เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ

เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ

เมรุ หรือ เมรุเผาศพ เมรุเผา เป็นสถานที่ที่ทุกคนไม่มีใครต้องการอยากใช้ หากแต่กลับเป็นสถานที่ที่ทุกคนจะต้องได้ใช้กันอย่างแน่นอน หลังจากละสังขารอำลาโลกนี้ไปแล้ว

ซึ่งลักษณะของเมรุเผาศพที่ใช้กันจะมีรูปแบบและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีลักษณะที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยการนำเมรุมาใช้ในงานเผาศพ งานศพ ก็มีประวัติความเป็นมา ประวัติเมรุ และมีความเชื่อที่น่าสนใจดังนี้

เมรุลอย คืออะไร <–คลิกอ่าน

เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ

เมรุอ่านว่า

เมรุ อ่านว่า เมน

เมรุมาศ อ่านว่า เม-รุ-มาด

เมรุมาศ คําอ่าน เม-รุ-มาด

พระเมรุ อ่านว่า พระ-เมน

พระเมรุมาศ อ่านว่า พระ-เม-รุ-มาด

เมรุ ภาษาอังกฤษ Crematorium

พระเมรุมาศ ภาษาอังกฤษ Royal Crematorium

 

พระเมรุมาศ ความเชื่อ

พระเมรุมาศ ในหลวง ร.9
พระเมรุมาศ ในหลวง ร.9 – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก Thairath.co.th/news/local/1108337

 

ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ มีความเชื่อว่า กษัตริย์เป็นสมมุติเทพ คือ เป็นเทพมาจุติเพื่อช่วยปวงประชาให้รอดพ้นจากภัยอันตรายและอยู่อย่างร่มเย็น ซึ่งที่สิงสถิตของเทพตามความเชื่อก็คือ ยอดเขาพระสุเมรุ

 

ดังนั้นเมื่อกษัตริย์ได้สวรรคตแล้ว เพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณกลับสู่ยอดเขาพระสุเมรุ จึงมีการสร้าง พระเมรุมาศ สำหรับใช้ในการเผาศพพระมหากษัตริย์ ซึ่งลักษณะของพระเมรุมาศจะเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาเป็นยอด มีการล้อมรั้วรอบตัวอาคาร

 

ดังนั้น การสร้างพระเมรุมาศจึงถือเป็นการถวายพระเกียรติแต่พระมหากษัตริย์นั่นเอง

 

พระเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต

ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia

 

พระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ ๙
พระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ ๙ – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก Matichon.co.th/prachachuen/news_685133

 

พระเมรุมาศ ร.9

พระเมรุมาศ ร.9 ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ | 19-10-60 | ไทยรัฐนิวส์โชว์

YouTube video

.
กบนอกกะลา : พระเมรุมาศ (1) | FULL (2 พ.ย.60)

YouTube video

.
กบนอกกะลา : พระเมรุมาศ (2) | FULL (9 พ.ย.60)

YouTube video

.
พระเมรุมาศ สุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมไทย ตอน 1 | 06-05-60 | ไทยรัฐนิวส์โชว์

YouTube video

.
พระเมรุมาศ สุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมไทย ตอน 2 | 07-05-60 | ไทยรัฐนิวส์โชว์

YouTube video

.

ประวัติความเป็นมาของเมรุในประเทศไทย

ประวัติเมรุ สามารถจำแนกเป็นแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

 

1. สมัยสุโขทัย

 จากประวัติศาสตร์ได้พบบันทึกการสร้างเมรุเผาศพตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ในคัมภีร์ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วงซึ่งถือว่าเป็นบันทึกทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีความเก่าแก่มากที่สุดของไทย

 

โดยเมรุเผาศพที่สร้างขึ้นในช่วงแรกจะเป็นเมรุสำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า “พระเมรุมาศ

และพระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า “พระเมรุ” เท่านั้น

 

