โกศ สิ่งบรรจุกระดูกของผู้ล่วงลับเพื่อแทนสัญลักษณ์แห่งความรำลึก

โกศใส่กระดูก

โกศ โกศใส่กระดูก โกศใส่อัฐิ คือ ที่เก็บกระดูกของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นที่ระลึกสุดท้ายให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แสดงความเคารพรักและได้รำลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

โดยเมื่อเสร็จสิ้นพิธีการเผา งานศพ กระดูกส่วนหนึ่งก็จะนำไปลอยอังคาร ส่วนที่เหลือจะบรรจุเก็บไว้ในโกศ หรือบางบ้านอาจจะเก็บกระดูกเอาไว้ทั้งหมด โดยขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคลหรือแต่ละบ้านนั่นเอง

โกศใส่กระดูก

 

โกศคืออะไร มีลักษณะอย่างไร

โกศ คือ กล่อง, ผอบ, หีบ หรือคลัง โดยมีลักษณะเป็นโพรงด้านในที่สามารถเก็บบรรจุสิ่งของได้ ส่วนด้านนอกจะมีลวดลายประดับตกแต่งไว้สวยงามด้วยโลหะและอัญมณีตกแต่งต่างๆ นอกจากนี้ ยังหมายถึง หีบเก็บสมบัติ

 

ส่วนการใช้นั้นสามารถเขียนได้ทั้ง โกศ, โกส และ โกษ ที่จะใช้ไปตามแต่ละกรณี ส่วนคำว่าโกศในลักษณะนี้จะหมายถึง ที่เก็บของ มีรูปลักษณ์เหมือนตู้, คลัง หรือหีบ

โกศ แปลว่า; สำหรับคำว่า โกศ ในภาษาไทยจะหมายถึง ที่ใส่ศพในรูปแบบนั่ง โดยจะมาในรูปแบบทรงกลมเป็นกระบอกและมีฝาครอบด้านบน สำหรับฝาครอบจะมียอดและมีการตกแต่งด้วยวัสดุที่สวยงาม

ส่วนใหญ่แล้วคนไทยโบราณจะเรียก “โกศ” ก็ต่อเมื่อมีการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์หรือผู้ที่มียศศักดิ์สูง โดยจะมีการเรียกกันในหลายรูปแบบ เช่น โกศแปดเหลี่ยม, โกศกุดั่น และโกศโถ โกศกุดั่นน้อย เป็นต้น

โกศ ภาษาอังกฤษ, โกศใส่กระดูก ภาษาอังกฤษ คือ Cinerary Urn

 

เมื่อมาในยุคปัจจุบัน โกศไม่ได้หมายถึงที่บรรจุศพแบบนั่งเท่านั้น แต่ยังหมายถึง  ที่บรรจุอัฐิหรือกระดูกที่จะมีด้วยกันหลายขนาด  มีลักษณะคล้ายโกศดั้งเดิมที่จะเป็นทรงกระบอกปากกลมและมีฝาครอบด้านบน โดยจะมีการทำฝาที่คล้ายกับยอดเจดีย์และการออกแบบให้ดูสวยงาม ทั้งยังมีความแปลกใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ

 

 สำหรับโกศในยุคใหม่ถูกทำมาให้มีขนาดเล็กลง  แม้ว่าในอดีตจะมีขนาดใหญ่เท่าตัวคน เพราะเป็นการใส่พระบรมศพของพระมหากษัตริย์และราชวงศ์

 

โกศ คนธรรมดา; แต่กับประชาชนทั่วไป โกศจะกลายมาเป็นที่ใส่กระดูกของร่างที่เผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการออกแบบที่มีอย่างหลากหลาย สามารถหาซื้อได้ในร้านเครื่องสังฆภัณฑ์ทั่วไป

 

สำหรับวัสดุที่ใช้จะมีให้เลือกอย่างหลากหลายด้วยเช่นกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นวัสดุแบบทองเหลืองที่มีหลายเกรดและราคาไม่สูงมากจนเกินไป จึงทำให้ โกศทองเหลือง กลายมาเป็นหนึ่งในโกศที่ได้รับความนิยมสูงมาก

นอกจากนี้ ยังมีทั้งเรื่องของการวาดลวดลายหรือการแกะสลักให้ดูสวยงามเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนทางด้านรูปลักษณ์นั้นจะมีทั้งแบบทรงสูง, ทรงกระปุก และทรงเจดีย์ให้เลือกตามแบบที่ต้องการ

ทั้งยังมีการเพิ่มวัสดุรุ่นใหม่อย่างพลาสติก โกศพลาสติก ที่เลียนแบบทั้งสีและลวดลายของทองเหลืองออกมาได้เหมือนจริง ส่วนราคาจะถูกกว่าทองเหลืองเป็นเท่าตัว แต่ก็อาจจะมีข้อเสียในเรื่องของการเปลี่ยนสีได้ง่ายเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน

 

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้โกศแบบใด ควรดูตามความเหมาะสมทั้งในเรื่องของงบประมาณ, วัสดุที่มีความทนทาน และลวดลายที่คุณชื่นชอบ

 

โกศ มีกี่ประเภท

โกศมีกี่แบบ – ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โกศเก็บกระดูก โกศอัฐิ โกศ กระดูก จะถูกออกแบบมาหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของคนในแต่ละรุ่น ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีโกศทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ออกขายอยู่เสมอ

ดังนั้น ลองมาดูว่าโกศแบบใดบ้างที่กำลังได้รับความนิยมในยุคนี้ โดยเราก็หยิบมาแนะนำให้คุณได้ทำความรู้จักด้วยกัน 7 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

 

1. โกศทองเหลือง

 โกศทองเหลืองถือว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  เพราะมีความสวยงาม สามารถทำลวดลายได้อย่างหลากหลาย มีหลายเกรดให้เลือก จึงทำให้เลือกซื้อได้หลายราคา พร้อมให้ความสวยงามแวววาวและมักจะมาด้วยโทนสีทองที่ถือว่าเหมาะแก่การเก็บกระดูก

 

เพราะเป็นโทนสีเดียวกับจีวรพระ และมีความเชื่อว่าจะทำให้ลูกหลานที่เก็บโกศไว้เจริญรุ่งเรือง

 

ส่วนใหญ่แล้วโกศแบบทองเหลือง โกศใส่กระดูก ทองเหลือง จะถูกทำมาในรูปแบบของทรงเจดีย์ มีฝาครอบที่ถูกทำลวดลายเป็นเกลียวเจดีย์ทั้งหมด โกศทองเหลือง ทรงเจดีย์

ถ้าเป็นเกรดพรีเมียมมีคุณภาพ โกศทองเหลืองแท้ จะสามารถเก็บได้นาน เสียหายาก และไม่มัวหมอง มีให้เลือกทั้งขนาด 7 นิ้ว ไปจนถึง 12 นิ้ว ในราคาเพียงแค่หลักร้อยขึ้นไปเท่านั้น โกศทองเหลือง ราคา

 

โกศ ทองเหลือง ราคา

โกศทองเหลือง ราคาตั้งแต่ 250 บาท ถึง 2,000 บาท

โกศทองเหลือง (แท้) ทรงสูง
โกศทองเหลือง (แท้) ทรงสูง – ขอขอบคุณรูปภาพ จากอินเตอร์เน็ต

 

โกศทองเหลือง ทรงกระปุก
โกศทองเหลือง ทรงกระปุก

 

โกศทองเหลือง ทรงเจดีย์
โกศทองเหลือง ทรงเจดีย์

 

โกศทองเหลืองฝังมุกลายไทย
โกศทองเหลืองฝังมุกลายไทย

.

