พิธีกรรมการเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับมาจากอินเดีย

พิธีกรรมการเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับมาจากอินเดีย

งานศพและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตกาล แต่อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามประเพณีและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น

 สำหรับพิธีกรรมการเผาศพของไทยนั้น คุณรู้หรือไม่ว่าได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากวัฒนธรรมอินเดีย  ที่เป็นอู่อารยธรรมหลายประการ

ว่าแต่พิธีกรรมงานศพในบ้านเรามีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะพาคุณไปติดตามข้อมูลซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของพิธีกรรมการเผาศพจากแดนภารตะ โดยเป็นแหล่งกำเนิดทางพระพุทธศาสนานั่นก็คือ อินเดียนั่นเอง

นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคาส่ง ราคาประหยัด ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ งานฌาปนกิจ

 

พิธีกรรมการเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รับมาจากอินเดีย

 

พิธีเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พิธีกรรมเผาศพ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่มีความสำคัญตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดีย โดยนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า  พิธีเผาศพเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาเดียวกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.1000 

 

ทั้งนี้ ในช่วงแรก พิธีเผาศพจะจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นนำของชนเผ่าเท่านั้น โดยมีการผสมผสานกับประเพณีและจารีตดั้งเดิมของชนเผ่าเพื่อให้พิธีมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ก่อนที่ในระยะเวลาต่อมา พิธีศพจะได้รับการเผยแพร่ไปสู่ชุมชนและเข้าสู่วิถีชีวิตของชาวบ้านสามัญชนในท้ายที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม กระบวนการผสมผสานของพิธีศพแบบพรามหณ์ฮินดูก็ไม่ได้กลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฉับพลันทันใด หากต้องใช้เวลาในการผสมเข้ากับพิธีกรรมตามความเชื่อของศาสนาผีที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของชุมชนมาอย่างยาวนาน

โดยในกรณีของ  พิธีกรรมเผาศพในแผ่นดินสยามนั้น ได้รับการผสมผสานระหว่างสามพื้นฐานความเชื่อ ได้แก่ ศาสนาผี, พรามหณ์ฮินดู และความเชื่อท้องถิ่น  จนปรากฏออกมาเป็นพิธีกรรมเผาศพดังที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

 

ศาสนาพุทธไทย คือศาสนาผี ปนพราหมณ์ เจือศัพท์พุทธธรรม

ศาสนาพุทธไทย คือศาสนาผี ปนพราหมณ์ เจือศัพท์พุทธธรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก https://medium.com/awarenet/ศาสนาพุทธไทย-คือศาสนาผี-ปนพราหมณ์-เจือศัพท์พุทธธรรม-94d5436650a2

 

พิธีเผาศพแบบอินเดีย

พิธีกรรมเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูนั้น จะมีจุดเด่นตรงที่  ชาวฮินดูจะไม่เก็บศพไว้นาน โดยจะจัดการศพด้วยวิธีการเผาไม่นานหลังการเสียชีวิต ศพจะถูกห่อหุ้มด้วยผ้า จากนั้นจะมีการโปรยดอกไม้เพื่อคลุมศพอีกชั้นหนึ่ง 

เมื่อเสร็จแล้ว ญาติหรือเพื่อนฝูงของผู้ตายจะนำร่างไร้วิญญาณขึ้นวางบนแคร่แล้วแบกไปยังพื้นที่ริมแม่น้ำ จากนั้นก็จะตั้งศพลงบนฟืนที่หาได้จากบริเวณนั้น เมื่อญาติผู้ตายมาครบแล้วก็จุดไฟเผาศพจนร่างเหลือเพียงเถ้าถ่าน ก็จะเก็บอัฐิที่หลงเหลืออยู่ไปลอยบนแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

 

การนำอัฐิไปลอยในแม่น้ำนั้น เป็นส่วนที่มีความสำคัญของพิธีกรรมเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดีย และสามัญชนทุกครัวเรือนก็มีการปฏิบัติตามประเพณีนี้จนเป็นจารีตของสังคม

 

จะมีกรณีงดเว้นก็แต่เมื่อพิธีถวายเพลิงพระบรมศพขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ที่บรรดากษัตริย์ผู้เลื่อมใสในพุทธศาสนาปรารถนาที่จะเก็บพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อบูชาสืบไป  พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงมิได้ถูกนำไปลอยในแม่น้ำตามความเชื่อของชาวฮินดูแต่อย่างใด ซึ่งก็นับว่าเป็นกรณีพิเศษจริงๆ 

 

พิธีเผาในประเทศไทย

 ในสมัยอยุธยานั้น พิธีเผาพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินจะใช้วิธีการถวายพระเพลิงบนเชิงตะกอน  ซึ่งเรียกอีกอย่างได้ว่า ‘กองฟอน(กองขี้เถ้าศพที่เผาแล้ว)

