เมรุ หรือ เมรุเผาศพ เมรุเผา เป็นสถานที่ที่ทุกคนไม่มีใครต้องการอยากใช้ หากแต่กลับเป็นสถานที่ที่ทุกคนจะต้องได้ใช้กันอย่างแน่นอน หลังจากละสังขารอำลาโลกนี้ไปแล้ว ซึ่งลักษณะของเมรุเผาศพที่ใช้กันจะมีรูปแบบและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีลักษณะที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยการนำเมรุมาใช้ในงานเผาศพ งานศพ ก็มีประวัติความเป็นมา ประวัติเมรุ และมีความเชื่อที่น่าสนใจดังนี้ เมรุลอย คืออะไร <–คลิกอ่าน เมรุอ่านว่า เมรุ อ่านว่า เมน เมรุมาศ อ่านว่า เม-รุ-มาด เมรุมาศ คําอ่าน เม-รุ-มาด พระเมรุ อ่านว่า พระ-เมน พระเมรุมาศ อ่านว่า พระ-เม-รุ-มาด เมรุ ภาษาอังกฤษ Crematorium พระเมรุมาศ ภาษาอังกฤษ Royal Crematorium พระเมรุมาศ ความเชื่อ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ มีความเชื่อว่า กษัตริย์เป็นสมมุติเทพ คือ เป็นเทพมาจุติเพื่อช่วยปวงประชาให้รอดพ้นจากภัยอันตรายและอยู่อย่างร่มเย็น ซึ่งที่สิงสถิตของเทพตามความเชื่อก็คือ ยอดเขาพระสุเมรุ ดังนั้นเมื่อกษัตริย์ได้สวรรคตแล้ว เพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณกลับสู่ยอดเขาพระสุเมรุ จึงมีการสร้าง
โกศ โกศใส่กระดูก โกศใส่อัฐิ คือ ที่เก็บกระดูกของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นที่ระลึกสุดท้ายให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แสดงความเคารพรักและได้รำลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเมื่อเสร็จสิ้นพิธีการเผา งานศพ กระดูกส่วนหนึ่งก็จะนำไปลอยอังคาร ส่วนที่เหลือจะบรรจุเก็บไว้ในโกศ หรือบางบ้านอาจจะเก็บกระดูกเอาไว้ทั้งหมด โดยขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคลหรือแต่ละบ้านนั่นเอง โกศคืออะไร มีลักษณะอย่างไร โกศ คือ กล่อง, ผอบ, หีบ หรือคลัง โดยมีลักษณะเป็นโพรงด้านในที่สามารถเก็บบรรจุสิ่งของได้ ส่วนด้านนอกจะมีลวดลายประดับตกแต่งไว้สวยงามด้วยโลหะและอัญมณีตกแต่งต่างๆ นอกจากนี้ ยังหมายถึง หีบเก็บสมบัติ ส่วนการใช้นั้นสามารถเขียนได้ทั้ง โกศ, โกส และ โกษ ที่จะใช้ไปตามแต่ละกรณี ส่วนคำว่าโกศในลักษณะนี้จะหมายถึง ที่เก็บของ มีรูปลักษณ์เหมือนตู้, คลัง หรือหีบ โกศ แปลว่า; สำหรับคำว่า โกศ ในภาษาไทยจะหมายถึง ที่ใส่ศพในรูปแบบนั่ง โดยจะมาในรูปแบบทรงกลมเป็นกระบอกและมีฝาครอบด้านบน สำหรับฝาครอบจะมียอดและมีการตกแต่งด้วยวัสดุที่สวยงาม ส่วนใหญ่แล้วคนไทยโบราณจะเรียก “โกศ” ก็ต่อเมื่อมีการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์หรือผู้ที่มียศศักดิ์สูง โดยจะมีการเรียกกันในหลายรูปแบบ เช่น โกศแปดเหลี่ยม, โกศกุดั่น และโกศโถ โกศกุดั่นน้อย
