
สวดอภิธรรม พิธีสวดศพ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า พิธีสวดอภิธรรมศพ สวดพระอภิธรรม นับว่าเป็นหนึ่งในประเพณีเก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย
และถือว่าเป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก เนื่องจาก เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะดำเนินการพระราชทานเพลิงศพหรือฌาปนกิจต่อไปเมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรม
สวดอภิธรรม คือ <–คลิกอ่าน
ขั้นตอนสวดพระอภิธรรม <–คลิกอ่าน
สวดอภิธรรม ใช้พระกี่รูป <–คลิกอ่าน
พระสวดอภิธรรม กี่โมง <–คลิกอ่าน
พระสวดอภิธรรม กี่นาที <–คลิกอ่าน
สวดอภิธรรม กี่วัน <–คลิกอ่าน
สวดอภิธรรม ภาษาอังกฤษ <–คลิกอ่าน
สวดอภิธรรม เพื่ออะไร <–คลิกอ่าน
อย่างไรก็ตาม น้อยคนจะรู้ว่าพิธีกรรมสวดศพนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เข้ามาในประเทศไทยเมื่อใด และเหตุใดจึงต้องมีลำดับพิธีดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
บทความนี้ จะพาคุณย้อนกลับไปในอดีตเพื่อสืบสาวหาที่มาของพิธีกรรมสวดศพในประเทศไทย
รวมถึงตอบคำถามว่าทำไมประเพณีดังกล่าวจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของสังคมไทย
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
- สวดอภิธรรม คือ
- การสวดพระอภิธรรมในงานศพ @ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- ความเป็นมาของพิธีกรรมสวดศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ประวัติการสวดพระอภิธรรม
- สาระสำคัญของพิธีสวดอภิธรรมศพ
- สวดอภิธรรม ใช้พระกี่รูป
- ขั้นตอนสวดพระอภิธรรม
- มูลเหตุการสวดพระอภิธรรม
- บทสวดพระอภิธรรม 7 คำภีร์ (แปล)
- สวดอภิธรรม ภาษาอังกฤษ
- สวดอภิธรรม เพื่ออะไร
- ของชําร่วย ยาพารา ถูกสุด 27 บาท ราคาโรงงาน ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว/กล่องลายไทย Cemol 50 เม็ด
- ยาดมสมุนไพร ของชำร่วย ราคาถูกสุด 6 บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ยาดม ราคาส่ง
- ยาหม่องน้ำ ของชําร่วย ราคาถูกสุด 27 บาท ฟรีถุงผ้าไหมแก้ว ฟรีสติ๊กเกอร์
- พิมเสนน้ำ หัวลูกกลิ้ง ฝาทอง ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
- ไฟฉายด้ามยาว LED ของชำร่วย ราคาส่ง 12+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์
- ไฟฉาย ของชำร่วยงานศพ งานแต่ง งานเกษียณ ราคาถูก ฟรีสติ๊กเกอร์
- กระเป๋าใส่เหรียญ ของชำร่วย ราคาถูก 11+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ กระเป๋าใส่เงิน
- ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ พกพา ราคาส่ง [16 บาท] ฟรีสติ๊กเกอร์ ออกแบบฟรี
- ของชําร่วย พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ หนังสือสวดมนต์ แผ่นพับสวดมนต์ ราคาส่ง 10+ บาท
- ยาหม่อง ของชําร่วย ราคาส่ง 31+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว ยาหม่องตราถ้วยทอง
- พิมเสนน้ำ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก 5+ บาท ฟรีสติ๊กเกอร์ ของชำร่วย
สวดอภิธรรม คือ
รู้จักพิธีกรรมสวดศพ งานพิธีกรรมสวดพระอภิธรรมศพในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิตที่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ ไม่มีใครสามารถหลบหนีความตายได้ เมื่อถึงวัยอันสมควร ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ก็จะแตกดับและกลับคืนสู่ผืนดินเป็นความจริงของชีวิต
การสวดอภิธรรมในงานศพนอกจากจะ เป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับแล้ว ยังเป็นการ เตือนให้ผู้เข้าร่วมงานตระหนักถึงความเปราะบางและสัจธรรมแห่งชีวิต ช่วยให้ปล่อยวางและสร้างคุณค่าแห่งการดำรงอยู่ของตนเองด้วยการทำความดี และเอาใจใส่คนรอบข้างมากขึ้น
เพราะในท้ายที่สุดทุกคนต้องจากโลกนี้ไป มีทรัพย์สมบัติมากมายเท่าใดก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ มีเพียงบุญกุศลและคุณประโยชน์เท่านั้นที่เหลืออยู่ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและรำลึกถึง
การสวดพระอภิธรรมในงานศพ @ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ ประธานสงฆ์แห่งวัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิพเพธพลาราม ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ถือว่าเป็นนักปราชญ์แห่งภาคอีสาน
งานศพเป็นงานสั่งสอนธรรม เรื่องราวของชีวิต ที่ชัดเจน

