Author Archives: นิพพานกิฟ

ขวัญคืออะไร มาจากไหน และความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณที่ควรรู้

ขวัญคืออะไร มาจากไหน และความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณที่ควรรู้

ขวัญคืออะไร – ขวัญของคน เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณหลายพันปีมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีความเชื่อเรื่องขวัญอยู่บ้าง โดยจะเห็นได้จากความเชื่อเรื่องขวัญบนหัวนั่นเอง โดยขวัญคืออะไร มาจากไหน และมีความเชื่อเกี่ยวกับขวัญและวิญญาณอย่างไร เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจกัน นิพพานกิฟ ของชำร่วย ราคาโรงงาน ราคาถูก ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิง ราคาส่ง     ขวัญ คืออะไร ตามความเชื่อของคนโบราณในอุษาคเนย์ เชื่อกันว่า  นั่นหมายความว่าขวัญอาจหนีหายไปเมื่อไหร่ก็ได้ หรือบางครั้งอาจไปเที่ยวเล่นและหลงทางจนหาทางกลับสู่ร่างไม่ได้ก็มี โดยเมื่อคนมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือตาย ก็จะเชื่อกันว่าเป็นเพราะขวัญหายนั่นเอง และนอกจากขวัญของคนแล้ว ก็ยังเชื่อว่ามีขวัญอื่นๆ อีกด้วย เช่น ขวัญสัตว์ ขวัญอาคารสถานที่ และขวัญสิ่งของเครื่องใช้ เป็นต้น   ขวัญมาจากที่ใด   ซึ่งบางกลุ่มชนก็เชื่อว่าคนเรามีขวัญทั้งหมด 80 ขวัญ โดยกระจายอยู่ด้านหน้า 30 ขวัญและด้านหลังอีก 50 ขวัญ ที่สำคัญขวัญจะคอยกำกับและควบคุมคน จึงเป็นที่มาของความเชื่อที่ว่าหากขวัญหายไปบางส่วน คนนั้นจะมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย และหากขวัญหายออกไปจากร่างทั้งหมด คนนั้นก็จะตายนั่นเอง   สำหรับขวัญที่หายออกไปจากร่างก็จะเรียกว่าผีขวัญ

ของชำร่วยงานศพ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ

ของชำร่วยงานศพ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ

  2.เลือกของชำร่วยที่มีราคาเหมาะสม ราคาของชำร่วยถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงเป็นลำดับต้นๆ เพราะในงานศพหนึ่งงานนั้น อาจจะต้องใช้ทุนมากในการจัดการส่วนต่างๆ เช่น โลงศพและอาหาร ซึ่งหากเกิดคุณไม่สามารถกำหนดงบประมาณของชำร่วยให้อยู่ในงบที่กำหนดได้ ก็อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย ดังนั้น เจ้าภาพจำเป็นจะต้องประเมินจำนวนแขกที่มาร่วมงานคร่าวๆ แล้วตีราคาสำหรับการเลือกซื้อของชำร่วยเอาไว้ให้ครอบคลุม เพื่อให้สามารถเลือกซื้อของชำร่วยที่มีราคาสอดคล้องกับงบประมาณที่คุณมี   3. เลือกของชำร่วยที่ไม่แสดงออกถึงความเศร้าโศกมากเกินไป ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป   เพราะบรรดาแขกเหรื่อที่มาร่วมงานอาจจะต้องการของชำร่วยที่มีความสร้างสรรค์หรือได้รับแล้วรู้สึกได้ถึงความจรรโลงใจ และระลึกถึงผู้เสียชีวิตในด้านที่ดีๆ   ซึ่งคุณอาจจะเลือกของชำร่วยที่มีการออกแบบ และสไตล์ที่มีสีสัน ไม่เน้นขาวดำ หรือสิ่งที่เป็นเครื่องแสดงออกถึงความสะเทือนใจมากเกินไป โดยเจ้าภาพอาจจะปรับแต่งตามความเหมาะสม เพื่อให้เหมาะสำหรับการมอบให้ทั้งแขกที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กที่มาร่วมงาน   4. เลือกของที่มีความทนทาน แข็งแรง แม้จะต้องจำกัดงบประมาณในการเลือกของชำร่วยให้มีราคาที่ไม่สูงเกินไป แต่ของที่ระลึกงานฌาปนกิจที่นำมาแจกจ่ายในงานก็จะต้องมีคุณภาพ และผลิตจากวัสดุชั้นดีด้วย โดยคุณจำเป็นต้องเลือกของชำร่วยที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ชำรุด หรือแตกหักง่าย ซึ่งของชำร่วยบางชิ้น หากแขกเหรื่อได้รับไปแล้วเกิดเปราะบาง แตกหักง่าย ก็อาจจะทำให้ผู้รับรู้สึกไม่สบายใจได้ ดังนั้น เจ้าภาพจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงวัสดุที่นำมาใช้ผลิตของชำร่วยเป็นหลักว่าแข็งแรง ทนทานเพียงพอหรือไม่   5. เลือกของชำร่วยที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด การเลือกของชำร่วยงานศพ เจ้าภาพควรเลือกของชนิดที่สามารถนำไปใช้งานจริงได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เกิดความประทับใจต่อตัวผู้รับ และไม่ถูกนำไปทิ้งขว้าง โดยอาจจะเลือกเป็นภาชนะสักชิ้น เช่น