ทําบุญ 100 วัน – การทำบุญครบรอบวันเสียชีวิต เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย ถือเป็นพิธีที่มีความสำคัญต่อดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอย่างยิ่ง เพื่อที่ดวงวิญญาณของผู้ตายจะได้หมดห่วงผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ทําบุญ 100 วัน ทําก่อนหรือหลัง ได้ไหม <–คลิกอ่าน ทําบุญ 100 วัน นับยังไง <–คลิกอ่าน ทําบุญ 100 วัน ที่วัด ได้ไหม <–คลิกอ่าน ดังนั้น ญาติพี่น้องหรือลูกหลานควรจะต้องปฏิบัติต่อพิธีทำบุญครบรอบวันเสียชีวิตให้ถูกต้อง เพื่อที่ผู้ตายจะได้รับส่วนกุศลผลบุญอย่างครบถ้วน และเดินทางไปสู่สัมปรายภพ (ภพหน้า) อย่างสงบสุขต่อไป นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานฌาปนกิจ ราคาส่ง คุ้มค่าที่สุด ประวัติการทำบุญครบรอบวันเสียชีวิต ทำบุญครบรอบวันตาย – ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ความตายไม่ใช่การสิ้นสุดของการมีชีวิต แต่การตายเป็นเพียงแค่การแปรสภาพจากที่มีกายอยู่ไปเป็นดวงจิตหรือดวงวิญญาณ หากดวงจิตยังไม่ได้บรรลุหรือละซึ่งกิเลสทั้งปวงแล้ว ดวงจิตจะเดินทางไปเกิดใหม่ยังโลกหน้า แต่ทว่าการที่ก้าวผ่านโลกหลังความตายและได้ไปเกิดในที่ที่ดีกว่าเดิมได้นั้น ดวงจิตของคนผู้นั้นจะต้องมีจิตที่เป็นกุศล เป็นจิตที่มีความบริสุทธิ์ ดังนั้นหากต้องการให้ดวงจิตของผู้ตายไปสู่สุขคติหรือภพภูมิที่ดีในโลกหน้าแล้ว ผู้ที่มีชีวิตอยู่จะต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับดวงจิตของผู้ตาย ซึ่งการทำบุญจะเรียกว่า “การทำบุญครบรอบวันเสียชีวิต”
ลอยอังคาร ถือเป็นพิธีการสุดท้ายในขั้นตอนของงานศพ ที่จัดขึ้นเพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วให้ไปสู่สัมปรายภพหรือภพภูมิที่ดี ทั้งให้ได้ สำหรับพิธีลอยอังคารมีประวัติความเป็นมาและมีความหมายอย่างไร ตลอดจน ขั้นตอนพิธีลอยอังคาร จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ ลอยอังคารที่ไหนดี <–คลิกอ่าน ลอยอังคาร ต้องลอยภายในกี่วัน <–คลิกอ่าน ลอยอังคาร ขั้นตอน <–คลิกอ่าน ลอยอังคาร ประวัติ <–คลิกอ่าน การลอยอังคาร คืออะไร (ลอยอังคาร แปลว่า) ตามความเชื่อของคนไทยที่ว่า การนำอังคารของผู้ตายไปลอยในแม่น้ำ เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขในภพภูมิหลังความตายหรือในโลกหน้านั่นเอง เพราะน้ำเป็นตัวแทนแห่งความเย็น ใครก็ตามที่ได้อยู่กับสายน้ำย่อมได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งคนไทยส่วนมากจะแบ่งกระดูก (อัฐิ) มาเก็บไว้ส่วนหนึ่ง และนำอังคาร (เถ้ากระดูก) ไปลอยน้ำตามความเชื่อดังกล่าวอีกส่วนหนึ่ง “อังคาร” ในที่นี้หมายถึง เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว พิธีลอยอังคาร การลอยอังคาร ภาษาอังกฤษ คือ Scattering ashes over water, Scattering ashes over the
On sale Sale Quick View Add to cart Add to Wishlist Compare ของชำร่วยงานศพ ของชําร่วย ยาพารา ถูกสุด 27 บาท ราคาโรงงาน ฟรีสติ๊กเกอร์ ถุงผ้าไหมแก้ว/กล่องลายไทย Cemol 50 เม็ด ฿38.00 ฿27.00 Rated 5.00 out of 5 ของชําร่วย ยาพารา CEMOL ขนาด 500 มิลลิกรัม จำนวน 50 เม็ด ราคาถูกสุด 27 บาท (Flash Sale ราคาโรงงาน) **แถมฟรี สติ๊กเกอร์/ป้ายชื่อ พร้อมถุงผ้าไหมแก้ว หรือ กล่องกระดาษลายไทยสวยงาม** ยาพาราของชำร่วย แพคเกจสวยงาม แปะสติ๊กเกอร์ที่กล่อง