ความเป็นมาของพิธีกรรมสวดศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนหน้าที่จะกลายมาเป็นพิธีสวดอภิธรรมศพที่มีรายละเอียดแบบแผนที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน พิธีกรรมศพในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้ดำรงอยู่อย่างยาวนานมามากกว่าหลายพันปี แต่ส่วนใหญ่พิธีกรรมดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีรากฐานมาจากความเชื่อโบราณเกี่ยวกับศาสนาผี ไม่ว่าจะเป็นการฝังศพลงในพื้นดินพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยเชื่อว่าผู้ล่วงลับจะสามารถนำไปใช้ในโลกหลังความตายได้

พิธีศพในลักษณะเช่นนี้มักจะจัดขึ้นอย่างสนุกสนานครื้นเครง มีการละเล่นมโหรสพและขับบทประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมาย เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ล่วงลับ แต่พิธีกรรมดังกล่าวค่อย ๆ เปลี่ยนไปพร้อมกับการเข้ามามีอิทธิพลของศาสนาพรามหณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม ก็ยังปรากฏร่องรอยของความเชื่อโบราณที่ได้รับการผสมผสานกลมกลืนกับความเชื่อใหม่ทางศาสนาเกี่ยวกับพิธีกรรมสวดศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบรรเลงปี่พาทย์นางหงส์ และการประโคมย่ำยามในพิธีศพของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หรือเชื้อพระวงศ์ รวมทั้ง การละเล่นหรือการจัดการแสดงงิ้ว ลิเก หรือหนังตะลุงในงานสวดอภิธรรมศพของหลายพื้นที่ในประเทศไทยอีกด้วย

ประวัติการสวดพระอภิธรรม
พิธีกรรมสวดศพแบบไทย ที่มาและความสำคัญ
งานของสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ แสดงให้เห็นว่าพิธีกรรมสวดศพแบบไทยที่คนส่วนใหญ่คุ้นชินในปัจจุบันนั้น เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการพิธีกรรมฝังศพตามความเชื่อโบราณในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเป็นการเผาศพตามอิทธิพลของศาสนาพรามหรณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาที่รับมาจากประเทศอินเดียในสมัยอยุธยา
โดยเริ่มจากพิธีถวายพระเพลิงกษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูง ก่อนที่จะเผยแพร่ลงมาสู่สามัญชนเมื่อเวลาผ่านไป
ทั้งนี้ พิธีกรรมสวดอภิธรรมศพนั้นก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไปตามแต่จารีตและแบบแผนการปฏิบัติในแต่ละท้องถิ่น เพียงแต่คงสาระสำคัญบางประการของการสวดอภิธรรมศพของส่วนกลาง อาทิ การทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์หลังเสร็จสิ้นพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืน
พิธีสวดอภิธรรมศพที่สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นในสมัยอยุธยา นั้น เชื่อว่าการบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสังขารที่ร่วงโรยไปตามวันเวลา และเป็นการย้ำเตือนผู้เข้าร่วมพิธีสวดให้ตระหนักถึงความเป็นไปของชีวิต

