
งานศพและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตกาล แต่อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามประเพณีและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น
สำหรับพิธีกรรมการเผาศพของไทยนั้น คุณรู้หรือไม่ว่าได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากวัฒนธรรมอินเดีย ที่เป็นอู่อารยธรรมหลายประการว่าแต่พิธีกรรมงานศพในบ้านเรามีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะพาคุณไปติดตามข้อมูลซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของพิธีกรรมการเผาศพจากแดนภารตะ โดยเป็นแหล่งกำเนิดทางพระพุทธศาสนานั่นก็คือ อินเดียนั่นเอง
นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคาส่ง ราคาประหยัด ของชําร่วย สเปรย์แอลกอฮอล์ งานฌาปนกิจ
พิธีเผาศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิธีกรรมเผาศพ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่มีความสำคัญตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดีย โดยนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พิธีเผาศพเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาเดียวกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.1000
ทั้งนี้ ในช่วงแรก พิธีเผาศพจะจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นนำของชนเผ่าเท่านั้น โดยมีการผสมผสานกับประเพณีและจารีตดั้งเดิมของชนเผ่าเพื่อให้พิธีมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ก่อนที่ในระยะเวลาต่อมา พิธีศพจะได้รับการเผยแพร่ไปสู่ชุมชนและเข้าสู่วิถีชีวิตของชาวบ้านสามัญชนในท้ายที่สุด
อย่างไรก็ตาม กระบวนการผสมผสานของพิธีศพแบบพรามหณ์ฮินดูก็ไม่ได้กลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฉับพลันทันใด หากต้องใช้เวลาในการผสมเข้ากับพิธีกรรมตามความเชื่อของศาสนาผีที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของชุมชนมาอย่างยาวนาน
โดยในกรณีของ พิธีกรรมเผาศพในแผ่นดินสยามนั้น ได้รับการผสมผสานระหว่างสามพื้นฐานความเชื่อ ได้แก่ ศาสนาผี, พรามหณ์ฮินดู และความเชื่อท้องถิ่น จนปรากฏออกมาเป็นพิธีกรรมเผาศพดังที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ศาสนาพุทธไทย คือศาสนาผี ปนพราหมณ์ เจือศัพท์พุทธธรรม
ขอบคุณข้อมูลจาก https://medium.com/awarenet/ศาสนาพุทธไทย-คือศาสนาผี-ปนพราหมณ์-เจือศัพท์พุทธธรรม-94d5436650a2
พิธีเผาศพแบบอินเดีย
พิธีกรรมเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูนั้น จะมีจุดเด่นตรงที่ ชาวฮินดูจะไม่เก็บศพไว้นาน โดยจะจัดการศพด้วยวิธีการเผาไม่นานหลังการเสียชีวิต ศพจะถูกห่อหุ้มด้วยผ้า จากนั้นจะมีการโปรยดอกไม้เพื่อคลุมศพอีกชั้นหนึ่ง
เมื่อเสร็จแล้ว ญาติหรือเพื่อนฝูงของผู้ตายจะนำร่างไร้วิญญาณขึ้นวางบนแคร่แล้วแบกไปยังพื้นที่ริมแม่น้ำ จากนั้นก็จะตั้งศพลงบนฟืนที่หาได้จากบริเวณนั้น เมื่อญาติผู้ตายมาครบแล้วก็จุดไฟเผาศพจนร่างเหลือเพียงเถ้าถ่าน ก็จะเก็บอัฐิที่หลงเหลืออยู่ไปลอยบนแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
การนำอัฐิไปลอยในแม่น้ำนั้น เป็นส่วนที่มีความสำคัญของพิธีกรรมเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดูในอินเดีย และสามัญชนทุกครัวเรือนก็มีการปฏิบัติตามประเพณีนี้จนเป็นจารีตของสังคม