ทุ่งพระเมรุ – สนามหลวง หรือที่โบราณเรียกว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ เป็นสถานที่ซึ่งใช้ประกอบราชพิธีและรัฐพิธีสำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะผ่านการบูรณะและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มากมายในหลายศตวรรษที่ล่วงมา แต่สนามหลวงก็ยังเป็นสถานที่ซึ่งยึดโยงกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาคุณมาสำรวจประวัติน่ารู้เกี่ยวกับสนามหลวง ทุ่งพระเมรุ ประวัติ ที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนานหลายร้อยปี ของชำร่วย งานฌาปนกิจ ของชําร่วยงานพระราชทานเพลิง ราคาส่ง ราคาถูก ทุ่งพระเมรุ ประวัติ ทุ่งพระสุเมรุในยุคอยุธยา – ต้นแบบของสนามหลวงต้องสืบย้อนไปยังสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีการสร้าง ‘สนามใหญ่’ ไว้สำหรับประกอบราชพิธีสำคัญ อย่างประเพณี เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ หรือประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบัน หรือกล่าวได้ว่า การสร้างสนามใหญ่ก็เป็นไปเพื่อรองรับการจัดราชพิธีสำคัญของราชสำนักในแต่ละยุคสมัยนั่นเอง การนำรูปแบบสนามใหญ่กลับมาเป็นแม่แบบของสนามหลวงในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สะท้อนให้ประจักษ์ถึงความพยายามฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่สูญหายไปหลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 หลังการกอบกู้บ้านเมืองคืนมาได้ บรมปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรจึงพยายามนำประเพณีอันดีงามของสยามในยุคเจริญรุ่งเรืองกลับคืนมาอีกครั้ง โดยมีสนามหลวงซึ่งสร้างขึ้นระหว่างพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นหนึ่งในการบูรณะทางวัฒนธรรมดังกล่าว ทุ่งพระสุเมรุในยุครัตนโกสินทร์ สนามหลวง ซึ่งสร้างขึ้นโดยอิงกับสนามหน้าจักรวรรดิของกรุงศรีอยุธยานั้น จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘ทุ่งพระเมรุ’ ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบรมปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ มาจนถึงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวง
ขวัญคืออะไร – ขวัญของคน เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณหลายพันปีมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีความเชื่อเรื่องขวัญอยู่บ้าง โดยจะเห็นได้จากความเชื่อเรื่องขวัญบนหัวนั่นเอง โดยขวัญคืออะไร มาจากไหน และมีความเชื่อเกี่ยวกับขวัญและวิญญาณอย่างไร เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจกัน นิพพานกิฟ ของชำร่วย ราคาโรงงาน ราคาถูก ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิง ราคาส่ง ขวัญ คืออะไร ตามความเชื่อของคนโบราณในอุษาคเนย์ เชื่อกันว่า นั่นหมายความว่าขวัญอาจหนีหายไปเมื่อไหร่ก็ได้ หรือบางครั้งอาจไปเที่ยวเล่นและหลงทางจนหาทางกลับสู่ร่างไม่ได้ก็มี โดยเมื่อคนมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือตาย ก็จะเชื่อกันว่าเป็นเพราะขวัญหายนั่นเอง และนอกจากขวัญของคนแล้ว ก็ยังเชื่อว่ามีขวัญอื่นๆ อีกด้วย เช่น ขวัญสัตว์ ขวัญอาคารสถานที่ และขวัญสิ่งของเครื่องใช้ เป็นต้น ขวัญมาจากที่ใด ซึ่งบางกลุ่มชนก็เชื่อว่าคนเรามีขวัญทั้งหมด 80 ขวัญ โดยกระจายอยู่ด้านหน้า 30 ขวัญและด้านหลังอีก 50 ขวัญ ที่สำคัญขวัญจะคอยกำกับและควบคุมคน จึงเป็นที่มาของความเชื่อที่ว่าหากขวัญหายไปบางส่วน คนนั้นจะมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย และหากขวัญหายออกไปจากร่างทั้งหมด คนนั้นก็จะตายนั่นเอง สำหรับขวัญที่หายออกไปจากร่างก็จะเรียกว่าผีขวัญ