วันพระ วันโกน สำคัญอย่างไร มีข้อควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง

วันพระ สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน หากกล่าวถึง วันพระ วันโกน แล้วย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งวันพระ วันโกนนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับพระสงฆ์ เช่นเดียวกับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ถึงแม้ วันโกนจะไม่มีระบุในปฏิทิน แต่เมื่อดูก็สามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นวันไหน ดังนั้น เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับความสำคัญของ วันโกน วันพระ วันธรรมสวนะ และข้อควรปฏิบัติในวันดังกล่าว เพื่อความถูกต้อง และยังเป็นการเสริมบุญบารมีให้แก่ตนเองอีกด้วย   วันพระคือ วันพระคือวันอะไร วันพระคืออะไร วันพระคือวันไหน – วันพระ คือ วันธรรมะสวนะ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อนุญาตให้พระสงฆ์ในพุทธศาสนาสามารถทำการประชุม รวมตัวเพื่อสนทนาธรรม และเทศนาธรรมให้กับพุทธศาสนิกชนและคนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพระธรรมในพระพุทธศาสนา วันธรรมะสวนะ มาจากคำว่า “สวนะ” แปลว่า การฟัง และคำว่า “ธรรมสวนะ” แปลว่า การฟังธรรม วันฟังธรรม หรือที่เรียกทั่วไปว่า “วันพระ” โดยความหมายของวันพระ คือ การเรียกพระภิกษุที่มารวมตัวกันมากกว่า 4 รูป ขึ้นไป จัดเป็นหมู่คณะ วันพระตามปฏิทินไทยจะตรงกับวันแรม 8 ค่ำ

ผ้าไตรจีวร คืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

ผ้าไตรจีวร การทำบุญด้วย ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร นับเป็นการทำบุญที่สร้างกุศลให้กับผู้ที่ได้ถวายเป็นอย่างดียิ่ง แต่รู้หรือไม่ว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น พระสงฆ์มิได้ใช้ผ้าไตรเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับพระสงฆ์ และความสำคัญของผ้าไตร คืออะไร วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับผ้าไตรจีวรในพระพุทธศาสนา ให้มากขึ้นกันค่ะ นิพพานกิฟ ของชำร่วย จำหน่ายของชำร่วย ราคาส่ง ราคาถูก Snack Box งานศพ อาหารว่างงานศพ ของชำร่วยงานศพ ของชําร่วยงานฌาปนกิจ   ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าไตร คือ – ผ้าไตรหรือผ้าไตรจีวร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้ในการนุ่งหรือครอง เพื่อปกปิดร่างกาย ซึ่งผ้าไตรนี้เป็นเครื่องนุ่งห่มที่มีความสำคัญมากของพระสงฆ์ มีลักษณะเป็นผ้าเหลือง พุทธศาสนิกชนมักเรียกติดปากว่า “ผ้าไตรจีวร” หรือ “ผ้าจีวร” การที่เรียกว่า “ผ้าไตร” มาจาก ไตรที่แปลว่า “สาม” เพราะชุดผ้าไตรที่พระสงฆ์ใช้ประกอบด้วยผ้าจำนวน 3 ชิ้น คือ จีวร สบงและสังฆาฏิ โดย ไตรจีวร เป็นปัจจัยพื้นฐานหรือบริขารของพระสงฆ์ที่มีความจำเป็น 1

วัดหลวงพ่อโสธร วัดศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองแปดริ้ว ศูนย์รวมใจของชาวพุทธ