คำว่าอภิธรรมในพิธีสวดนั้น ย่อมหมายถึงธรรมะที่เป็นคำสอนสูงสุดอันลึกซึ้งที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาไว้ เกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นวัฏจักรของชีวิตที่ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่ายากดีมีจน
บทสวดอภิธรรมจึงไม่กล่าวถึงตัวบุคคลหรือสิ่งมีชีวิต แต่กล่าวถึงการกระจายสรีระร่างกายออกเป็นขันธ์ 5 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 หรือ อายตนะ 12
กล่าวคือไม่มีตัวตน มีเพียงความว่างเปล่า เมื่อธาตุทั้งหลายที่มารวมตัวกันเป็นชีวิตได้ดับสิ้นไป ก็ไร้ซึ่งความห่วงหาอาทร ไม่มีความรู้สึกใดหลงเหลืออยู่
นอกจากนั้น การสวดอภิธรรมศพยังเชื่อว่าเป็นการสนองพระคุณบิดา มารดา ตามแบบจริยวัตรของพระพุทธเจ้า ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นแบบแผนประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ทั้งนี้ เนื้อหาของบทสวดอภิธรรมยังมีความเกี่ยวข้องกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อพระภิกษุสงฆ์สวดบทดังกล่าวในงานศพจะช่วยให้ผู้ล่วงลับได้บุญกุศลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
การสวดอภิธรรมงานศพจึงได้รับการสืบทอดตลอดมานับตั้งแต่สมัยอยุธยาจนปัจจุบันก็เป็นเวลากว่าหลายร้อยปี
และเชื่อว่าในอนาคต พิธีสวดอภิธรรมศพจะช่วยคงดำรงอยู่สืบเนื่องไปพร้อม ๆ กับความเชื่อโบราณเกี่ยวกับโลกหลังความตายที่ผสมผสานเข้ากับพิธีกรรมของศาสนาพรามหณ์และพุทธที่ผสมกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี นั่นเอง
สาระสำคัญของพิธีสวดอภิธรรมศพ
สำหรับสาระสำคัญหรือกำหนดการ ตลอดจนข้อควรปฏิบัติต่างๆ ของพิธีการสวดอภิธรรมศพ มีดังนี้
1. จำนวนวันของการพิธีกรรมสวดศพ
ตามปกติแล้ว การสวดอภิธรรมศพนั้นจะเริ่มต้นในวันที่มีพิธีตั้งศพในศาลาวัด แต่ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจะต้องสวดให้ครบกี่คืน แม้ว่าส่วนใหญ่ การสวดอภิธรรมศพจะจัดตั้งแต่การตั้งศพสืบเนื่องต่อไปเป็นเวลา 7 คืน แต่ครอบครัวของผู้วายชนม์อาจเลือกที่จะสวดเพียง 3 คืน หรือ 5 คืนได้เช่นกัน
ทั้งนี้ เป็นไปตามจำนวนแขกและระยะเวลาที่เจ้าภาพจะสามารถจัดเตรียมพิธีฌาปนกิจหรือขอพระราชทานเพลิงศพได้โดยสะดวก

2. เวลาในการสวดอภิธรรมศพ
พระสวดอภิธรรม กี่โมง กี่นาที การสวดอภิธรรมศพจะเริ่มเมื่อแขกที่มาเข้าร่วมพิธีเริ่มทยอยเดินทางมาถึง ส่วนใหญ่งานสวดจะเริ่มขึ้นหลังเวลาหกโมงเย็นเป็นต้นไป แต่ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าต้องเริ่มเวลาเมื่อใด
ทั้งนี้ เป็นไปตามความสะดวกของเจ้าภาพและพระภิกษุสงฆ์เป็นสำคัญ ระยะเวลาที่ใช้ในการสวดอภิธรรมจะอยู่ที่ ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับแบบแผนและจารีตของการสวดอภิธรรมศพในแต่ละท้องถิ่น อาจเร็วหรือใช้เวลามากกว่านี้ก็ได้เช่นกัน
3. อุปกรณ์ที่เจ้าภาพต้องเตรียมในงานสวดอภิธรรมศพ
แม้ว่าในพิธีกรรมสวดศพส่วนใหญ่ ข้าวของที่จำเป็นสำหรับการใช้ในพิธี ทางวัดจะเตรียมไว้ให้หรือมีผู้จัดเตรียมให้กับเจ้าภาพโดยอัตโนมัติ เนื่องจากวัดต้องจัดงานสวดอภิธรรมศพแทบทุกคืนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ก็มีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในพิธีที่เจ้าภาพอาจจะต้องเตรียมไว้เพิ่มเติม อาทิ
- เครื่องทองน้อย
- ผ้าไตร หรือผ้าสำหรับทอดบังสุกุล เป็นต้น
สวดอภิธรรม ใช้พระกี่รูป
สวดอภิธรรม กี่วัน
สวดอภิธรรม พระกี่รูป, สวดอภิธรรม กี่วัน – งานสวดอภิธรรมศพ จะกำหนดเป็นวันคี่ เช่น 1, 3, 5, หรือ 7 วัน เป็นต้น และมีการนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 4 รูป เพื่อดำเนินการสวดพระอภิธรรม จำนวน 4 จบ มีการถวายสังฆทาน พร้อมถวายผ้าบังสุกุล

