
ของไหว้วันเผา – ความตายเป็นสิ่งที่ใครก็ไม่สามารถหนีพ้นได้ ทุกคนย่อมต้องก้าวเข้าสู่ความตายสักวันหนึ่ง และวันสุดท้ายที่เราจะแสดงความอาลัยกับศพผู้ตายเป็นครั้งสุดท้ายตามประเพณีไทย ก็คือ วันฌาปนกิจศพหรือวันเผาศพ เพื่อส่งวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปสู่สรวงสวรรค์อย่างสงบ
ซึ่งในวันนี้จะมีพิธีการและขั้นตอนการจัดงานอยู่หลายอย่าง รวมถึงมีสิ่งของที่ต้องจัดเตรียมเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์
ของที่ระลึก ราคาส่ง สเปรย์แอลกอฮอล์ พกพา ของชำร่วย ราคาส่ง ราคาโรงงาน
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
- ประวัติการเผาศพและความสำคัญของของไหว้วันเผา
- การปลงศพด้วยการเผา แบ่งได้กี่รูปแบบ
- พิธีกรรมการทอดผ้าบังสุกุล และความเป็นมา
- ของไหว้วันเผาที่ต้องเตรียม
- 1. เครื่องไทยธรรม
- 2. เครื่องติดกัณฑ์เทศน์
- 3. ผ้าบังสุกุล
- 4. ดอกไม้จันทน์
- ของชําร่วย ยาพารา ถูกสุด 27 บาท ราคาโรงงาน ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว/กล่องลายไทย Cemol 50 เม็ด
- ยาดมสมุนไพร ของชำร่วย ราคาถูกสุด 6 บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ยาดม ราคาส่ง
- ยาหม่องน้ำ ของชําร่วย ราคาถูกสุด 27 บาท ฟรีถุงผ้าไหมแก้ว ฟรีสติ๊กเกอร์
- พิมเสนน้ำ หัวลูกกลิ้ง ฝาทอง ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
- ไฟฉายด้ามยาว LED ของชำร่วย ราคาส่ง 12+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์
- ไฟฉาย ของชำร่วยงานศพ งานแต่ง งานเกษียณ ราคาถูก ฟรีสติ๊กเกอร์
- กระเป๋าใส่เหรียญ ของชำร่วย ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ กระเป๋าใส่เงิน
- ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ พกพา ราคาส่ง [16 บาท] ฟรีสติ๊กเกอร์ ออกแบบฟรี
- ของชําร่วย พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ หนังสือสวดมนต์ แผ่นพับสวดมนต์ ราคาส่ง 10+ บาท
- ยาหม่อง ของชําร่วย ราคาส่ง 31+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว ยาหม่องตราถ้วยทอง
- พิมเสนน้ำ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก 5+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
ประวัติการเผาศพและความสำคัญของของไหว้วันเผา
การเผาศพเริ่มต้นมาเมื่อไม่กี่พันปีก่อนหน้าเท่านั้น เพราะในอดีตเมื่อมีผู้ตายจะทำการฝังศพลงในดิน ยังไม่มีการเผาศพเช่นในปัจจุบันนี้ ซึ่งการเผาศพเริ่มต้นเมื่อประมาณพันกว่าปีก่อน โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศอินเดียตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่เมื่อมีผู้ตายจะทำการเผาศพ
และต่อมาได้มีการนำหลักของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธเข้าไปในพิธีการปลงศพด้วยการเผา เช่น การสวดศพ และการทำบุญถวายทาน เป็นต้น