วัดหลวงพ่อโสธร พระอารามหลวงที่สำคัญในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง ซึ่งหากจะพูดถึง หนึ่งในนั้นจะต้องนึกถึง วัดหลวงพ่อโสธร หรือ วัดโสธรวรารามวรวิหาร โดย วัดหลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา เป็นวัดซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธากันอย่างมากของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับพระอารามหลวงที่มีความสำคัญอย่างมากแห่งนี้กัน โดยวัดนี้มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นวัดที่มีความสวยงามทางศิลปะและสถาปัตยกรรมอย่างสูงที่หากใครมีโอกาสก็ควรไปเยือนกันให้ได้สักครั้ง นิพพานกิฟ ของชำร่วย ร้านของชำร่วยออนไลน์ สเปรย์ แอลกอฮอล์ ของชําร่วย จัดส่งทั่วไทย ส่งไว ส่งด่วน snack box งานศพ ราคาถูก คุ้มค่า   ประวัติ วัดหลวงพ่อโสธร ประวัติความเป็นมาของวัดหลวงพ่อโสธร – วัดหลวงพ่อโสธร หรือ  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งที่ตั้งของวัดนั้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ทำให้มีเรื่องเล่าถึงที่มาของพระพุทธรูปในวัดที่ลอยมาตามน้ำ ซึ่งจะขยายความเรื่องนี้ให้ทราบในเนื้อหาถัดไป   วัดหลวงพ่อโสธร เดิมมีชื่อว่า   กล่าวกันว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยช่างฝีมือชาวมอญ ซึ่งเหตุที่มีการเรียกกันว่าวัดหงส์นั้น เนื่องจากแต่เดิมวัดมีเสาสูงที่ปลายเสาเป็นรูปหงส์ตั้งอยู่ที่เป็นจุดสังเกต ทำให้ชาวบ้านเรียกชื่อวัดตามเสาหงส์ดังกล่าว แต่ต่อมาเสาหงส์นี้ก็ได้ถูกลมพายุใหญ่พัดเอาหงส์ที่อยู่บนยอดหักลงมา ชาวบ้านจึงนำผ้าขึ้นไปผูกไว้ที่บริเวณยอดของเสาธงแทน

ฆ่าสุนัขฝังไปกับศพ เชื่อว่าสุนัขจะนำทางคนตายไปเมืองฟ้า

ฆ่าสุนัขฝังไปกับศพ เชื่อว่าสุนัขจะนำทางคนตายไปเมืองฟ้า

งานศพยุคแรกอุษาคเนย์ (ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้) ความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของหมาดำรงอยู่คู่อารยธรรมนุษย์มาอย่างยาวนานหลายพันปี หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าในอดีตมนุษย์เคารพบูชาหมาในฐานะผู้ให้กำเนิด และมีอำนาจพิเศษในการนำทางมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยเหตุนี้      หมาพาคนตายไปเมืองฟ้า ความเชื่อที่มีอยู่จริง ความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศไทยหลายแห่ง อาทิ การพบโครงกระดูกหมาในหลุมฝังศพคนในพื้นที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.สกลนคร และบ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เป็นต้น   นอกจากนั้น ยังมีการค้นพบ ภาพเขียนรูปหมาบนเพิงผาและผนังถ้ำแสดงผีขวัญบรรพชนในถ้ำหลายพื้นที่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขาจันทน์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา, ภูปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี และถ้ำผาลายแทง อ.ภูกระดึง จ.เลย   ทั้งนี้ ความเชื่อว่าหมาเป็นตัวกลางเชื่อมโยงโลกมนุษย์เข้ากับโลกศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏผ่านตำนานและพิธีกรรมของกลุ่มไทดำ ไทแถง ไมเมือง และจ้วง โดยเฉพาะพิธีส่งผีขวัญหรือคนตายขึ้นฟ้า ซึ่งปรากฎว่าหมาเป็นสัญลักษณ์ของพลังวิเศษที่สามารถนำทางวิญญาณของมนุษย์ไปยังภพภูมิอื่นได้     บทความ ‘บทบาทของหมาในตำนานและพิธีกรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอุษาคเนย์’ ของ รศ.ดร.ปฐม หงส์สุวรรณ ผอ. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ม.มหาสารคาม พบว่า

เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกฝังกับศพในยุคดึกดำบรรพ์

เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกฝังกับศพในยุคดึกดำบรรพ์

การฝังศพพร้อมกับภาชนะดินเผา และข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ เป็นรูปแบบที่นักโบราณคดีได้ค้นพบว่ามีลักษณะร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์) มาแต่โบราณกาล ซึ่งการฝังเครื่องมือเครื่องใช้พร้อมกับศพ เป็นรูปแบบพิธีกรรมปลงศพที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า มีความเกี่ยวพันกับชีวิตหลังความตายของผู้คนในภูมิภาคดังกล่าว รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเราจะพาคุณไปหาคำตอบกันว่าเหตุใดจึงต้องมีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ไปพร้อมกับศพ และทำไมรูปแบบดังกล่าวจึงพบได้ทั่วไปในพื้นที่ภูมิภาคนี้   พิธีกรรมการฝังศพในยุคดึกดำบรรพ์ หลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย มีการขุดพบข้าวของเครื่องใช้ และเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากที่ภายในบรรจุกระดูกของผู้วายชนม์ บ่งชี้ว่าพิธีกรรมการฝังศพ (Mortuary Practice) ในภูมิภาคนี้มีลักษณะร่วมกัน นั่นคือ มีรูปแบบการจัดการศพ จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่   1. การฝังศพครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการฝังร่างของผู้ล่วงลับลงไปในดินร่วมกับข้าวของเครื่องใช้หรือไม่ก็ได้   2. การฝังศพครั้งที่ 2 เป็นการขุดร่างที่ฝังครั้งแรกขึ้นมา เพื่อเก็บกระดูกที่หลงเหลือจากการย่อยสลาย เพื่อนำไปบรรจุลงในภาชนะเครื่องปั้นดินเผา แล้วนำไปฝังดินอีกครั้ง และ   3. การจัดการศพแบบใหม่ ไม่พึ่งการฝังศพอีกต่อไป   และพิธีกรรมดังกล่าวก็ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ เหลือไว้เพียงหลักฐานทางโบราณคดีที่ยังถูกขุดพบเจอภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่บรรจุกระดูกคนตายอยู่เรื่อย ๆ ในปัจจุบัน  

หนังสือที่ระลึกงานศพ หนังสือแห่งความอาลัยรักแด่ผู้วายชนม์

หนังสืองานศพ หนังสือที่ระลึกงานศพ หนังสือแห่งความอาลัยรักแด่ผู้วายชนม์

หนังสืองานศพ เป็นหนังสือที่ทำแจกในงานพิธีศพที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งชื่อเรียกของหนังสืออาจเรียกขานต่างกันไป เช่น หนังสือที่ระลึกงานศพ, หนังสือที่ระลึกงานศพ, หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ, หนังสืออนุสรณ์งานศพ หรือหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจ เป็นต้น แต่โดยรวมแล้วก็มีความหมายเดียวกัน คือ นั่นเอง นิพพานกิฟ ที่ระลึกงานฌาปนกิจ ของชำร่วยงานศพ ของชําร่วยงานฌาปนกิจ ราคาประหยัด จัดส่งรวดเร็ว   ประวัติความเป็นมาของหนังสือที่ระลึกงานศพ   แต่ความเป็นจริงแล้ว หนังสือนี้ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)   โดยมีการแจกหนังสือที่ระลึกงานศพในพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี ที่จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกงานศพแจกในงานพิธีศพ ซึ่งหนังสือที่ระลึกงานศพที่จัดพิมพ์ครั้งนี้ เป็นหนังสือ สาราทานปริยายกถามรรค ที่ประกอบไปด้วยบทสวดมนต์หลวงจำนวนความหนาประมาณ 300 หน้า โดยมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพทำหน้าที่เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ และหนังสือที่ระลึกงานศพเล่มนี้ได้ทำการจารตัวอักษรลงในใบลานจำนวน 10,000 เล่ม เพื่อทำการพระราชทานแก่วัดที่อยู่ทั่วราชอาณาจักร   ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org   หลังจากนั้นจึงได้มีการแจกหนังสือที่ระลึกงานศพต่อมา โดยในช่วงรัชกาลที่ ๕

