ไฟฉาย – แสงสว่างเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยเฉพาะในยามตะวันตกดินที่โลกตกอยู่ภายใต้ความมืด มีเพียงแค่แสงจันทร์และดวงดาวเท่านั้นที่คอยช่วยนำทาง ส่วนประกอบของไฟฉาย <–คลิก
เหตุนี้ มนุษย์โบราณจึงต้องคิดประดิษฐ์ไฟขึ้นมาเพื่อให้ความอบอุ่น ประกอบอาหาร และนำทางในยามค่ำคืน จากกองฟืนไฟก็กลายเป็นคบเพลิง แล้วในท้ายที่สุดก็มีพัฒนาการมาเป็นไฟฉายในมือเราในปัจจุบัน
วันนี้เราจะมาบอกเล่าเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับไฟฉาย ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่มีความซับซ้อนและน่าอัศจรรย์มากที่สุดชิ้นหนึ่งของมนุษยชาติ
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
ประวัติของไฟฉาย
นับตั้งแต่มนุษย์รู้จักการใช้ไฟเป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ ไฟได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างคบเพลิง เทียน ตะเกียงน้ำมัน ซึ่งแม้ว่าจะสามารถใช้งานได้มาจนถึงศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังมีระยะเวลาการใช้งานที่จำกัด และมีผู้ใช้งานหลายคนได้รับอันตรายจากเปลวไฟที่ปะทุออกมาจากน้ำมันก๊าด
ด้วยเหตุนี้ นักประดิษฐ์หลายคนจึงพยายามสร้างตัวเลือกในการสร้างสรรค์ไฟส่องสว่างแบบพกพา โดยใช้หลักการของแบตเตอรี่ให้เกิดประโยชน์
กระทั่งในปี ค.ศ.1899 นักประดิษฐ์สัญชาติอังกฤษนาม David Misell ได้ผสมผสานหลักการทำงานของแบตเตอรี่เซลล์แห้งที่วางต่อกันภายในกระบอกขนาดเล็ก สามารถควบคุมการทำงานของแบตเตอรี่ด้วยสวิสต์เปิด-ปิด
เมื่อเปิดแบตเตอรี่จะทำปฏิกิริยากับหลอดไฟขนาดเล็กด้านในก่อให้เกิดแสงสว่างได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเมื่อนั่นเองที่ไฟฉายกระบอกแรกของโลกจึงได้คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นในสหราชอาณาจักร และถูกขนานนามว่า ‘Flash’ (แฟลช)
British inventor David Misell, who was living in New York, patented the original flashlight and sold those patent rights to the Eveready Battery Company.
Source: The Invention of the Flashlight
นับตั้งแต่ไฟฉายกระบอกแรกของ David Misell ได้ถูกคิดค้นขึ้น ก็มีนักประดิษฐ์จำนวนมากหลายสัญชาติที่ใช้หลักการเดียวกันในการสร้างสรรค์ไฟฉายรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย โดยมีการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบของไฟฉายภายในตามเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นตามแต่ละยุคสมัย
จากแบตเตอรี่ก็เปลี่ยนเป็นก๊าซซีนอน อาร์กอน และคริปตัน ซึ่งทำให้เกิดไฟฉายที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานรูปแบบใหม่ หรือ ไฟฉาย LED ที่ให้แสงสว่างได้มากอย่างเหลือเชื่อ แถมยังมีระยะเวลาในการใช้งานได้อย่างยาวนานอีกด้วย
ไฟฉาย จึงกลายเป็นหนึ่งในแกดเจ็ตสามัญประจำวันที่ขาดไปเสียไม่ได้ เพราะมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้นำทางหรือหาสิ่งขอในยามค่ำคืน หลายคนจึงเลือกที่จะเก็บไฟฉายไว้ในที่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินจำเป็นอย่างช่องเก็บของภายในรถ ลิ้นชักข้างเตียงนอน หรือลิ้นชักข้างโต๊ะทำงาน เป็นต้น
นอกจากนั้น ปัจจุบันไฟฉายที่ถูกออกแบบพิเศษให้มีดีไซน์ที่โดดเด่น น่ารัก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวก็สามารถใช้สำหรับเป็นของที่ระลึกหรือของชำร่วยในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ของชำร่วย ไฟฉาย ได้เช่นกัน
หลักการทำงานของไฟฉาย