2.เลือกของชำร่วยที่มีราคาเหมาะสม ราคาของชำร่วยถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงเป็นลำดับต้นๆ เพราะในงานศพหนึ่งงานนั้น อาจจะต้องใช้ทุนมากในการจัดการส่วนต่างๆ เช่น โลงศพและอาหาร ซึ่งหากเกิดคุณไม่สามารถกำหนดงบประมาณของชำร่วยให้อยู่ในงบที่กำหนดได้ ก็อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย ดังนั้น เจ้าภาพจำเป็นจะต้องประเมินจำนวนแขกที่มาร่วมงานคร่าวๆ แล้วตีราคาสำหรับการเลือกซื้อของชำร่วยเอาไว้ให้ครอบคลุม เพื่อให้สามารถเลือกซื้อของชำร่วยที่มีราคาสอดคล้องกับงบประมาณที่คุณมี 3. เลือกของชำร่วยที่ไม่แสดงออกถึงความเศร้าโศกมากเกินไป ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะบรรดาแขกเหรื่อที่มาร่วมงานอาจจะต้องการของชำร่วยที่มีความสร้างสรรค์หรือได้รับแล้วรู้สึกได้ถึงความจรรโลงใจ และระลึกถึงผู้เสียชีวิตในด้านที่ดีๆ ซึ่งคุณอาจจะเลือกของชำร่วยที่มีการออกแบบ และสไตล์ที่มีสีสัน ไม่เน้นขาวดำ หรือสิ่งที่เป็นเครื่องแสดงออกถึงความสะเทือนใจมากเกินไป โดยเจ้าภาพอาจจะปรับแต่งตามความเหมาะสม เพื่อให้เหมาะสำหรับการมอบให้ทั้งแขกที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กที่มาร่วมงาน 4. เลือกของที่มีความทนทาน แข็งแรง แม้จะต้องจำกัดงบประมาณในการเลือกของชำร่วยให้มีราคาที่ไม่สูงเกินไป แต่ของที่ระลึกงานฌาปนกิจที่นำมาแจกจ่ายในงานก็จะต้องมีคุณภาพ และผลิตจากวัสดุชั้นดีด้วย โดยคุณจำเป็นต้องเลือกของชำร่วยที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ชำรุด หรือแตกหักง่าย ซึ่งของชำร่วยบางชิ้น หากแขกเหรื่อได้รับไปแล้วเกิดเปราะบาง แตกหักง่าย ก็อาจจะทำให้ผู้รับรู้สึกไม่สบายใจได้ ดังนั้น เจ้าภาพจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงวัสดุที่นำมาใช้ผลิตของชำร่วยเป็นหลักว่าแข็งแรง ทนทานเพียงพอหรือไม่ 5. เลือกของชำร่วยที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด การเลือกของชำร่วยงานศพ เจ้าภาพควรเลือกของชนิดที่สามารถนำไปใช้งานจริงได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เกิดความประทับใจต่อตัวผู้รับ และไม่ถูกนำไปทิ้งขว้าง โดยอาจจะเลือกเป็นภาชนะสักชิ้น เช่น