เผาหลอก เผาจริง ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

เผาหลอก เผาจริง ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

ปัจจุบันนี้ การเผาหลอก เผาจริง เป็นขั้นตอนพิธีศพที่นำมาปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในเมืองใหญ่และในพื้นที่ต่างจังหวัด   ทว่าหลายคนยังมีข้อสงสัยถึงการเผาหลอก เผาจริง ที่ปฏิบัติกันนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และทำไมถึงต้องมีการเผาหลอกในพิธีศพ เหตุใดจึงไม่ทำการเผาจริงหลังจากการวางดอกไม้จันทน์เสร็จสิ้นแล้ว   ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการเผาหลอก เผาจริง ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรและทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดกัน   ประวัติของการเผาหลอก เผาจริง การเผาศพคนตายเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางอินเดีย ถึงแม้ว่าจะมีความนิยมในการเผาศพก็ตาม   พิธีการเผาหลอก เผาจริง ธรรมเนียมโบราณตั้งเเต่สมัย รัชกาลที่5   โดยการเผาศพเป็นความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์-พุทธ ที่เชื่อว่าการตาย หมายถึง การหลุดพ้นและการไม่มีอัตตาหรือการไม่ยึดติดกับทุกสิ่ง และเพื่อไม่ให้ดวงวิญญาณของผู้ตายเกิดการยึดติดกับร่างกายและสิ่งที่เคยมีอยู่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ จึงต้องทำการเผาศพเพื่อไม่ให้หลงเหลือสิ่งที่จะใช้ยึดเหนี่ยว ของที่ระลึกงานศพ ดังนั้น เมื่อมีคนตายเกิดขึ้น ญาติจะทำการเผาศพของผู้ตายและนำอัฐิไปลอยแม่น้ำ (ลอยอังคาร) ซึ่งจะลอยในแม่น้ำคงคาตามความเชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถชำระล้างได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่บาปกรรมที่คนผู้นั้นได้เคยกระทำไว้ครั้งยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นการลอยอัฐิของผู้ตายไปตามแม่น้ำ ยังทำเพื่อให้วิญญาณของผู้ตายได้หลุดพ้น ซึ่งความเชื่อเรื่องนี้ได้แพร่เข้ามาพร้อมกับหลักศาสนาพราหมณ์-พุทธ ทำให้คนไทยเริ่มมีการเผาศพแทนการฝังศพ   ข้อมูลเพิ่มเติม: ประวัติการฝังและเผาศพ   การเผาศพในสมัยก่อนยังไม่มีการสร้างเมรุแบบถาวรเหมือนในปัจจุบันนี้ หากต้องการเผาศพจะทำการสร้าง เมรุลอย หรือ เมรุชั่วคราว ด้วยการนำไม้มาต่อกันเป็นชั้น ๆ เรียกว่า

งานฌาปนกิจ พิธีแบบไทย

งานฌาปนกิจคืออะไร งานศพไทย ความสำคัญของงานฌาปนกิจ พร้อมขั้นตอนการทำพิธีแบบไทย

  ข้อมูลเพิ่มเติม ของชำร่วยงานศพ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสม ถูกกาลเทศะ   นอกจากของที่ระลึกงานฌาปนกิจแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีศพ และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมา คือ พวงหรีด เพื่อเป็นการแสดงถึงความอาลัยที่ผู้มอบพวงหรีดนั้นมีต่อผู้เสียชีวิต   6. การเก็บกระดูกหลังจากฌาปนกิจและลอยอังคาร เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่มีการมาแต่โบราณ ในการเก็บกระดูกหรืออัฐิของผู้ล่วงลับเอาไว้ หลังร่างกายหรือสังขารของผู้ล่วงลับกลายเป็นเถ้าฐาน เพื่อนำไปลอยอังคาร การลอยอังคาร เป็นการบอกแก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย ถึงการละสังขารที่แท้จริงไปสู่ภพภูมิใหม่ ซึ่งญาติพี่น้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ ก็จะนำเอาอัฐิไปโปรยในแหล่งน้ำกว้างใหญ่ เพื่อให้ลมพัดปัดเป่าดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สุคติ   การลอยอังคาร เป็นการนำเถ้ากระดูกและเถ้าของสิ่งของที่นำมาใช้ในการฌาปนกิจ นำไปลอยในแม่น้ำ เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ให้อยู่อย่างร่มเย็น ประดุจดั่งสายน้ำที่เย็นชื่นใจทุกเมื่อที่ได้สัมผัส โดยมีสถานที่หลายแห่งที่ได้รับความนิยมในการจัดพิธีลอยอังคาร เช่น กองทัพเรือ ฐานทัพเรือสัตหีบ, การลอยอังคาร วัดหลวงพ่อโสธร, ลอยอังคาร ท่าเรือปากเกร็ด เป็นต้น   การลอยอังคาร เป็นพิธีที่เสร็จสิ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง นิยมทำต่อจากพิธีเก็บกระดูก   โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะมีการเก็บอัฐิบางส่วนของผู้ล่วงลับเอาไว้เพื่อทำบุญ และไว้เพื่อระลึกถึงในวัดหรือโบสถ์ด้วย     พิธีฌาปนกิจนั้น จัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับ ที่ปฏิบัติสืบทอดมาจนกลายเป็นประเพณีและธรรมเนียม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart