิน: สายเฉลิมรัชมงคล MRT BLUE LINE

2. รถเมล์สาธารณะที่ผ่านวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง มีดังนี้

สาย 3, 6, 9, 19, 30, 32, 33, 43, 49, 53, 64, 65, ปอ.3, ปอ.6, ปอ.17, ป.23, ปอ.33, ปอ.พ.8, ปอ.516

.

.

 วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง  นับว่าเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยพุทธศาสนิกชนสามารถเข้าไปนมัสการได้ทุกวันในช่วงเวลา 8.30 – 20.00 น. หรือจะเข้าไปในช่วงที่มีการจัดงานประจำปีที่ทางวัดจัดขึ้นก็ได้ เพราะการไปเข้าสักการะและนมัสการสิ่งศักดิ์ที่อยู่ภายในวัด ย่อมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเอง

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart