ประวัติวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และความสำคัญที่คุณต้องรู้

วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

วัดเทพศิรินทร์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของความเป็นชาติไทยมาอย่างยาวนาน 

วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับพระอารามหลวงที่มีประวัติความเป็นมาไม่ธรรมดาแห่งนี้กันมากขึ้น เชื่อว่าเมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว คุณจะต้องอยากชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยว วัดเทพศิรินทราวาส อย่างแน่นอน

วัดเทพศิรินทร์ มีกี่ศาลา <–คลิกอ่าน

วัดเทพศิรินทร์ mrt สถานีไหน <–คลิกอ่าน

ประวัติวัดเทพศิรินทร์ <–คลิกอ่าน

วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ

ประวัติความเป็นมาของวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

ประวัติวัดเทพศิรินทร์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร หรือที่หลายคนเรียกสั้น ๆ ว่า  ‘วัดเทพศิรินทร์’ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย บริเวณข้าง ๆ โรงเรียนเทพศิรินทร์และสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งเป็นย่านเก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร

 

แต่เริ่มเดิมทีพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามขึ้น เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และทรงอุทิศพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี  พระบรมราชชนนีของพระองค์ (มารดา) ของพระองค์

 

วัดเทพศิรินทร์ดำเนินการก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2419 โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ (พระองค์เจ้าชมพูนุช) เป็นผู้ออกแบบและกำกับงานก่อสร้าง 

 

กระทั่งเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ.2421 สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนาพระอริยมุนีมาจากวัดบวรนิเวศมายังวัดเทพศิรินทร์ พร้อมทั้งทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แล้วประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมา และพระราชทานนามอารามแห่งนี้ว่า วัดเทพศิรินทราวาส ตามพระนามแห่งองค์พระราชชนนี

 

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2439 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง สุสานหลวง ไว้ภายในวัด เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นฌาปนสถานสำหรับถวายพระเพลิงพระศพของเจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง

 

และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สุสานหลวงแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นที่ปลงศพของประชาชนทุกชนชั้นทุกบรรดาศักดิ์ อันนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกไปจากธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่จะไม่มีการสร้างฌาปนกิจสถานภายในพระอารามหลวง

 

เหตุนี้  วัดเทพศิรินทร์จึงดำรงสถานะเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีสุสานหลวงอยู่ภายในวัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 

วัดเทพศิรินทร์ ภาษาอังกฤษ คือ Debsirin Temple, Wat Debsirin

ของที่ระลึกงานศพ นิพพานกิฟ

 

เมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
เมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

 

YouTube video

 

สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร มีความสำคัญอย่างไร

 เนื่องจากเป็นสุสานหลวงเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในเขตพระอารามหลวง สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร จึงได้รับความสนใจจากนักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีเป็นอย่างมาก 

เนื่องจากเดิมทีแล้ว สถานที่ปลงศพหรือเมรุปูนที่สร้างขึ้นสำหรับเผาศพสามัญชนนั้นจะไม่มีการสร้างขึ้นภายในพระอารามหลวงซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์

 

แต่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างฌาปนกิจสถานสำหรับเจ้านายและพระราชวงศ์ที่ไม่ได้มีบรรดาศักดิ์สูงพอที่จะสร้างพระเมรุบริเวณทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวง ตลอดจนใช้สำหรับการปลงศพสามัญชนทั่วไป

 

จึงนับว่ามีความน่าสนใจมาก และสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกทัศน์ของชนชั้นสยามในรัชสมัยของพระองค์ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น ภายใน สุสานหลวงวัดเทพศิรินทร์ ยังประกอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพลับพลาอิสริยาภรณ์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นที่ตั้งพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ เมื่อ พ.ศ.2437 อันนับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการจัดพิธิพระราชทานเพลิงศพภายในวัดเทพศิรินทร์ นับตั้งแต่สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2421

และพลับพลาอิสริยาภรณ์ดังกล่าวก็ถูกใช้เป็นศาลาที่ประทับ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาพระราชทานเพลิงในครั้งนั้น และยังดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงพระเมรุที่ถูกใช้สำหรับประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในปี พ.ศ.2558 ด้วยเช่นกัน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสุสานหลวงอีกประการหนึ่ง คือ  ตำแหน่งที่ตั้งของสุสานหลวงนั้นจะหันไปทางทิศตะวันตก  ขณะที่ โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันนั้นหันไปทางทิศตะวันออก  ส่วนหน้าวัดเทพศิรินทร์และเขตพุทธาวาสตั้งอยู่ในส่วนกลาง

 

มีนัยยะในเชิงสัญลักษณ์เปรียบได้ดั่งชีวิตปุถุชนที่เริ่มจากวัยเยาว์ที่เริ่มศึกษาหาความรู้ วัยกลางคนที่เริ่มเข้าหาธรรมะ และไปสิ้นสุดลงที่ปัจฉิมวัยที่สุสานหลวงดุจดั่งดวงตะวันที่คล้อยต่ำลงลับขอบฟ้า

 

ความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมของวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

วัดเทพศิรินทร์ เป็นหนึ่งในพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานครที่แวดล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมอันงดงามและทรงคุณค่ามากมาย เหมาะแก่การเที่ยวชมเพื่อศึกษาความเป็นมาของสถาปัตยกรรมแต่ละชนิด ซึ่งเราได้คัดเลือกมาแนะนำให้คุณได้รู้จัก ดังนี้

 

1. พระอุโบสถ

พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทร์

ความโดดเด่นของพระอุโบสถของวัดเทพศิรินทร์ปรากฎที่สถาปัตยกรรมอันงดงามที่ถูก สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง  ไม่ว่าจะเป็นเสาพาไลขนาดใหญ่ภายนอกพระอุโบสถ หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี พื้นอุโบสถที่ปูด้วยหินอ่อน

ซุ้มประตูและหน้าต่างที่มีการสลักลวดลายปูนปั้นเป็นทรงพระมหามงกุฏกระเบื้องเคลือบ ซุ้มประตูหน้าต่างด้านมีลวดลายรูปซุ้มเครือไม้ดอกผูกล้อมตราพระเกี้ยวที่อยู่เหนือพานรองสองชั้น พร้อมช้างสามเศียรยืนบนแท่นทูนพานเครื่องสูง มีราชสีห์กับคชสีห์ประกอบเครื่องสูงทั้งสองข้างตลอดจนหน้าบันที่ประดับลวดลายเป็นรูปพระเกี้ยว ซึ่งเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่สำคัญที่สุด และเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักท่องเที่ยว คือ  การตกแต่งภายในพระอุโบสถที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นเพดานด้านในพระอุโบสถที่มีการตกแต่งด้วยลายรดน้ำ ชาด และสลักลวดลายเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5 ตระกูล มีความวิจิตรงดงามเป็นอย่างมาก และหาดูได้เพียงในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์เท่านั้น 

 

2. พระนิรันตราย

พระนิรันตรายเป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาไว้ที่วัดแห่งนี้ในปี พ.ศ.2421 ตามราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่โปรดให้สร้างถวายแก่วัดในธรรมยุตินิกายซึ่งก็คือวัดเทพศิรินทร์แห่งนี้นี่เอง

 

3. พระประธาน วัดเทพศิรินทร์

พระประธานในพระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
พระประธานในพระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนฐานชุกชี – ขอขอบคุณภาพสวยๆ จาก MGROnline.com

 

 พระประธาน วัดเทพศิรินทร์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2427  ประดิษฐานอยู่ตรงกลางปราสาทจัตุรมุข โดดเด่นด้วยสีทองอร่ามตา เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็นไปตาม ๆ กัน

 

4. พระพุทธรูปอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ

ประกอบด้วย พระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี (พระพุทธรูปยืนทรงเครื่อง ปางห้ามสมุทร สูง 1.73 เมตร) พระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ (พระพุทธรูปหล่อ ยืนทรงเครื่อง ปางห้ามพระแก่นจันทน์ สูง 1.50 เมตร) และพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่เป็นอย่างมาก

 

พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

นอกจากสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแล้ว  ภายในวัดเทพศิรินทร์ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นอุทิศให้กับพุทธศาสนาแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย 