จะมีกรณีงดเว้นก็แต่เมื่อพิธีถวายเพลิงพระบรมศพขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ที่บรรดากษัตริย์ผู้เลื่อมใสในพุทธศาสนาปรารถนาที่จะเก็บพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อบูชาสืบไป พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงมิได้ถูกนำไปลอยในแม่น้ำตามความเชื่อของชาวฮินดูแต่อย่างใด ซึ่งก็นับว่าเป็นกรณีพิเศษจริงๆ
พิธีเผาในประเทศไทย
ในสมัยอยุธยานั้น พิธีเผาพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินจะใช้วิธีการถวายพระเพลิงบนเชิงตะกอน ซึ่งเรียกอีกอย่างได้ว่า ‘กองฟอน’ (กองขี้เถ้าศพที่เผาแล้ว)เมื่อพระบรมศพถูกเปลวไฟเผาไหม้จนดีแล้ว ข้าราชบริพารก็จะเชิญพระบรมอัฐิบรรจุลงในพระโกศแล้วนำลงเรือไปเพื่อลอยไปตามแม่น้ำ
ข้อมูลเพิ่มเติม: โกศ โกศใส่อัฐิ สิ่งบรรจุกระดูกของผู้ล่วงลับเพื่อแทนสัญลักษณ์แห่งความรำลึก
ข้อควรรู้อีกประการหนึ่งคือ เรือดังกล่าวมีชื่อว่า เรือนาค เนื่องจากหัวเรือมีรูปสลักเป็นศีรษะของพญานาคตามความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย
จะเห็นได้ว่า พิธีเผาศพของประเทศไทย และรัฐอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีการรับพิธีกรรมเผาศพตามแบบศาสนาพรามหณ์ฮินดูเข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับ ‘น้ำ’ ที่เปรียบเสมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย
การนำอัฐิไปลอยในแม่น้ำจึงเป็นการส่งผู้ตายหวนคืนสู่บ้านเกิดที่เป็นจุดกำเนิดของสรรพชีวิตอย่างสายน้ำ นั่นเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม: ลอยอังคาร พิธีส่งดวงวิญญาณสู่สุขคติภูมิอันร่มเย็น

ในงานศพสมัยโบราณต้องมีเรือนาคเป็นเรือสำคัญเพื่อส่งวิญญาณกลับสู่โลกเดิม คือ บาดาลหรือนาคพิภพ เพราะผู้ที่จะพาวิญญาณกลับไปได้อย่างปลอดภัยต้องเป็นนาคเท่านั้น
เรื่องเรือนาคมีร่องรอยและหลักฐานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศสมเด็จพระไชยราชาธิราช ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.silpa-mag.com/royal-funeral-pyre/article_11382
นอกจากนั้น พิธีศพแบบฮินดูยังปรากฏในวรรณคดีพื้นบ้านของไทยอย่างเสภาขุนช้างขุนแผน ซึ่งปรากฎภายหลังที่นางวันทองถูกเพชรฆาตประหารด้วยการฟันคอ บุตรชายของนางวันทองได้จัดการศพมารดาด้วยการมัดตราสังแล้วห่อศพด้วยผ้าขาว จากนั้นก็นำร่างไร้วิญญาณและศีรษะที่ขาดนำลงใส่โลงไม้ที่รองรับด้วยใบตอง เสร็จแล้วก็แบกโลงไปยังสุสานเพื่อทำพิธีฝังดิน
ทั้งนี้ เป็นไปตามพิธีกรรมในการจัดการกับศพตามความเชื่อของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งผสมผสานกับเข้าพิธีกรรมฮินดู นั่นคือ การนำศพฝังดินเพื่อรอเวลาให้ศพย่อยสลายจนเหลือแต่กระดูกจากนั้นจึงขุดแล้วนำมาเผาไฟ
ในกรณีพิธีศพของนางวันทองในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนก็ดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน เมื่อศพของนางวันทองย่อยสลายจนได้ที่แล้ว ก็ขุดร่างดังกล่าวขึ้นมาล้างน้ำให้สะอาดจากนั้นก็นำไปวางบนเชิงตะกอนซึ่งมีเครื่องประดับประดาตามบรรดาศักดิ์ของผู้ตายและญาติใกล้ชิด จากนั้นก็จัดการเผาศพจนเหลือเพียงเถ้าถ่าน แล้วญาติมิตรสหายก็นำอัฐิที่เหลือไปลอยในแม่น้ำ ตรงตามประเพณีพิธีศพของศาสนาพรามหณ์ฮินดู
พิธีเผาศพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากพิธีเผาศพตามความเชื่อของศาสนาพรามหณ์ฮินดู ซึ่งได้รับการเผยแพร่เข้ามาในภูมิภาคพร้อมกับศาสนาพุทธเมื่อเกือบ 1,500 ปีที่แล้ว ด้วยเหตุนี้ พิธีกรรมเกี่ยวกับการจัดการศพระหว่างอินเดียและรัฐสมาชิกอาเซียนจึงมีความคล้ายคลึงกัน สะท้อนให้เห็นถึงการไหลเวียนของวัฒนธรรมและประเพณีโดยมีการเผยแพร่พุทธศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญ นั่นเอง