ขั้นตอนสวดพระอภิธรรม
ขั้นตอนการปฏิบัติระหว่างการสวดอภิธรรมศพ สำหรับพิธีกรรมสวดศพโดยทั่วไปจะมีแบบแผนการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถสรุปออกเป็นลำดับขั้นตอนได้ดังนี้
1. เจ้าภาพเตรียมของก่อนเริ่มต้นสวดอภิธรรมศพ
ก่อนที่จะมีการสวดอภิธรรมศพและแขกเหรื่อต่าง ๆ มาเข้าร่วมพิธีนั้น เจ้าภาพจะต้องเตรียมข้าวของให้พร้อมเพื่อให้พิธีสวดเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะ เครื่องไทยธรรม และ ผ้าสบง และ ผ้าไตร หรือ ผ้าสำหรับทอดบังสุกุล ซึ่งจะต้องใช้ในพิธีสวด ตลอดจนปัจจัยถวายพระและอาหารสำหรับเลี้ยงผู้คนที่มาร่วมการฟังสวด
รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้เจ้าภาพอาจสอบถามกับทางวัดว่ามีสิ่งใดที่สามารถจัดเตรียมให้ได้บ้าง เนื่องจากวัดล้วนแล้วแต่ต้องจัดงานสวดอภิธรรมศพเป็นประจำทุกคืนอยู่แล้ว ดังนั้น อาจมีข้าวของและอุปกรณ์ที่เจ้าภาพสามารถหยิบยืมหรือให้ทางวัดช่วยจัดหาให้เพื่อลดธุรการลงไปได้บ้าง
2. นิมนต์พระสงฆ์
สำหรับการสวดพระอภิธรรมศพนั้น เจ้าภาพจะต้อง นิมนต์พระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูป มาเพื่อดำเนินการ สวดพระอภิธรรมจำนวน 4 จบ
โดยเวลาในการเริ่มต้นสวดศพนั้นอาจเริ่มตั้งแต่ 18:00 เป็นต้นไป หรือตามแต่ระยะเวลาที่เจ้าภาพสะดวก ระยะเวลาในการสวดจะอยู่ระหว่างครึ่งชั่วโมงถึงสองชั่วโมง
3. การแสดงความเคารพต่อศพ
สำหรับแขกผู้เข้าร่วมงานพิธีกรรมสวดพระอภิธรรมศพ ตามปกติแล้วเมื่อเดินทางมาถึงศาลาที่ตั้งศพ ควรเริ่มต้นด้วยการกราบเบญจางคประดิษฐ์เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ภายใน ก่อนจะจุดธูปจำนวนหนึ่งดอกเพื่อไหว้เคารพผู้ล่วงลับ โดยการ
- กราบจำนวน 1 ครั้งโดยไม่ต้องแบมือ กรณีที่ผู้ล่วงลับเป็นผู้สูงอายุ
- กราบเบญจางคประดิษฐ์ กรณีที่ผู้ล่วงลับเป็นพระสงฆ์
- ยืนคำนับ หรือนั่งไหว้ กรณีที่ผู้ล่วงลับอยู่ในช่วงวัยเดียวกัน
นอกจากนั้น ในกรณีที่ผู้ล่วงลับเป็นเด็กหรือทารก อาจใช้วิธีการโค้งคำนับ ยืน หรือนั่งในท่าทางที่สงบ เพื่อแสดงความเคารพแทนได้เช่นกัน