ตัวอาคารมีลักษณะเป็นอาคารแบบตะวันตก สูง 2 ชั้น ภายในจัดแสดงพุทธประวัติ ประวัติของรัชกาลที่ 5 และวัดเทพศิรินทร์ ในรูปแบบสี่มิติ ผ่านการผสมผสานทั้งคอมพิวเตอร์กราฟฟิค แอนิเมชั่น และพรีเซ็นเทชั่น ช่วยเพิ่มความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้รับชมได้เป็นอย่างดี

โดยผู้ที่สนใจอยากเข้าชมพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา วัดเทพศิรินทร์นั้น สามารถเข้าชมได้ในวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 08:00 – 17:00 น. โดยไม่ต้องเสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด

 

YouTube video

วัดเทพศิรินทร์ทราวาสราชวรวิหาร มีพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนาสุดไฮเทค ใช้สื่อมัลติมีเดียรวมถึง 3 มิติในการเล่าเรื่องของพระพุทธเจ้า

 

YouTube video

รายการศาสตรศึกษา : ตอน พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

 

 

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร รัชกาลที่ 5 ทรงเพาะเมล็ดมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา – ขอขอบคุณภาพสวยๆ จาก MGROnline.com

 

เจ้าคุณนร วัดเทพศิรินทร์

วิหารอัฐิท่านเจ้าคุณนร
วิหารอัฐิท่านเจ้าคุณนร – ขอขอบคุณภาพสวยๆ จาก MGROnline.com

 

ประวัติท่านเจ้าคุณนรรัตน์ (ธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ)

 

YouTube video

 

โรงเรียนเทพศิรินทร์
โรงเรียนเทพศิรินทร์ — ขอขอบคุณภาพสวยๆ จาก facebook.com/Bangkokpulse/

 

แม่รำเพย

สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

We're DEBSIRIN

วัดเทพศิรินทร์ อยู่ตรงไหน

ที่ตั้ง วัดเทพศิรินทร์, วัดเทพศิรินทร์ ที่อยู่, วัดเทพศิรินทราวาส ที่อยู่ – 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100

วัดเทพศิรินทร์ เบอร์โทร – 02-621-8221  หรือ  02-221-8877

 

 

วัดเทพศิรินทราวาส แผนที่

วัดเทพศิรินทราวาส แผนที่
วัดเทพศิรินทราวาส แผนที่ – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก Debsirin.ac.th

 

วัดเทพศิรินทร์ มีกี่ศาลา

วัดเทพศิรินทร์มีทั้งหมด 16 ศาลา ดังต่อไปนี้

ศาลา 1 –  เตชะอิทธิพร

ศาลา 2 – สุวรรณศิลป์

ศาลา 3 – ห้างขายทอง 2

ศาลา 4 – ชุนกี

ศาลา 5 – สีห์โสภณ

ศาลา 6 – ห้างขายทอง 1

ศาลา 7 – เวชชาชีวะ

ศาลา 8 – จารุภัสสร์

ศาลา 9 – ภาณุรังษี

ศาลา 10 – สุพรรณานนท์

ศาลา 11 – กวี นิรมิต

ศาลา 12 – จิรกิติ

ศาลา 13 – มณเฑียร

ศาลา 14 – สุวรรณวนิชกิจ

ศาลา 15 – สหัท หงษ์ มหาคุณ

ศาลา 16 – ศรีอรทัย

.

วัดเทพศิรินทร์ การเดินทาง

การเดินทางไปยังวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร วัดเทพศิรินทร์ ไปยังไง – หากคุณต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวยังวัดเทพศิรินทร์ก็สามารถเดินทางไปง่าย ๆ ได้หลายช่องทาง ดังนี้

 

วัดเทพศิรินทร์ รถไฟฟ้า BTS

วัดเทพศิรินทร์ รถไฟฟ้า BTS – ให้ลงที่ BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ จากนั้นสามารถต่อรถประจำทางสาย 15, 47, 48, 204, ปอ.508 หรือแท็กซี่มายังวัดเทพศิรินทร์ได้โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 นาที

 