ช่วงแรกการปลงศพด้วยการเผาศพในประเทศไทย เป็นการปลงศพในกลุ่มของพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น สำหรับสามัญชนยังไม่ทำการเผาศพ แต่ยังคงทำการฝังศพตามความเชื่อดั้งเดิมที่สืบต่อกันมา โดยการฝังจะมีการใส่เครื่องใช้ เครื่องประดับหรือทรัพย์สินเงินทองใส่ลงไปในหลุมศพและฝังรวมกับผู้ตายตามฐานะของผู้ตาย ตามความเชื่อว่าให้ผู้ตายมีทรัพย์สินติดตัวเพื่อให้ใช้ในภพหน้า
แต่สำหรับการเผาถึงจะไม่มีการเผาทรัพย์สินเงินทองร่วมไปกับศพผู้ตาย ทว่าก็มีการใส่ทรัพย์สินไปในโลงศพเพื่อให้ผู้ตายได้ใช้ในภพหน้าเช่นกัน และมีการนำออกมาก่อนที่จะทำการเผา โดยทรัพย์สินดังกล่าวจะถูกนำออกมาจากโลงและนำไปทำบุญทำทานต่อไป
การปลงศพด้วยการเผา แบ่งได้กี่รูปแบบ
การปลงศพด้วยการเผาศพนั้น จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วย คือ
1. แบบที่เผาภายใน 3-7 วัน
การปลงศพแบบนี้จะมีการจัดงานพิธีศพหลังจากที่ผู้ตายเสียชีวิต และทำการปลงศพด้วยการเผาทันทีที่ทำการตั้งบำเพ็ญกุศลศพ ซึ่งการปลงศพจะทำการเผาภายใน 3-7 วัน

2. แบบที่เก็บศพไป 100 วันก่อนจึงค่อยทำการเผา
บางครั้งเจ้าภาพอาจจะยังไม่พร้อมที่จะทำการเผาศพหรือต้องรอเวลา ดังนั้น จึงต้องทำการเก็บศพผู้ตายไว้ตามระยะเวลา เช่น เก็บไว้ 100 วัน, 1 ปี เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็นการเผาศพแบบใด ที่สำคัญเลยคือ ในวันปลงศพจะต้องมีการจัดเตรียมของไหว้วันเผา เช่นเดียวกัน สำหรับของไหว้วันเผาจะมีทั้งเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภค
ของไหว้จะมีใช้อยู่ 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงถวายเพล ช่วงกัณฑ์เทศน์ และช่วงก่อนการเผาศพ หรือที่เรียกว่า การทอดผ้าบังสุกุล
ข้อมูลเพิ่มเติม:
เผาหลอก เผาจริง คืออะไร
เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ
พิธีกรรมการทอดผ้าบังสุกุล และความเป็นมา
ก่อนการปลงศพด้วยการเผาจะมีพิธีกรรมเพื่อเป็นการสร้างกุศลผลบุญให้กับผู้ตาย ด้วยการถวายของต่าง ๆ ต่อพระภิกษุที่เข้ามาร่วมพิธี ดังนั้น ของไหว้วันเผาที่จัดเตรียมไว้ก็เพื่อเป็นการทำบุญให้กับผู้ตาย นั่นเอง โดยเฉพาะการทอดผ้าบังสุกุลก่อนที่จะทำการวางดอกไม้จันทน์ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก
เพราะ การทอดผ้าบังสุกุลจะมีการโยงสายสิญจน์จากโลงศพหรือมือของผู้ตายมายังพานที่วางผ้าบังสุกุล ซึ่งเปรียบเสมือนว่าผู้ตายได้เป็นคนถวายผ้าชุดนั้นกับพระภิกษุด้วยตนเอง
ผ้าบังสุกุล ถือว่าเป็นการถวายผ้าที่ได้กุศลอันแรงกล้า เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ห้ามมิให้พระภิกษุรับผ้าจากฆราวาสที่นำมาถวาย แต่ให้ทำการเก็บผ้าบังสุกุลหรือผ้าที่ทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพ เป็นต้น นำมาทำความสะอาดและตัดเย็บเป็นผ้าสบง ผ้าจีวรหรือผ้าห่มซ้อน ไว้ใช้แทนผ้าผืนที่เกิดการชำรุด
