พิธีเก็บกระดูก พิธีเก็บอัฐิ ขั้นตอนและความเชื่อ

พิธีเก็บกระดูก พิธีเก็บอัฐิ ขั้นตอนและความเชื่อ

พิธีเก็บกระดูก – เมื่อจบขั้นตอนการฌาปนกิจศพ ถือว่างานศพที่จัดขึ้นได้เดินทางมาถึงครึ่งทางของการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายแล้ว และต่อจากนี้ก็มีอีก 2 พิธีที่ต้องทำให้แก่ผู้เสียชีวิต คือ พิธีเก็บอัฐิ และ การลอยอังคาร ‘เก็บกระดูก ลอยอังคาร’ โดย การเก็บกระดูกหลังเผา จะเป็นขั้นตอนต่อเนื่องที่เกิดขึ้นหลังจากการฌาปนกิจศพเสร็จสิ้นแล้ว

ซึ่ง เจ้าภาพจะต้องทำการเก็บกระดูกที่เหลือ เพื่อนำมาทำการเรียงกระดูกและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายต่อไป 

เก็บกระดูก เตรียมอะไรบ้าง <–คลิกอ่าน

ขั้นตอนการเก็บกระดูก <–คลิกอ่าน

วันเก็บกระดูก <–คลิกอ่าน

เก็บกระดูกกี่โมง <–คลิกอ่าน

เก็บกระดูกพ่อแม่ไว้ที่บ้านได้ไหม <–คลิกอ่าน

ของที่ระลึกงานฌาปนกิจ snack box งานศพ ราคาถูก ส่งด่วน ส่งไว

พิธีเก็บกระดูก พิธีเก็บอัฐิ ขั้นตอนและความเชื่อ

 

ประวัติพิธีการเก็บกระดูก

พิธีการเก็บกระดูก (Bone collecting ceremony) – การเก็บกระดูกผู้ตายตามประวัติศาสตร์ราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการเก็บกระดูกของผู้ตายเกิดขึ้นแล้ว โดยการเก็บกระดูกจะเกิดขึ้นในช่วงการฝังครั้งที่ 2 เพราะคนในยุคนั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับคนที่เพิ่งหมดลมหายใจว่าคนเหล่านั้นยังไม่ได้ตาย แต่ว่าขวัญที่อยู่ในร่างกายนั้นหลุดออกจากร่าง ซึ่งหากสามารถทำการเรียกขวัญกลับมาเข้าร่างได้ คนผู้นั้นก็จะตื่นขึ้นมา

 

ดังนั้น เมื่อมีผู้ที่หยุดหายใจ ญาติหรือคนใกล้ชิดจะยังไม่ทำการฝังศพในทันที แต่จะนำศพมาวางไว้ที่บ้านหรือที่โลง และทำเสียงดังมาก ๆ ด้วยการร้องหรือเล่นเครื่องดนตรีเพื่อให้เกิดเสียงดัง (เครื่องประโคม และดนตรีประโคมงานศพ) ตามความเชื่อที่ว่าเสียงดังนี้จะทำให้ขวัญหาร่างเจอและกลับเข้าร่างได้ ส่งผลให้คนที่หยุดหายใจฟื้นขึ้นมานั่นเอง ซึ่งเสียงดังที่ทำเพื่อเรียกขวัญในอดีต ก็คือ เสียงปีพาทย์หรือการรำหน้าศพในปัจจุบันนั่นเอง

 

โดยการเรียกขวัญจะทำอย่างต่อเนื่อง 5-7 วัน แต่หากขวัญยังไม่กลับเข้าร่าง ญาติก็จะนำร่างผู้ตายไปฝังดินไว้ โดยการฝังในรอบแรกนี้จะทำการฝังอย่างน้อย 1-2 ปีขึ้นไป เพื่อให้เนื้อหนังของผู้ตายเกิดการย่อยสลายและหลุดออกจากกระดูกตามธรรมชาติ ทางญาติจึงจะทำการขุดกระดูกของผู้ตายขึ้นมาทำความสะอาด และจัดเก็บโครงกระดูกที่ยังหลงเหลือใส่ไว้ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ และนำไปวางรวมร่วมกับกระดูกของผู้ตายคนอื่น ๆ ในสถานที่จัดเตรียมไว้สำหรับเก็บกระดูกหรือสุสานนั่นเอง

 

พิธีเก็บกระดูก ภาษาอังกฤษ, พิธีเก็บอัฐิ ภาษาอังกฤษ คือ Bone Collecting Ceremony

 

จะเห็นว่าการเก็บกระดูกเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังมีพิธีกรรมเก็บกระดูกอยู่เช่นเดิม แม้ว่าต่อมาการปลงศพจะเปลี่ยนจากการฝังมาเป็นการเผาแทนก็ตาม ซึ่งขั้นตอนในการเก็บกระดูกหลังเผาได้มีเปลี่ยนแปลงตามความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น

จุดประสงค์ของการเก็บกระดูกก็เพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ตายให้ไปสู่สุขคติเหมือนกัน

 

ครอบครัวเก็บอัฐิ จ่าแซม เตรียมเปิดให้กราบไหว้ในฐานะวีรบุรุษถ้ำหลวง
ครอบครัวเก็บอัฐิ จ่าแซม เตรียมเปิดให้กราบไหว้ในฐานะวีรบุรุษถ้ำหลวง – ขอบคุณรูปภาพจาก Khaosod.co.th

.