วัดเทพศิรินทร์ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

วัดเทพศิรินทร์ mrt สถานีไหน – ให้ลงที่ MRT สถานีหัวลำโพง จากนั้นให้เดินออกทางออกที่ 2 แล้วให้เรียกวินมอเตอร์ไซค์หรือจะเดินเลียบคลองไปยังวัดเทพศิรินทร์ก็ได้เช่นกัน

 

รถประจำทาง

คุณสามารถนั่งรถประจำทางสาย 15, 47, 48, ปอ.48, 53, 204, ปอ.508 มาลงที่ป้ายหน้าโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ได้เลย

 

รถยนต์ส่วนตัว

หากคุณต้องการขับรถยนต์ส่วนตัวมาเที่ยววัดเทพศิรินทร์ก็สามารถหาที่จอดรถได้ที่ลานหน้าสุสานหลวง หรือหากเป็นช่วงวันเสาร์ก็สามารถจอดที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ได้เช่นกัน

 

วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เป็นหนึ่งในพระอารามหลวงที่นอกจากจะมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่แวดล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่น วิจิตรงดงาม และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง 

ดังนั้น ผู้ที่ไม่เคยแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมวัดเทพศิรินทร์มาก่อน โดยเฉพาะพระอุโบสถที่ขึ้นชื่อในด้านความงดงาม จึงควรต้องเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิต นอกจากนั้น ยังมีพิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนาที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ เหมาะแก่การพาเด็ก ๆ เข้าไปเรียนรู้พุทธประวัตินอกสถานที่ ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ และเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับพวกเขาได้เป็นอย่างดี

 

4 Replies to “ประวัติวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และความสำคัญที่คุณต้องรู้”

  1. Pingback: หนังสือที่ระลึกงานศพ หนังสือแห่งความอาลัยรักแด่ผู้วายชนม์ | นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคา

  2. รักเทพศิรินทร์

    Reply

    19 กันยายน – สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ประสาทพุทธสุภาษิต “น สิยา โลกวฑฺฒโน – ไม่ควรเป็นคนรกโลก” เป็นคติพจน์ประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์

    เมื่อปีพ.ศ.2462 ที่ประชุมสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ มีมติจากข้อเสนอให้สภากาชาดทุกชาติควรจัดตั้งกาชาดสำหรับเด็ก โดยจัดกิจกรรมและดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ
    .
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ให้ดำรงตำแหน่งอุปนายกสภากาชาดสยาม ทรงรับหลักการจากการประชุมเมื่อปีพ.ศ.2462 ที่เสนอแนะให้กาชาดประเทศต่างๆ จัดตั้งกาชาดสำหรับเด็กขึ้น
    .
    ในที่สุด วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2465 กิจการยุวกาชาด จึงได้รับการก่อตั้งขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “อนุสภากาชาดสยาม” รับเด็กอายุ 7 – 18 ปี เข้าเป็นสมาชิก ต่อมาวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2465 เป็นปีที่ตั้งหมู่อนุสภากาชาดสยามเป็นแห่งแรกขึ้น ณ โรงเรียนราชินี โดยหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล พระอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนราชินี
    .
    สำหรับโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้มีการจัดตั้งอนุสภากาชาดสยามขึ้นในปีพ.ศ.2466 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่เปิดตัวหนังสือ “แถลงการศึกษาเทพศิรนทร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1” ในการนี้ บรรณาธิการ “หลวงสำเร็จวรรณกิจ” จึงได้น้อมนำโอวาทสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ขณะที่ยังดำรงสมณศักดิ์เป็น พระสาสนโสภณ ที่ประทานให้ไว้เมื่อพิธีการเข้ารับสมาชิกอนุสภากาชาดสยามประจำหน่วยแผนกมัธยมตอนต้น และตอนกลาง (เพิ่มเติม) โดยมีสมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี เอาไว้ในตอนต้นของเล่ม
    .
    วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2466 โรงเรียนเทพศิรินทร์จึงได้ยึดถือพุทธสุภาษิต “น สิยา โลกวฑฺฒโน” แปลว่า “ไม่ควรเป็นคนรกโลก” ไว้เป็นภาษิตประจำโรงเรียนนับแต่นั้นเป็นต้นมา
    .
    ทั้งนี้ แถลงการศึกษาเทพศิรนทร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ที่ได้ตีพิมพ์โอวาทดังกล่าว ระบุเอาไว้ว่า พิธีและการประทานโอวาท จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2466 แต่หนังสือที่คัดลอกต่อๆ กันมาในชั้นหลัง มักระบุวันที่ไว้เป็นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2466
    .
    หนังสือที่รวบรวมข้อมูลและประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในระยะแรกไม่มีการกล่าวถึงอัตลักษณ์โรงเรียนในข้อนี้ ในระยะหลังจึงเริ่มมีการกล่าวถึงไม่ว่าจะเป็น

    รบ คุณหิรัญ, “ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์,” ใน ชื่นชุมนุมครบรอบ 60 ปี, 32. อุดม ชาตบุตร, บรรณาธิการ. พระนคร : ภักดิประดิษฐ์, 2506.

    หรือ “สังเขปประวัติโรงเรียน” ใน หนังสืออนุสรณ์ประจำรุ่น 2506, ถนอม บุญบุตร และคณะ, บรรณาธิการ. พระนคร : บุญส่งการพิมพ์, 2506.
    .
    ทว่า ล้วนแล้วแต่ไม่มีการระบุวันที่และเดือนที่แน่ชัด กล่าวเพียงปีพ.ศ.2466 เท่านั้น ในปีต่อๆ มาในหนังสือต่างๆ เช่น แถลงการศึกษาเทพศิรินทร์ ชื่นชุมนุม ก็ไม่มีการกล่าวถึงวันที่และเดือนเลย ในคราวรวบรวมข้อมูลโรงเรียนครั้งใหญ่ เมื่อครบ 100 ปี เริ่มต้นจาก

    รัตนะ ยาวะประภาษ, บรรณาธิการ. 100 ปี เทพศิรินทร์ 15 มีนาคม 2428 – 2528. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ประกายพรึก, 2528.

    และ สุรพันธ์ ปานผา, บรรณาธิการ. 108 ปี โรงเรียนเทพศิรินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค, 2536.

    นับจากการฉลองอายุโรงเรียน 100 ปี และ 108 ปี จึงเริ่มระบุวันที่และเดือน แต่กลับเขียนวันที่ว่า 16 กันยายน 2466 และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของโรงเรียนก็ได้ยึดถือกันมานับจากนั้น
    .
    ในโอกาสนี้ เพจบันทึกเทพศิรินทร์จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ให้เปลี่ยนความรับรู้ความเข้าใจ มาใช้ข้อมูลที่แท้จริง คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ประสาทพุทธสุภาษิต “น สิยา โลกวฑฺฒโน” ให้เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2466 และบัดนี้เป็นเวลา 98 ปีแล้ว
    .

  3. วัดเทพศิรินทราวาส

    Reply

    วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนี พระราชทานนามว่า วัดเทพศิรินทราวาส

    พระอุโบสถเป็นอาคารทรงไทย ขนาด ๗ ห้อง หน้าบันเป็นแบบกระเท่เซร ก่ออิฐถือปูนไม่มีไขราหน้าจั่ว ประด้วยกระเบื้องเคลือบเลียนแบบเครื่องลำยองสถาปัตยกรรมไทย ภายในมีฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน มีลักษณะเป็นชุกชีฐานสิงห์ย่อมุมไม้สิบสอง รองรับพระเบญจาตั้งปราสาทจตุรมุขยอดมณฑป เพดานเป็นไม้จำหลักลายเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ

    พระเบญจานี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระเบญจาซึ่งประดิษฐานพระโกศทรงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ เฉพาะชั้นกลางและชั้นบนมาประดิษฐานพระประธานและพระอัครสาวกในพระอุโบสถพระอารามนี้

    เผยแพร่เป็นวิทยาทานโดย #พิกุลบรรณศาลา
    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0E5igSstXuyemVz6zUtrU7SztAZ1NmsPXdgJ1omiKZNJwDj4sudFKf3sXfPuGwH5Dl&id=100079051667801

  4. ktEWJxPgTFU

    Reply

    BkpdMHLt

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only