ทำให้พระภิกษุเกิดความยากลำบากในการหาผ้ามาทดแทนผ้าที่ชำรุดเสียหายและผ้าในสมัยก่อนนั้นหายากมาก ดังนั้นเมื่อฆราวาสต้องการที่จะถวายผ้าต่อพระภิกษุจึงต้องนำไปวางพาดหรือทิ้งไว้บนต้นไม้ บนพื้นที่พระภิกษุเดินผ่าน ซึ่งการถวายผ้าบังสุกุลจึงถือว่าเป็นการทำบุญที่ได้บุญกุศลสูงอย่างหนึ่ง
ดังนั้น ในการพิธีศพเพื่อเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ให้กับผู้ตาย จึงให้ผู้ตายทำการทอดผ้าบังสุกุลให้กับพระภิกษุ ซึ่งทางเจ้าภาพจะต้องทำการจัดเตรียมผ้าบังสุกุลเป็นของไหว้วันเผาด้วยทุกครั้ง
โดยผ้าที่ใช้เป็นผ้าบังสุกุลสามารถใช้ได้ทั้งแบบผ้าไตรหรือจะเป็นผ้าเพียงชนิดเดียว เช่น ผ้าสบง ผ้าจีวร ก็ได้
นอกจากผ้าบังสุกุลแล้วยังมีของไหว้วันเผาที่ใช้ในการถวายพระภิกษุหลังจากฉันเพลและหลังจากที่ทำการเทศนาธรรมอีกด้วย ซึ่ง ปริมาณและชนิดของของไหว้วันเผาที่จัดเตรียมจะมากหรือน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพ นั้นเอง
ของไหว้วันเผาที่ต้องเตรียม
วันปลงศพด้วยการเผาศพจะมีพิธีการหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ช่วงสายจนกระทั่งถึงเวลาการเผาศพ ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีสิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ โดยของไหว้วันเผาที่เจ้าภาพต้องทำการจัดเตรียมมีดังนี้
1. เครื่องไทยธรรม
เครื่องไทยธรรมหรือเครื่องสังฆทานนี้จะจัดไว้สำหรับถวายพระที่มาทำการฉันเพลตามคำเชิญของเจ้าภาพ ดังนั้น จำนวนของเครื่องไทยธรรมจะต้องมีจำนวนเท่ากับจำนวนพระที่ทำการนิมนต์มาฉันเพล โดยเครื่องไทยธรรมที่จัดเตรียมไว้จะประกอบด้วย สิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ไฟฉาย ร่มพระ ผ้าไตรจีวร รองเท้าแตะ ยาสระผมและผ้าสบง เป็นต้น
ซึ่งขนาดของเครื่องไทยธรรมจะขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ โดยจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ได้ และปัจจุบันนี้เครื่องไทยธรรมสามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสังฆภัณฑ์หรือร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับงานพิธีศพทั่วไป
2. เครื่องติดกัณฑ์เทศน์
ก่อนที่จะมีการฌาปนกิจศพ เจ้าภาพต้องนิมนต์พระภิกษุมาทำการแสดงธรรมเทศนาให้กับผู้ที่เข้าร่วมพิธีปลงศพ ซึ่งเมื่อพระภิกษุทำการเทศนาธรรมจบแล้ว เจ้าภาพจะต้องถวายเครื่องติดกัณฑ์เทศน์ให้กับพระภิกษุที่ทำการแสดงธรรมเทศนา
โดยเครื่องติดกัณฑ์เทศน์ใช้ได้ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค เช่น สบง จีวร ผ้าไตร ของกิน น้ำดื่มหรือสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ เป็นต้น ซึ่ง เครื่องติดกัณฑ์เทศน์นี้จัดเตรียมตามจำนวนพระภิกษุที่ทำการแสดงธรรมเทศนาในงานพิธี
เครื่องติดกัณฑ์เทศน์มีวางจำหน่ายเป็นชุดตามร้านสังฆภัณฑ์และร้านค้าทั่วไป แต่ว่าเจ้าภาพสามารถทำการจัดเตรียมด้วยตนเอง ด้วยการเตรียมของกิน ของใช้ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น น้ำดื่ม อาหารกระป๋อง และยารักษาโรค เป็นต้น โดยเป็นชุดติดกัณฑ์เทศน์หรือถวายเป็นปัจจัยใส่ซอง แนบมาพร้อมกับผ้าไตรถวายให้พระภิกษุที่ทำการเทศนาก็ได้