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับไฟฉายมาตั้งแต่เกิด แต่ไม่รู้ว่าแสงสว่างที่ปรากฎออกมาจากปลายกระบอกไฟฉายนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ในความจริงแล้ว ไฟฉายที่เราเห็นว่าสามารถเปิด-ปิดได้อย่างง่าย ๆ มีหลักการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนพอตัว โดยสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของไฟฉาย คือ ถ่านไฟฉายที่เป็นตัวเชื่อมหลักที่ทำให้กลไกของไฟฉายสามารถเชื่อมต่อกันและผลิตกระแสไฟฟ้าได้
เนื่องจากเมื่อเราใส่ถ่านไฟฉายเข้าไปในกระบอกไฟฉายแล้ว มันจะเป็นตัวเชื่อมให้กระแสไฟฟ้าไหลจากขั้วบวกซึ่งเป็นถ่านที่สร้างขึ้นจากแท่งคาร์บอน ไปยังขั้วลบที่สร้างขึ้นจากกล่องสังกะสี ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวมีแอมโมเนียคลอไรด์อำนวยความสะดวกช่วยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไประหว่างขั้วได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ในไฟฉายยังมีผงถ่านและแมงกานีสไดออกไซด์ซึ่งช่วยนำไฟฟ้าและรักษาความต่างศักดิ์ของขั้วเซลล์ให้มีเสถียรภาพ ซึ่งเมื่อใช้ไฟฉายไปนาน ๆ ความต่างศักดิ์ที่ช่วยรักษาเสถียรภาพของขั้วเซลล์ก็จะค่อย ๆ ลดลงหรือที่เราเรียกว่าถ่านหมดนั่นเอง และเมื่อเปลี่ยนถ่านใหม่ ไฟฉายก็จะสามารถกลับมาให้แสงสว่างได้ตามปกติ
ด้วยเหตุนี้ หลักการทำงานของไฟฉายจึงขึ้นอยู่กับถ่านไฟฉายซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักเป็นสำคัญ ดังนั้น เราจึงควรเลือกใช้ถ่านไฟฉายที่มีคุณภาพเพื่อคงรักษาสภาพการใช้งานของไฟฉายไปนาน ๆ นั่นเอง
.
ส่วนประกอบของไฟฉาย
การแยก ส่วนประกอบของไฟฉาย มีอะไรบ้าง ภาษาไทย – กว่าจะมาเป็นอุปกรณ์สำหรับทำแสงสว่างขนาดพกพาที่เราคุ้นเคยกัน ไฟฉายแต่ละอันต้องผ่านกระบวนการในการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนกลายเป็นอุปกรณ์สุดกะทัดรัดที่เราสามารถพกพาไปใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไฟฉายหนึ่งอันจะประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. หลอดไฟ
หลอดไฟ ส่วนที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของไฟฉาย เพราะเป็นตัวให้แสงสว่าง หากหลอดไฟขาด แม้ว่าถ่านไฟฉายจะยังไม่หมด ไฟฉายก็จะไม่สามารถให้แสงสว่างได้ ดังนั้น คุณจึงไม่ควรเปิด-ปิดสวิสต์ไฟฉายเล่น เพราะจะทำให้หลอดไฟฉายเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าหลอดขาดนั้นเอง
2. กระจกหน้าไฟฉาย
กระจกกั้นมีหน้าที่สำหรับป้องกันหลอดไฟจากการกระทบกระเทือนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่หลอดไฟได้ โดยปกติแล้วกระจกกั้นหลอดไฟจะมีสีใส แต่ไฟฉายแฟชั่นบางชนิดมีการออกแบบกระจกกั้นไฟฉายเป็นสีสันต่าง ๆ ทำให้แสงสว่างจากไฟฉายออกมามีสีสันตามกระจกกั้นได้เช่นกัน
3. กระบอกไฟฉาย
กระบอกไฟฉาย ส่วนของไฟฉายที่ใช้สำหรับสัมผัสเพื่อใช้งาน การออกแบบให้เป็นรูปทรงกระบอกเพื่อให้ไฟฉายมีรูปทรงกะทัดรัด เหมาะมือ สามารถพกพกได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนั้น รูปทรงกระบอกยังเข้ากันได้ดีกับถ่านไฟฉาย โดยโครงสร้างที่เป็นทรงกระบอก ข้างในกลวงก็ช่วยให้สามารถเก็บถ่านไฟฉายและทำให้มันทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นนั้นอง
4. วงแหวนปรับระดับแสงไฟ
ชิ้นส่วนดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้าของไฟฉาย มีหน้าที่ในการปรับการซูมของแสงสว่าง อาทิ หากคุณต้องการให้ไฟฉายส่องได้กว้างขึ้นก็อาจปรับวงแหวนไปที่องศากว้าง หรือหากต้องการส่องไฟฉายไปยังที่ไกล ๆ ก็ให้ปรับวงแหวนไปที่องศาแคบจะช่วยให้ลำแสงของไฟฉายสามารถส่องได้ไกลมากยิ่งขึ้น