2. สมัยอยุธยา

ต่อมาในสมัยอยุธยา พบว่าการสร้างพระเมรุมาศเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการสร้างพระเมรุมาศอย่างยิ่งใหญ่ เนื่องจากในสมัยอยุธยามีความรุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมและเศรษฐกิจ ทำให้การสร้างพระเมรุมาศจะทำการสร้างเพื่อเป็นเกียรติให้กับมหากษัตริย์องค์ก่อนที่ได้สวรรคตไปแล้ว

โดยรูปแบบของพระเมรุมาศที่ทำการก่อสร้างได้มีการสันนิษฐานว่า เป็นรูปแบบที่ถอดแบบมาจากนครวัด ซึ่งเป็นสุสานฝังพระศพของพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากในขณะนั้น

 

เนื่องจากมีบันทึกการสร้างพระเมรุมาศของสมเด็จพระนเรศวร ที่สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงทำการสร้างถวายเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้กับองค์สมเด็จพระนเรศวรที่ทรงสวรรคตไป

การสร้างพระเมรุมาศในสมัยอยุธยาถือเป็นช่วงที่การสร้างพระเมรุมาศมีความยิ่งใหญ่อลังการที่สุดก็ว่าได้

 

3. สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น บ้านเมืองอยู่ในยุคที่มีสงคราม ทำให้การสร้างพระเมรุมาศมีการลดขนาดและความยิ่งใหญ่ลงมาให้เหมาะสมกับสถานการณ์

และในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระเมรุมาศที่สมพระเกียรติพระมหากษัตริย์อีกครั้งเพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เนื่องจากในขณะนั้นสงครามได้ยุติลงและบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทำให้มีความพร้อมในการสร้างพระเมรุมาศ และเป็นการเพื่อสนองพระคุณของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกที่ทรงมีต่อปวงชนชาวสยามด้วย

 

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการจัดสร้างพระเมรุมาศที่กลับมาสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณีในสมัยอยุธยา เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดี

นอกจากนั้นยังได้มีการสร้าง เกรินบันไดนาค สำหรับเชิญพระโกศที่บรรจุพระบรมศพไปยังพระเมรุมาศเพิ่มขึ้นมาด้วย

เกรินบันไดนาค
เกรินบันไดนาค – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก http://phramerumas.finearts.go.th/item.php?itemID=13

 

ซึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้เอง ที่ได้พบบันทึกการสร้าง เมรุเผาศพแบบถาวร ขึ้น สำหรับใช้ในการเผาศพเจ้านายและข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตลง

เนื่องจากมีความเห็นว่า การสร้างพระเมรุเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาในการสร้างเมรุแบบเดิม เพื่อเป็นการประหยัดจึงมีดำริให้มีการสร้าง เมรุแบบถาวรที่ทำจากปูน ขึ้นที่วัดสระเกศ

ซึ่งเมรุแห่งนี้จากคำบอกเล่าพบว่าลักษณะของเมรุที่สร้างขึ้นคล้ายกับพระเมรุมาศ เพียงแต่มีการย่อส่วนให้เล็กลง โดยเมรุแห่งนี้จะใช้ในการเผาศพที่ได้รับพระราชทานเพลิงศพเท่านั้น จึงถือเป็นเมรุสำหรับเผาศพพระบรมวงศานุวงศ์และชนชั้นสูงเท่านั้น ทว่าเมารุแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตชุมชนจึงทำให้การใช้งานไม่สะดวก

 

พระเมรุ วัดเทพศิรินทร์

 

ต่อมาในปี พ.ศ.2437 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการสร้างเมรุแบบถาวรที่ทำจากปูนขึ้นใหม่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งเมรุแห่งนี้มีจุดประสงค์การสร้างเพื่อให้ใช้ในการเผาศพให้กับทุกชนชั้น ตามที่พระองค์จะพระบรมราชานุญาต

 

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดา ข้าราชการหรือพ่อค้าทั่วไปก็สามารถมาทำการเผาที่เมรุแห่งนี้ได้ หากได้รับพระราชทานอนุญาตจากพระองค์ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทำการเผาที่เมรุแห่งนี้จะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์เป็นส่วนใหญ่

 

ซึ่งเมรุแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นในวัดเทพศิรินทรวาสนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลผู้คน จึงสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก โดยที่ไม่สร้างผลกระทบให้กับผู้ที่อยู่รอบข้าง ทำให้เมรุแห่งนี้ได้รับความนิยมเข้ามาใช้งานมากกว่าเมรุเดิมที่วัดสระเกศ

 

เมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

 

นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เมรุแห่งนี้ในการปลงพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และมีการตั้งพลับพลาแบบถาวรสำหรับตั้งพระศพของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และทรงพระราชทานพลับพลาแห่งนี้ว่า “พลับพลาอิศริยาภรณ์” ตามพระนามของพระราชโอรสของพระองค์ ทำให้คนแถวนั้นเรียกเมรุแห่งนี้ว่า “เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์” มาจนถึงปัจจุบัน

 

เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชทานเพลิงพระราชวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุที่ท้องสนามหลวง พระศพเจ้านายฝ่ายใน ราชนิกุล ขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นเกียรติยศ

ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia

 

ในปี พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง สุสานหลวง ไว้ภายในวัดเทพศิรินทร์ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นฌาปนสถานสำหรับถวายพระเพลิงพระศพของเจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง

 

และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สุสานหลวงแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นที่ปลงศพของประชาชนทุกชนชั้นทุกบรรดาศักดิ์ อันนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกไปจากธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่จะไม่มีการสร้างฌาปนกิจสถานภายในพระอารามหลวง

 

เมรุลอย

เมรุลอย คืออะไร, เมรุลอย ใช้กับใครได้บ้าง, เมรุลอยเผายังไง, เมรุลอย เผาจริงไหม – ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้มีการสร้าง เมรุลอย แบบที่สามารถถอดเก็บได้ โดยลักษณะของเมรุคล้ายกับเมรุหลวงที่เจ้านายชั้นสูงใช้กันในการเผาศพเจ้านายหรือพ่อค้าวานิชที่มีฐานะร่ำรวย สำหรับคนธรรมทั่วไปจะยังเผาบนเชิงตะกอนอยู่

ทว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้ชุมชนมีคนตายมากขึ้นและจำนวนผู้ที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น การเผาบนเชิงตะกอนจึงสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้เคียง จึงมีการสร้างเมรุแบบถาวรที่เป็นปูนขึ้นในหลายวัด เพื่อใช้ในการเผาศพคนทั่วไป ซึ่งเป็นรูปแบบการเผาศพที่ยังคงใช้กันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

เมรุลอย คือ การก่อสร้างเมรุเผาแบบชั่วคราว สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก เพื่อใช้ในการเผาศพของบุคคลสำคัญต่างๆ เท่านั้น โดยเมรุลอยนี้จะมีความงดงาม โดดเด่นด้านโครงสร้างของสถาปัตยกรรม สง่างาม เรียบหรู มีการประดับประดาตกแต่งด้วยลวดลายไทยอันงดงาม วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณข้อมูล MGROnline

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ทำเมรุลอยใน 3 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา, จันทบุรี และตราด

ขอขอบคุณข้อมูล กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เมรุลอย
เมรุลอย – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก https://th-th.facebook.com/DCP.culture/posts/3796755403783337

.

การสร้างเมรุลอยแบบโบราณ

YouTube video

.