วันเก็บกระดูก

พิธีเก็บกระดูกที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน วันเก็บกระดูกสามารถแบ่งออกเป็นหลัก ๆ ได้ 2 แบบ คือ

 

1. แบบที่เก็บวันเดียวกับวันฌาปนกิจ

คือ การเก็บกระดูกภายในวันเดียวกับวันที่จัดพิธีฌาปนกิจ โดยเจ้าภาพจะทำการเก็บกระดูกหลังจากที่ทำการเผาเสร็จแล้ว เช่น เผาเช้าเก็บกระดูกเย็น หรือเผาบ่ายเก็บกระดูกค่ำ ๆ เป็นต้น

 

2. แบบที่เก็บกระดูกในวันรุ่งขึ้น

คือ การเก็บกระดูกในรุ่งเช้าของอีกวัน หลังจากที่ทำการฌาปนกิจศพหรือหลังจากที่ทำการฌาปนกิจศพผ่านไปแล้ว 3- 7 วัน ได้เช่นกัน แต่ใน ปัจจุบันการเก็บกระดูกหลังวันฌาปนกิจศพจะทำในรุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้นเป็นส่วนใหญ่ 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่จะทำพิธีเก็บกระดูกแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพนั่นเอง ซึ่ง เจ้าภาพจะต้องทำการแจ้งให้กับทางวัดและสัปเหร่อทราบล่วงหน้า เพื่อที่สัปเหร่อและพระสงฆ์จะได้เตรียมตัวเพื่อมาพิธีได้อย่างตรงเวลา  ซึ่งเจ้าภาพเองก็ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์สิ่งของที่จำเป็นในการเก็บกระดูกหลังเผาให้พร้อมด้วย

 

เก็บกระดูกกี่โมง

เก็บอัฐิกี่โมง สามารถเก็บกระดูกได้ 2 ช่วงเวลา กล่าวคือ ตอนเย็นวันเผา หรือ รุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น

 

เก็บกระดูก เตรียมอะไรบ้าง

สิ่งที่ต้องเตรียมในพิธีเก็บกระดูก, การเก็บกระดูกหลังเผา, เก็บกระดูกใช้อะไรบ้าง, เก็บอัฐิ ใช้อะไรบ้าง – เจ้าภาพจะต้องทำการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เพื่อที่พิธีการจะได้สมบูรณ์ตามหลักประเพณี ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมในพิธีเก็บกระดูกมีดังนี้

  • 1. โกศ ที่ใช้ในการใส่อัฐิและอังคาร(ขี้เถ้า) ที่เหลืออยู่
  • 2. กล่องสำหรับใส่อัฐิที่ทำการเก็บมาที่เรียกว่า “ลุ้ง” หรือจะใช้เป็นหีบไม้***
  • 3. ผ้าขาวสำหรับห่อลุ้งหรือหีบไม้ที่มีอัฐิบรรจุอยู่ภายใน
  • 4. ผ้าบังสุกุล สำหรับทอดบังสุกุลก่อนเก็บอัฐิ
  • 5. สำรับอาหารคาวหวาน สำหรับถวายพระ
  • 6. น้ำอบไทย
  • 7. ดอกไม้ เงินเหรียญ สำหรับใช้ในการโรยบนอัฐิ
  • 8. ดอกไม้ธูปเทียน เครื่องไทยธรรมตามจำนวนพระที่เข้ามาร่วมพิธีสวดในวันเก็บอัฐิ

ที่กล่าวมานี้เป็นอุปกรณ์ที่เจ้าภาพจะต้องทำการเตรียมไว้สำหรับใช้ในพิธีเก็บกระดูก

 

***ลุ้ง (ลุ้งใส่อัฐิ, ลุ้งลอยอังคาร) เป็นภาชนะดินปั้น ทำจากดินเหนียวล้วนๆ ไม่ผสมปูน ขึ้นรูปเป็นโถ ไม่ผ่านการเผาใดๆ ทำให้สามารถละลายน้ำได้ดี ใช้สำหรับบรรจุอัฐิ และห่อด้วยผ้าขาวอีกชั้น เพื่อนำไปลอยยังแม่น้ำ (ที่นิยมใช้ลุ้ง เนื่องจากการนำอัฐิห่อด้วยผ้าขาวเพื่อนำไปลอยอังคาร ดูไม่ค่อยเรียบร้อย เหมาะสม สักเท่าไหร่)

ลุ้ง
ลุ้ง – ขอบคุณรูปภาพจาก เพจ เรือลอยอังคารปากอ่าว

.