งานศพยุคแรกอุษาคเนย์ (ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้) ความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของหมาดำรงอยู่คู่อารยธรรมนุษย์มาอย่างยาวนานหลายพันปี หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าในอดีตมนุษย์เคารพบูชาหมาในฐานะผู้ให้กำเนิด และมีอำนาจพิเศษในการนำทางมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ หมาพาคนตายไปเมืองฟ้า ความเชื่อที่มีอยู่จริง ความเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศไทยหลายแห่ง อาทิ การพบโครงกระดูกหมาในหลุมฝังศพคนในพื้นที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.สกลนคร และบ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการค้นพบ ภาพเขียนรูปหมาบนเพิงผาและผนังถ้ำแสดงผีขวัญบรรพชนในถ้ำหลายพื้นที่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขาจันทน์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา, ภูปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี และถ้ำผาลายแทง อ.ภูกระดึง จ.เลย ทั้งนี้ ความเชื่อว่าหมาเป็นตัวกลางเชื่อมโยงโลกมนุษย์เข้ากับโลกศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏผ่านตำนานและพิธีกรรมของกลุ่มไทดำ ไทแถง ไมเมือง และจ้วง โดยเฉพาะพิธีส่งผีขวัญหรือคนตายขึ้นฟ้า ซึ่งปรากฎว่าหมาเป็นสัญลักษณ์ของพลังวิเศษที่สามารถนำทางวิญญาณของมนุษย์ไปยังภพภูมิอื่นได้ บทความ ‘บทบาทของหมาในตำนานและพิธีกรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอุษาคเนย์’ ของ รศ.ดร.ปฐม หงส์สุวรรณ ผอ. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ม.มหาสารคาม พบว่า
การฝังศพพร้อมกับภาชนะดินเผา และข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ เป็นรูปแบบที่นักโบราณคดีได้ค้นพบว่ามีลักษณะร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์) มาแต่โบราณกาล ซึ่งการฝังเครื่องมือเครื่องใช้พร้อมกับศพ เป็นรูปแบบพิธีกรรมปลงศพที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า มีความเกี่ยวพันกับชีวิตหลังความตายของผู้คนในภูมิภาคดังกล่าว รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเราจะพาคุณไปหาคำตอบกันว่าเหตุใดจึงต้องมีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ไปพร้อมกับศพ และทำไมรูปแบบดังกล่าวจึงพบได้ทั่วไปในพื้นที่ภูมิภาคนี้ พิธีกรรมการฝังศพในยุคดึกดำบรรพ์ หลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย มีการขุดพบข้าวของเครื่องใช้ และเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากที่ภายในบรรจุกระดูกของผู้วายชนม์ บ่งชี้ว่าพิธีกรรมการฝังศพ (Mortuary Practice) ในภูมิภาคนี้มีลักษณะร่วมกัน นั่นคือ มีรูปแบบการจัดการศพ จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. การฝังศพครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการฝังร่างของผู้ล่วงลับลงไปในดินร่วมกับข้าวของเครื่องใช้หรือไม่ก็ได้ 2. การฝังศพครั้งที่ 2 เป็นการขุดร่างที่ฝังครั้งแรกขึ้นมา เพื่อเก็บกระดูกที่หลงเหลือจากการย่อยสลาย เพื่อนำไปบรรจุลงในภาชนะเครื่องปั้นดินเผา แล้วนำไปฝังดินอีกครั้ง และ 3. การจัดการศพแบบใหม่ ไม่พึ่งการฝังศพอีกต่อไป และพิธีกรรมดังกล่าวก็ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ เหลือไว้เพียงหลักฐานทางโบราณคดีที่ยังถูกขุดพบเจอภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่บรรจุกระดูกคนตายอยู่เรื่อย ๆ ในปัจจุบัน