เมื่อพระบรมศพถูกเปลวไฟเผาไหม้จนดีแล้ว ข้าราชบริพารก็จะเชิญพระบรมอัฐิบรรจุลงในพระโกศแล้วนำลงเรือไปเพื่อลอยไปตามแม่น้ำ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม: โกศ โกศใส่อัฐิ สิ่งบรรจุกระดูกของผู้ล่วงลับเพื่อแทนสัญลักษณ์แห่งความรำลึก

 

ข้อควรรู้อีกประการหนึ่งคือ เรือดังกล่าวมีชื่อว่า เรือนาค เนื่องจากหัวเรือมีรูปสลักเป็นศีรษะของพญานาคตามความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

จะเห็นได้ว่า  พิธีเผาศพของประเทศไทย และรัฐอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีการรับพิธีกรรมเผาศพตามแบบศาสนาพรามหณ์ฮินดูเข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนา  โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ ‘น้ำ’ ที่เปรียบเสมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย

 การนำอัฐิไปลอยในแม่น้ำจึงเป็นการส่งผู้ตายหวนคืนสู่บ้านเกิดที่เป็นจุดกำเนิดของสรรพชีวิตอย่างสายน้ำ  นั่นเอง

 

ข้อมูลเพิ่มเติม: ลอยอังคาร พิธีส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติภูมิอันร่มเย็น

 

เรือนาค
เรือนาค – เรือพระที่นั่งรูปพญานาคเจ็ดเศียรสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุทธยา จากหนังสือ ‘Voyage Du Siam Des Peres Jesuites’ ของบาทหลวงกีย์ ตาชารด์ (Guy Tachard) ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1688 – ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.silpa-mag.com/royal-funeral-pyre/article_11382

 

ในงานศพสมัยโบราณต้องมีเรือนาคเป็นเรือสำคัญเพื่อส่งวิญญาณกลับสู่โลกเดิม คือ บาดาลหรือนาคพิภพ เพราะผู้ที่จะพาวิญญาณกลับไปได้อย่างปลอดภัยต้องเป็นนาคเท่านั้น

เรื่องเรือนาคมีร่องรอยและหลักฐานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศสมเด็จพระไชยราชาธิราช ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.silpa-mag.com/royal-funeral-pyre/article_11382

 

นอกจากนั้น  พิธีศพแบบฮินดูยังปรากฏในวรรณคดีพื้นบ้านของไทยอย่างเสภาขุนช้างขุนแผน  ซึ่งปรากฎภายหลังที่นางวันทองถูกเพชรฆาตประหารด้วยการฟันคอ บุตรชายของนางวันทองได้จัดการศพมารดาด้วยการมัดตราสังแล้วห่อศพด้วยผ้าขาว จากนั้นก็นำร่างไร้วิญญาณและศีรษะที่ขาดนำลงใส่โลงไม้ที่รองรับด้วยใบตอง เสร็จแล้วก็แบกโลงไปยังสุสานเพื่อทำพิธีฝังดิน

 

ทั้งนี้ เป็นไปตามพิธีกรรมในการจัดการกับศพตามความเชื่อของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งผสมผสานกับเข้าพิธีกรรมฮินดู นั่นคือ การนำศพฝังดินเพื่อรอเวลาให้ศพย่อยสลายจนเหลือแต่กระดูกจากนั้นจึงขุดแล้วนำมาเผาไฟ

 

ในกรณีพิธีศพของนางวันทองในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนก็ดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน เมื่อศพของนางวันทองย่อยสลายจนได้ที่แล้ว ก็ขุดร่างดังกล่าวขึ้นมาล้างน้ำให้สะอาดจากนั้นก็นำไปวางบนเชิงตะกอนซึ่งมีเครื่องประดับประดาตามบรรดาศักดิ์ของผู้ตายและญาติใกล้ชิด จากนั้นก็จัดการเผาศพจนเหลือเพียงเถ้าถ่าน  แล้วญาติมิตรสหายก็นำอัฐิที่เหลือไปลอยในแม่น้ำ ตรงตามประเพณีพิธีศพของศาสนาพรามหณ์ฮินดู

 

 พิธีเผาศพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากพิธีเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพรามหณ์ฮินดู  ซึ่งได้รับการเผยแพร่เข้ามาในภูมิภาคพร้อมกับศาสนาพุทธเมื่อเกือบ 1,500 ปีที่แล้ว ด้วยเหตุนี้ พิธีกรรมเกี่ยวกับการจัดการศพระหว่างอินเดียและรัฐสมาชิกอาเซียนจึงมีความคล้ายคลึงกัน

 สะท้อนให้เห็นถึงการไหลเวียนของวัฒนธรรมและประเพณีโดยมีการเผยแพร่พุทธศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญ  นั่นเอง

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only