พิธีกรรมก่อนเก็บอัฐิ (YouTube)

YouTube video

 

พิธีเก็บอัฐิ (YouTube)

YouTube video

.

ขั้นตอนการเก็บกระดูก

สำหรับขั้นตอนในการเก็บกระดูกหรือพิธีเก็บกระดูกนั้น จะมีด้วยกัน 8 ขั้นตอน ดังนี้

 

1. ขั้นตอนการเก็บกระดูกในอดีตจะมีการทำพิธีที่เรียกว่า “ สามหาบ ” ก่อนที่จะขึ้นไปทำการเก็บอัฐิได้

สามหาบ คือ การให้คน 3 คน ทำการหาบของที่ประกอบด้วยอาหารคาวหวานและเครื่องไทยธรรมสำหรับถวายพระ โดยคนหามเมื่อมาถึงบริเวณที่ทำการฌาปนกิจศพ จะต้องเดินเวียนรอบเชิงตะกอน 3 รอบ พร้อมทั้งตะโกนเสียงดังต่อ ๆ กัน

การที่ตะโกนมีความเชื่อว่าจะทำให้วิญญาณของผู้ตายได้ยินและมารับส่วนกุศลที่ทำบุญอุทิศให้ หลังจากที่ทำการเก็บอัฐิเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การตะโกนก็เพื่อส่งสัญญาณให้คนที่เดินตามมาข้างหลังรู้ว่าเชิงตะกอนอยู่ที่ไหน เพราะในสมัยก่อนการเผาศพจะไปเผากลางป่าลึกหรือพื้นที่ห่างไกล ทำให้บางครั้งคนที่เดินทางมาด้วยกันอาจพลัดหลงกันได้ จึงต้องทำการส่งเสียงเรียกเพื่อบอกว่ารู้ว่าอยู่ตรงไหนกันแล้ว

แต่ในปัจจุบันนี้การเผาศพจัดขึ้นที่เมรุในวัดที่มีพื้นที่กว้างขวาง ทำให้การเดินสามหาบไม่จำเป็นอีกต่อไป จึงไม่ค่อยมีพิธีนี้จัดขึ้นให้เห็นมากนัก

 

2. เมื่อได้เวลาที่เจ้าภาพกำหนด สัปเหร่อจะเข้ามาทำการเก็บกระดูกของผู้ตายมาเรียงเป็นรูปตัวคน  โดยศีรษะของตัวคนที่นำมาเรียงจะต้องหันไปทางทิศตะวันตก 

 

3. เชิญพระสงฆ์ขึ้นมาทำพิจารณาผ้า โดยการพาดผ้าบังสุกุลกับกระดูกของผู้ตาย และให้พระสงฆ์ขึ้นมาทำการพิจารณาผ้าด้วยคำพิจารณา “บังสุกุลตาย”

 

4. สัปเหร่อทำการหมุนหัวของตัวคนที่เรียงจากกระดูกผู้ตาย ให้หันไปทางทิศตะวันออก ซึ่งในช่วงนี้เจ้าภาพจะต้องนำน้ำอบไทย ดอกไม้ เหรียญเงิน มาวางลงบนกระดูกที่ทำการเรียง ตามความเชื่อว่า น้ำอบ แทนความหอมสดชื่น ดอกไม้แทนความงดงาม และเหรียญเงินแทนความร่ำรวย เพื่อที่เมื่อไปเกิดในชาติภพใหม่ ผู้ตายจะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ร่ำรวยต่อไป

 

พิธีเก็บอัฐิธาตุ 'พระคุณเจ้า หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต'
พิธีเก็บอัฐิธาตุ ‘พระคุณเจ้า หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต’ – ขอบคุณรูปภาพจาก PPTV และ Postjung.com

 

5. เชิญพระสงฆ์ขึ้นมาทำพิจารณาผ้า โดยการพาดผ้าบังสุกุลกับกระดูกของผู้ตาย และให้พระสงฆ์ขึ้นมาทำการพิจารณาผ้าด้วยคำพิจารณา “บังสุกุลเป็น”

 

6. เมื่อพระสงฆ์ทำการพิจารณาผ้าบังสุกุลเป็นเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพทำการเก็บกระดูกของผู้ตายใส่ในโกศ โดยกระดูกที่เก็บใส่โกศ ประกอบด้วย