เมรุลอยนกหัสดีลิงค์ ส่งหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วันที่ 29 ม.ค. 62

YouTube video

 

บทความที่น่าสนใจ:

เผาจริง เผาหลอก ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

คลิก บทความน่าสนใจเกี่ยวกับงานศพ งานฌาปนกิจ และข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง

บทสวดชินบัญชร พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สวดอภิธรรม พิธีสวดพระอภิธรรมศพ ความเป็นมาและความสำคัญ

การแจ้งตาย ขั้นตอนการแจ้งเสียชีวิต และการขอมรณบัตรอย่างถูกต้อง

ทุ่งพระเมรุ จากทุ่งพระเมรุ มาเป็นสนามหลวงในปัจจุบัน

เหรียญโปรยทาน ใช้ในงานอะไรได้บ้าง

ดอกไม้จันทน์ ดอกไม้แทนความอาลัยและการขอขมาต่อผู้วายชนม์

 

รูปแบบของเมรุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

รูปแบบของพระเมรุที่สร้างขึ้นในแต่ละสมัยจะมีลักษณะที่ต่างกันตามความเชื่อและสถาปัตยกรรมของแต่ละยุค ซึ่งสถาปัตยกรรมของเมรุในแต่ละสมัยมีดังนี้

 

1. สมัยอยุธยา

ในสมัยสุโขทัยพบว่ามีการสร้างพระเมรุมาศสำหรับจัดพระศพพระยามหาจักรพรรดิราช แต่ทว่ามิได้มีการบันทึกลักษณะของพระเมรุมาศที่ชัดเจนว่ามีลักษณะอย่างไร

แต่บันทึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะของพระเมรุมาศเริ่มต้นที่สมัยอยุธยา โดยบันทึกไว้ว่า “พระเมรมาศแต่พระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (พระเมรุมาศของสมเด็จพระนเรศวร) ที่สร้างเมรุมาศสูงเส้นสิบเจ็ดวา ประดับด้วยเมรุทิศ เมรุราย ราชวัติ ฉัตรนาคฉัตรเบญจรงค์เสร็จ ก็อัญเชิญพระบรมศพเสด็จเหนือกฤษฎาธาร”

และบันทึกพระเมรุมาศของพระเมรุมาศสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “ที่มีขนาด 7 วา 2 ศอก โดยลง 2 เส้น 11 วา ศอกคืบ มียอด 5 ภายในพระเมรุทองนั้น ประกอบด้วยเครื่องสรรพโสภณวิจิตรต่างๆ สรรพด้วยพระเมรุทิศพระเมรุราย แลสามสร้าง” ถือว่าเป็นเมรุมาศที่มีขนาดใหญ่กว่าในสมัยพระเมรุมาศของสมเด็จพระนเรศวรหลายเท่า

 

พระเมรุมาศในยุคนี้ จะมีการปลูกสร้างพระเมรุมาศที่มีขนาดใหญ่อยู่ภายนอก และพระเมรุทอแบบบุษบกตั้งอยู่พายใน พระเมรุมี 5 ยอด

 

2. สมัยกรุงธนบุรี

เนื่องจากในสมัยนี้มีการศึกสงครามอยู่ตลอดเวลา ทำให้การสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระราชพิธีศพของมีการจัดสร้างน้อยมาก ซึ่งจากบันทึกที่พบมีสร้างพระเมรุมาศของพระศพกรมพระเทพามาตย์ พระราชชนนี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่มีได้ระบุรายละเอียดของเมรุที่ชัดเจนว่ามีลักษณะเช่นใด

 

3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระเมรุมาศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ

 

3.1 ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

คือ ช่วงสมัยระหว่างรัชกาลที่ 1 – 4 พระเมรุมาศที่สร้างจะมีลักษณะเป็นรูปทรงปราสาท โดยมีการสร้างพระเมรุตามแบบสมัยอยุธยา คือ มีการสร้างพระเมรุแบบ 2 ชั้น โดยทำพระเมรุชั้นนอกจะมีลักษณะเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด

.