5. ฝาปิดท้าย
ไฟฉายทุกกระบอกจะต้องมีส่วนฝาปิดท้ายไว้สำหรับเปิด – ปิดเพื่อเปลี่ยนถ่ายไฟฉาย นอกจากนั้น ยังเป็นบริเวณติดตั้งโลหะเชื่อมกระแสไฟฟ้าระหว่างถ่านไฟฉายกับขั้วที่อยู่ด้านในสุดของไฟฉายเพื่อกระตุ้นกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปให้พลังงานหลอดไฟ ก่อให้เกิดแสงสว่างยามที่คุณเปิดสวิสต์ไฟฉายนั่นเอง
6. ยางโอริง
เป็นอีกชิ้นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาไฟฉายให้สามารถใช้งานได้นาน ยางโอริง (O-ring) ซึ่งอยู่บริเวณฝาปิดท้ายและด้านหน้าของไฟฉายมีบทบาทสำคัญในการป้องกันน้ำมิให้เข้าไปในตัวไฟฉาย และสร้างความเสียหายแก่กลไกทำงานภายในได้ อย่างไรก็ตาม หากเราทำไฟฉายตกน้ำ ยางโอริงก็อาจช่วยกันน้ำไม่ได้มากนัก ฉะนั้น คุณควรใช้ไฟฉายอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในยามที่ต้องใช้งานกลางสายฝนหรือในที่เปียกชื้น
ประเภทของไฟฉาย
นับตั้งแต่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1899 เป็นต้นมา ไฟฉายก็มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่ไฟฉายรุ่นคลาสสิคมาจนถึงไฟฉาย LED ขนาดเล็กที่ใช้พ่วงกับพวงกุญแจได้ในปัจจุบัน ไฟฉายได้รับการออกแบบให้มีดีไซน์ที่แตกต่างกันไปตามประโยชน์การใช้งาน เราสามารถแบ่งประเภทไฟฉายได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ไฟฉายหลอด
เป็นรูปแบบไฟฉายที่มีรูปทรงกระบอกคลาสสิค เดิมใช้หลอดไส้เพื่อสร้างแสงสว่าง แต่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงจากหลอดไส้กลายเป็นหลอด LED ที่สามารถให้แสงสว่างได้มากขึ้นและต่อเนื่องยาวนานกว่า โดยใช้แบตเตอรี่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามระดับราคา ไม่ว่าจะเป็นขนาด น้ำหนัก รูปทรง และปริมาณพลังงานที่สามารถใช้งานได้ในแต่ละครั้ง
2. ไฟฉายพกพา
หนึ่งในประเภทไฟฉายที่เป็นที่นิยม เนื่องจากใช้งานได้ง่าย พกพาสะดวก สามารถพ่วงไว้กับพวงกุญแจ เหน็บไว้กับเข็มขัด หรือเก็บใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อเพื่อใช้ในยามจำเป็นได้อย่างสะดวกสบาย ไฟฉายประเภทนี้ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพื่อความสะดวกในการพกพา แต่ก็ส่งผลให้แสงสว่างของไฟฉายประเภทพกพานี้มีพลังงานแสงสว่างน้อยกว่าไฟฉายหลอด จึงมีข้อจำกัดในการใช้งาน นิยมใช้ในการค้นหาของชิ้นเล็ก ๆ หรือส่องทางในยามค่ำคืนที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมาก
3. ไฟฉายดำน้ำ
เป็นประเภทของไฟฉายที่ใช้ในภารกิจเฉพาะทาง โดยเฉพาะนักกู้ภัยทางน้ำ นักประดาน้ำ นักดำน้ำลึก หรือหน่วยนาวิกโยธิน (navy seal) ก็นิยมใช้ไฟฉายประเภทนี้ในการฝึกซ้อมและปฏิบัติภารกิจทางน้ำต่าง ๆ เนื่องจากสามารถส่องแสงสว่างใต้น้ำลึกได้ อีกทั้งยังทำขึ้นจากวัสดุที่มีคุณสมบัติสามารถกันน้ำได้ดีอีกด้วย
4. ไฟฉายแรงสูง
ไฟฉายประเภทนี้นิยมใช้ในงานราชการหรืองานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยเฉพาะในภารกิจของทหารและตำรวจที่จำเป็นต้องใช้ไฟฉายที่มีกำลังแรงสูงในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการส่องหาตำแหน่งของข้าศึก การตามจับโจรผู้ร้าย หรือการตรวจตรายานพาหนะต้องสงสัย นอกจากนั้น ไฟฉายประเภทดังกล่าวยังให้แสงสว่างสูงมากจนทำให้หากส่องเข้าไปในตาของคนตรง ๆ อาจก่ออันตรายทำให้ตาบอดชั่วขณะหรือถาวรได้ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องใช้งานไฟฉายแรงสูงด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
ประโยชน์ของไฟฉาย