3. ผ้าบังสุกุล
ผ้าบังสุกุลถือว่าเป็นของไหว้ก่อนเผาที่ขาดไม่ได้ ต้องทำการจัดเตรียมให้ครบถ้วน เพราะว่าก่อนที่จะทำการปลงศพด้วยการเผา เจ้าภาพจะต้องทำการทอดบังสุกุลด้วยการเชิญญาติผู้ใหญ่หรือบุคคลที่นับถือมาทำการทอดผ้าบังสุกุล ซึ่ง ผ้าทอดบังสุกุลจะใช้เป็นผ้าไตรจีวรหรือเป็นผ้าสบงเพียงอย่างเดียวก็ได้
แต่ในบางงานจะมีการจัดเตรียมชุดผ้าไตรสำหรับทอดบังสุกุลไว้หนึ่งชุด สำหรับประธานในพิธีใช้ในการทอดผ้าบังสุกุล ส่วนบุคคลอื่นจะใช้ผ้าสบงในการทอดผ้าบังสุกุล แต่บางงานจะใช้ผ้าไตรจีวรในการทอดผ้าบังสุกุลทั้งหมดก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ

ซึ่งในปัจจุบันนี้ การทอดผ้าบังสุกุลจะนิยมใช้ผ้าไตรจีวรมากกว่าใช้ผ้าสบงเพียงอย่างเดียว เพราะการถวายผ้าไตรจีวรเป็นผ้าที่ครบพร้อมสำหรับการใช้งานของพระภิกษุ ถือว่าเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่ง
ดังนั้นการใช้ผ้าไตรในการทอดบังสุกุลในวันฌาปนกิจศพถือว่าเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ให้กับผู้ตายด้วย
4. ดอกไม้จันทน์
ดอกไม้จันทน์ ประกอบด้วยตัวดอก หนวดจันทน์ ธูป และเทียน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการขมากรรมในสิ่งที่เคยได้ล่วงเกินผู้ตายมาก่อน และเป็นการแสดงความเคารพผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย โดยเจ้าภาพจะจัดดอกไม้จันทน์ใส่วางไว้ตามจุด เพื่อให้แขกที่มาร่วมงานได้หยิบเพื่อนำไปวางหน้าโลงศพในขั้นตอนการเผาหลอก และนำไปเผาร่วมกับศพในเชิงตะกอนต่อไป
ดอกไม้จันทน์ที่นำมาใช้ในพิธีเผาศพจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบช่อประธาน สำหรับญาติผู้ใหญ่ที่มาเป็นประธานในพิธี และแบบดอกเดี่ยว สำหรับผู้ที่เข้ามาร่วมงานทุกคน


และที่กล่าวมานี้ก็ล้วนเป็นของไหว้วันเผาที่ทางเจ้าภาพจะต้องจัดเตรียมไว้สำหรับงานพิธีศพในวันเผา ซึ่งเจ้าภาพต้องทำการเตรียมให้พร้อมก่อนถึงวันงานพิธีปลงศพ
อนึ่ง ทางเจ้าภาพควรจะจัดเตรียมของที่ระลึกงานฌาปนกิจเพื่อสำหรับแจกเป็นของที่ระลึก ให้แก่แขกผู้มีเกียรติ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณที่ได้สละเวลามาร่วมงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับอีกด้วย .. .ข้อมูลเพิ่มเติม Snack Box อาหารว่างงานศพ ราคาถูก 26 บาท
ของไหว้วันเผา ถือว่าเป็นของจำเป็นและมีความสำคัญยิ่ง เพราะของไหว้วันเผาเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะมอบให้ผู้ตายอันเป็นที่รัก ซึ่งขนาดและปริมาณของไหว้วันเผาที่นำมาใช้ในงานพิธีปลงศพนั้น ไม่ว่าจะมีราคาสูงหรือต่ำ ปริมาณมากหรือน้อย ล้วนไม่สำคัญเท่ากับความตั้งใจจริงของเจ้าภาพที่ตั้งใจจัดเตรียมเพื่อสร้างกุศลผลบุญให้กับผู้ตายในวันเผาศพ เพราะการทำบุญที่ได้กุศลสูงสุดอยู่ที่ความตั้งใจอันบริสุทธิ์นั่นเอง