.
4. การปฏิบัติหลังสวดพระอภิธรรมศพเสร็จสิ้น
หลังจากพระภิกษุสงฆ์ได้ดำเนินการสวดอภิธรรมศพจนเสร็จสิ้นครบ 4 จบแล้ว ก็จะถึงเวลาที่เจ้าภาพจะต้องถวายไทยธรรม ชักผ้าภูษาโยงหรือด้ายสายสิญจน์ ก่อนที่จะเชิญแขกผู้เข้าร่วมงานทอดผ้าบังสุกุล
จากนั้นพระสงฆ์ก็จะชักผ้าบังสุกุลแล้วอนุโมทนาพร้อม ๆ กับการกรวดน้ำโดยเจ้าภาพ โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที
จากนั้นเจ้าภาพก็จะส่งพระภิกษุสงฆ์กลับก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีสวดอภิธรรมศพในแต่ละคืน โดยเจ้าภาพควรเตรียม snack box งานศพ (อาหารหรือของว่างงานสวด) ให้กับแขกผู้ร่วมพิธีได้รับประทานก่อนกลับบ้านด้วยเช่นกัน

มูลเหตุการสวดพระอภิธรรม
มูลเหตุการสวดพระอภิธรรม (๑) ธัมมสังคณี
โดย อ.ดิษกฤต สาสนเวชช์

บทสวดพระอภิธรรม 7 คำภีร์ (แปล)

สวดอภิธรรม ภาษาอังกฤษ
สวดอภิธรรม ภาษาอังกฤษ คือ Thai funeral prayer
สวดอภิธรรม เพื่ออะไร
ประโยชน์ของการสวดอภิธรรมศพ
1. ช่วยให้ผู้ล่วงลับได้บุญกุศลติดตัวไป เนื่องจากบทสวดอภิธรรมศพนับว่าเป็นบทสวดที่มีความลุ่มลึกมากที่สุดบทหนึ่งในศาสนาพุทธ
2. ช่วยย้ำเตือนให้ผู้เข้าร่วมพิธีสวดอภิธรรมได้ตระหนักถึงธรรมชาติของชีวิตที่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา อีกทั้ง ยังชี้แนะให้เห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพราะท้ายที่สุดแล้วไม่มีใครหนีความตายพ้น ปลายทางของทุกชีวิตคือความตายที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้
3. เป็นการทำนุบำรุงพุทธศาสนา เนื่องจากบทสวดพระอภิธรรมศพมีเนื้อหาใจความเกี่ยวกับแก่นของพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญกับการปล่อยวางจากการยึดมั่นถือมั่น การแสดงธรรมะให้เห็นว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และความเป็นไปในโลกล้วนเกิดแต่กรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุและผล
4. เป็นการแสดงความเคารพรักแก่ผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย การสวดอภิธรรมศพเป็นโอกาสที่ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จักจะได้มารวมตัวกันเพื่อแสดงความเคารพรักต่อผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้าย ความดีที่สั่งสมมาทั้งชีวิตจะปรากฏเมื่อเห็นว่ามีผู้มาร่วมงานศพมากน้อยเพียงใด

การสวดพระอภิธรรมศพ นั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีความเก่าแก่และอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน แม้ว่ารายละเอียดแบบแผนของพิธีจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมไปตามแต่ละยุคสมัย แต่เนื้อหาใจความของพิธีสวดพระอภิธรรมศพยังคงมีความหมายเดิม
นั่นคือ การสอนให้ทุกคนตระหนักรู้ถึงสัจธรรมของชีวิต และย้ำเตือนว่าระหว่างที่ยังมีชีวิต ควรทำแต่ความดีและสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพราะไม่มีใครหลีกเลี่ยงความตายได้
และที่สำคัญคือ ไม่มีวันรู้ว่าความตายจะมาเยือนตนเองเมื่อใด จึงควรใช้วันเวลาทุกวันอย่างคุ้มค่าเพื่อที่จะได้ไม่มีสิ่งใดให้ต้องเสียดายยามถึงวันสุดท้ายของชีวิต
บทความที่น่าสนใจ:
ลอยอังคาร พิธีส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติภูมิอันร่มเย็น
การทำบุญ 100 วัน งานบุญครบรอบวันเสียชีวิต ส่งกุศลให้กับดวงวิญญาณผู้วายชนม์
ของชำร่วยงานศพ ของที่ระลึกงานฌาปนกิจ ราคาส่ง
ข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งซื้อ คลิก https://Nippangift.com/top-10-funeral-souvenirs/
พิธาน
สวดพระอภิธรรม 100 วัน งานบำเพ็ญกุศลศพหลวงปู่ใหญ่
https://m.mgronline.com/local/detail/9630000021168