แม้ว่าปัจจุบัน คุณสามารถใช้แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนเพื่อเปิดแสงสว่างได้แล้ว แต่ไฟฉายก็ยังคงดำรงอยู่ ไม่ถูก disrupt ไปมากเท่าไหร่นัก เนื่องเพราะไฟฉายมีประโยชน์มากมายหลายประการ ดังนี้
1. ไฟฉายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับนักเดินทาง
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักท่องเที่ยวสายแบ็คแพ็คเกอร์หรือสายเฮฮาตามเพื่อนฝูง เวลาที่คุณต้องไปแคปปิ้งในป่าหรือสถานที่ซึ่งไม่มีไฟฟ้าใช้ อุปกรณ์ให้แสงสว่างที่จะขาดไปไม่ได้เลยคือไฟฉาย ไม่ว่าจะเป็นไฟฉายประเภทหลอดหรือพกพาย่อมมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตในป่าเขายามตะวันตกดิน
คุณอาจจะแย้งว่าสมาร์ทโฟนก็สามารถช่วยนำทางได้ดีเหมือนกัน แต่อย่าลืมว่าการใช้แอพไฟฉายในมือถือจะทำให้แบตหมดเร็วขึ้น และคุณก็ไม่มีปลั๊กไฟไว้สำหรับเสียบชาร์ตแบทเสียด้วย ยกเว้นแต่คุณจะพก power bank สำรองไว้สิบอันขึ้นไปก็ว่าไปอย่าง แต่แบตเตอรี่ของไฟฉายนั้นสามารถอยู่ได้นานเป็นปีโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านเลยแม้แต่ครั้งเดียว
2. ไฟฉายแรงสูงสามารถใช้ในภารกิจด้านความมั่นคง
หน่วยงานด้านความมั่นคง อาทิ ทหาร ตำรวจ ราชทัณฑ์ ตลอดจนหน่วยเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำสามารถใช้ไฟฉายแรงสูงเป็นเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติภารกิจ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจตราความปลอดภัย การค้นหาและจับกุมคนร้าย ตลอดจนการใช้ติดตั้งในที่ตั้งเพื่อสถาปนาระบบยามรักษาการณ์ เป็นต้น
เนื่องจากไฟฉายแรงสูงมีศักยภาพในการฉายลำแสงได้ไกลและมีความสว่างมากเท่ากับไฟหน้ารถหลายคันรวมกันเลยทีเดียว
3. ไฟฉายพกพาจำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ไฟฉายพกพาเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สามัญประจำบ้านและรถที่คุณต้องมี หากคุณกำลังขับรถข้ามจังหวัดในช่วงเวลากลางคืนแล้วเครื่องยนต์เกิดดับขึ้นกะทันหัน คุณก็จำเป็นที่จะต้องมีไฟฉายเพื่อสำรวจความผิดปรกติที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขแล้วเดินทางต่อไปให้เร็วที่สุด
ดังนั้น การพกไฟฉายติดตั้งไว้จึงจำเป็นสำหรับรับมือเหตุฉุกเฉินหรือเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
4. ไฟฉายสามารถใช้ป้องกันตัว
นอกจากไฟฉายจะมีคุณสมบัติในการสร้างแสงสว่างแล้ว ไฟฉายบางประเภท (ไฟฉายกระบอง กระบองไฟฉาย ไฟฉายช็อตไฟฟ้า ป้องกันตัว) ยังสามารถใช้ในการป้องกันตัวได้ดีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นไฟฉายแรงสูงที่สามารถส่องไปที่ดวงตาของคนร้ายเพื่อทำให้ตาบอดชั่วขณะ รวมทั้งสามารถใช้ทุบตีคนร้ายเพื่ออาศัยจังหวะในการหลบหนีได้ นอกจากนั้น ไฟฉายบางชนิดยังแถมนกหวีดมาให้ในตัวเพื่อเป่าสำหรับเรียกความช่วยเหลือได้เช่นกัน
ไฟฉายเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่มีอายุหลายร้อยปีที่ยังคงความสำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนประโยชน์การใช้สอยให้เข้ากับยุคสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น จากเดิม ของชำร่วย ไฟฉาย https://nippangift.com/shop/ ไฟฉายที่ทำหน้าที่ให้แสงสว่างอย่างเดียวก็ถูกพัฒนาให้สามารถใช้ในภารกิจที่แตกต่างออกไป ทั้งในด้านความมั่นคง การท่องเที่ยว กีฬา รวมทั้งการป้องกันตัวเองด้วยเช่นกัน
เคท
ขอบคุณค่ะ
ข้อมูลเกี่ยวกับไฟฉาย ละเอียดดีทีเดียวค่ะ
ตัน
I am not sure where you’re getting your info, but good topic.
I needs to spend some time learning more or understanding
more. Thanks for fantastic info I was looking
for this info for my mission.