3.2 ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย

คือ ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 – ปัจจุบัน การสร้างพระเมรุมาศในช่วงนี้จะมีการสร้างพระเมรุมาศเพียงชั้นเดียว คือ พระเมรุมาศทองทรงบุษบกที่อยู่ภายใน ส่วนพระเมรุมาศใหญ่ที่สร้างคลุมชั้นนอกไม่ได้มีการสร้างขึ้นในช่วงสมัยนี้

ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าการสร้างพระเมรุมาศแบบเก่านั้นเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและยังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ซึ่งรูปแบบของพระเมรุสำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงยังคงใช้แบบเดิมสืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แต่สำหรับคนธรรมรูปแบบของเมรุ ได้มีการออกแบบคล้ายกับเมรุหลวงสำหรับเผาศพเจ้านายในช่วงรัชกาลที่ 5 และมีการลดความวิจิตรลงมาเพื่อให้เหมาะกับการประชาชนทั่วไป ซึ่งมีความเรียบง่ายและยังคงใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้

 

ความสำคัญของพระเมรุกับพระมหากษัตริย์ไทย

พระเมรุมาศเป็นเครื่องที่บ่งบอกถึงความปรีชาสามารถ และความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ในแต่ละยุคสมัย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหากพระมหากษัตริย์พรองค์ใดทรงมีพระปรีชายิ่ง ขนาดของพระเมรุมาศและพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพจะมีความยิ่งใหญ่อลังการ

 

พระเมรุมาศ
พระเมรุมาศ – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก ngthai.com/cultures/5083/royal-funeral-pyre/

 

ทว่าในปัจจุบันนี้ การจัดงานพระราชพิธีศพของพระมหากษัตริย์อาจจะไม่ได้มีขนาดยิ่งใหญ่อลังการเท่าในสมัยอดีต แต่ว่าความละเอียด ความวิจิตรและความตั้งใจที่ประชาชนมีให้ในการสร้างพระเมรุมาศ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่สื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

 

ดังนั้น ไม่ว่ารูปแบบของพระเมรุมาศที่สร้างขึ้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปอย่างไร แต่ความสำคัญและจุดประสงค์ก็เพื่อเทิดทูนคุณงามความดี พระปรีชาสามารถที่ทรงกระทำเพื่อคนไทยทุกคน และเป็นการส่งองค์สมมุติเทพให้กลับคืนสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้าอย่างสงบ

 

ความสำคัญของเมรุกับคนทั่วไป

เมรุสำหรับคนทั่วไปจะมีลักษณะที่เรียบง่าย ซึ่งจุดประสงค์ในการเผาศพก็เพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ตายให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ไม่ยึดติดกับอัตตาหรือตัวตนที่เคยเป็นในภพนี้ ของชำร่วยงานฌาปนกิจศพ snack box งานศพ

 

ดังนั้น เมรุจึงเปรียบเสมือนการหลุดพ้นอย่างหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนา

 

เมรุ วัดเทพศิรินทร์

 

นอกจากนั้นเมรุยังเป็นสถานที่ที่สร้างมาเพื่อความปลอดภัยและความอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขของคนเป็นและคนตาย เพราะการเผาศพที่เมรุวัดจะไม่สร้างกลิ่นเหม็นและควันสู่พื้นที่อยู่อาศัย เนื่องจากเมรุวัดมีปล่องปล่อยควันที่สูง ทำให้เมื่อทำการเผาศพแล้ว กลิ่นและควันไฟจากการเผาศพจะลอยขึ้นสู่ที่สูง ทำให้คนเป็นที่อยู่เบื้องล่างไม่ต้องได้รับกลิ่นนั้นเอง

 

เมรุ เมรุเผา เมรุเผาศพ เมรุเผาผี เมรุวัด แม้จะเป็นสถานที่อวมงคลที่ไม่มีใครต้องการเข้าไปอยู่ แต่ว่าก็เป็นสถานที่ที่มีความเกี่ยวกับประเพณี ความเชื่อของคนไทยมาอย่างช้านานและจะยังคงอยู่ต่อไปเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและการดำรงอยู่ของสังคมไทย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only