6.1 กะโหลกศีรษะ 1 ชิ้น

6.2 กระดูกแขนขวา 1 ชิ้น  กระดูกแขนซ้าย 1 ชิ้น

6.3 กระดูกขาขวา 1 ชิ้น  กระดูกขาซ้าย 1 ชิ้น

6.4 ซี่โครงบริเวณหน้าอก 1 ชิ้น

สำหรับกระดูกส่วนที่เหลือให้ทำการเก็บใส่ลุ้งหรือหีบที่เตรียมไว้จนหมด พร้อมทั้งนำผ้าขาวที่เตรียมไว้มาห่อลุ้งหรือหีบให้เรียบร้อย ซึ่งกระดูกที่อยู่ในลุ้งหรือหีบนี้ เจ้าภาพจะนำลอยอังคารหรือทำการเก็บไว้ตามพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ เช่น ช่องบรรจุอัฐิตามผนังวัด ผนังโบสถ์ เป็นต้น หรือหากเจ้าภาพต้องการนำไปเก็บไว้ที่สุสานของตระกูลหรือที่บ้านก็ได้เช่นเดียวกัน

 

7. เมื่อเก็บกระดูกหรือที่เรียกว่าอัฐิเสร็จแล้ว ให้นำ โกศใส่กระดูก มาตั้งไว้ที่บริเวณหน้าที่นั่งพระสงฆ์

 

8. หากเป็นการเก็บกระดูกในช่วงเช้าจะมีพิธีการถวายภัตตาหาร แต่หากเป็นการเก็บอัฐิในช่วงเย็นหรือค่ำ ๆ แล้วจะไม่มีการถวายภัตตาหาร แต่หลังจากที่พระสวดเสร็จเจ้าภาพสามารถถวายน้ำปานะได้ เมื่อทำการเก็บเสร็จแล้ว จะมีพิธีการถวายภัตหารคาว หวาน ดอกไม้ ธูปเทียนและเครื่องไทยธรรมกับพระสงฆ์ที่มาทำการพิจาณาผ้าบังสุกุล ถือเป็นอันเสร็จขั้นตอนการเก็บอัฐิ

 

จะเห็นว่าขั้นตอนการเก็บกระดูกนั้นมีรายละเอียดและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิธีค่อนข้างมาก ดังนั้น เจ้าภาพควรจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและมอบให้กับสัปเหร่อไว้ที่วัดก่อน ในวันที่มีพิธีฌาปนกิจศพก็ได้ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ครบตามที่ต้องใช้หรือไม่  เพราะนี่เป็นครั้งสุดท้ายแล้วที่เราจะทำเพื่อผู้ตายอันเป็นที่รักได้

 

เมื่อทำพิธีเก็บกระดูก พิธีเก็บอัฐิ เรียบร้อยแล้ว บางครอบครัวต้องการเก็บอัฐิของผู้ตายไว้ทั้งหมด โดยการเก็บไว้ที่บ้านหรือที่วัด แต่บางครอบครัวก็จะนำอัฐิส่วนที่อยู่ในลุ้งหรือหีบไปทำการลอยอังคารต่อไป ‘เก็บกระดูก ลอยอังคาร’ เพื่อเป็นการส่งผู้ตายสู่สรวงสวรรค์ ด้วยการชำระล้างบาปที่มีอยู่ด้วยน้ำ เช่นเดียวกับการลอยอังคารของผู้ตายลงในแม่น้ำคงคา แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดียนั่นเอง

 

เก็บกระดูกพ่อแม่ไว้ที่บ้านได้ไหม

เก็บเถ้ากระดูกบรรพบุรุษไว้ที่บ้าน สร้างห่วงกังวลให้ท่านหรือไม่

เก็บกระดูกไว้ที่บ้านได้ไหม

YouTube video

 

อัฐิ ควรเก็บไว้หรือไม่ อย่างไร

YouTube video

.

พิธีเก็บกระดูกตามประเพณีไทยเชื้อสายเขมร

YouTube video

 

ลอยอังคาร พิธีส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติภูมิอันร่มเย็น

.

ทําบุญกระดูก 100 วัน

การทำบุญ 100 วัน งานบุญครบรอบวันเสียชีวิต ส่งกุศลให้กับดวงวิญญาณผู้วายชนม์ <–คลิกอ่าน

 

บทความที่น่าสนใจ:

  • สวดอภิธรรม พิธีสวดพระอภิธรรมศพ ความเป็นมาและความสำคัญ
  • การแจ้งตาย ขั้นตอนการแจ้งเสียชีวิต การแจ้งตาย และการขอมรณบัตรอย่างถูกต้อง
  • หนังสืองานศพ หนังสือที่ระลึกงานศพ หนังสือแห่งความอาลัยรักแด่ผู้วายชนม์

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only