2. โกศเบญจรงค์

โกศเซรามิค หรือ โกศเบญจรงค์ โกศ ใส่ กระดูก เบญจรงค์ จะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมเช่นกัน โดยจะให้ความสวยงามด้วยลวดลายของการวาดลายเบญจรงค์ลงสู่โกศ จะมีทั้งรูปลักษณ์แบบทรงเจดีย์, รูปลักษณ์แบบผอบลายไทย และรูปลักษณ์แบบโกศทั่วไปก็สามารถสั่งทำได้ทั้งหมด

 

ซึ่งราคาของโกศชนิดนี้ จะค่อนข้างแพงเพราะจะต้องใช้ช่างที่มีฝีมือในการทำเท่านั้น ทั้งยังเป็นงานแบบ Handmade ที่ใช้มือทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย

 

แต่ให้ความคุ้มค่าสูง เพราะจะอยู่ได้กับทุกสภาพอากาศโดยไม่เสียหายง่าย พร้อมให้ความสวยงามโดดเด่นด้วยลวดลายแบบเบญจรงค์ไทย ถือว่าเป็นโถอัฐิที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก

 

โกศใส่กระดูก เบญจรงค์ ราคา

โกศ เบญจรงค์ ราคา ตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท

โกศเบญจรงค์ลายไทย
โกศเบญจรงค์ ลายไทย

.

3. โกศใส่กระดูกหินอ่อน

โกศใส่กระดูกหินอ่อน, โกศหินอ่อนแท้, โกศใส่อัฐิหินอ่อน – มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความแข็งแรงทนทานสูง ไม่ผุ ไม่พังง่าย อีกทั้งมีความภูมิฐาน ดูดี มีคุณค่า สมฐานะ มีอายุการใช้งานที่ยาวนากมาก

สามารถสลักชื่อเพิ่มเติมได้

มีขนาดที่หลากหลาย เหมาะสมตามความต้องการและสถานที่

 

โกศใส่กระดูกหินอ่อน ราคา

ราคาตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 8,000 บาท

โกศใส่กระดูกหินอ่อน
โกศใส่กระดูกหินอ่อน

.

4. โกศอะคริลิค

โกศแบบอะคริลิค ถือว่าเป็นโกศรุ่นใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะจะให้ความแข็งแรงและทนทานสูง สามารถใช้งานได้ยาวนาน สีไม่เสื่อมง่าย ไม่ก่อให้เกิดคราบดำ

 

ส่วนใหญ่จะเป็นงานแบบพ่นสีลงสู่อะคริลิคที่ถูกทำดีไซน์ออกมาเป็นทั้งแบบทรงเจดีย์, ทรงโกศกระบอก และทรงแบบผอบ ที่สามารถทำได้ทุกรูปแบบ พร้อมการประดับประดาด้วยอัญมณีหลากหลายชนิดและสีสัน

ส่วนใหญ่แล้วโกศลักษณะนี้ จะเป็นอะคริลิคที่มีคุณภาพและจะเป็นงานลงยาที่สวยงามมาก ยิ่งเป็นงานพรีเมียมมากเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น

 

สำหรับราคาถือว่าสูงกว่าโกศทองเหลืองเพราะต้องใช้มือทำเท่านั้น จึงถือว่าเป็นหนึ่งในงานหัตถศิลป์ที่นอกจากจะให้ความสวยที่เป็นเอกลักษณ์แบบไทยแท้แล้ว ยังให้ความทนทานสูงอีกด้วย

 

5. โกศไม้สัก

โกศไม้สัก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความคลาสสิกที่คนไทยนิยมเช่นกัน เพราะจะเป็นการนำไม้สักแท้มาแกะสลักลวดลายไทยแล้วทำเป็นทรงเจดีย์และทรงต่างๆ ตามแต่ผู้ซื้อจะสั่ง

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบโกศที่ราคาสูง ยิ่งเนื้อไม้สักมีความแท้หรือมีอายุยาวนานมากเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่งสูงตามมากเท่านั้น ที่สำคัญคือเป็นงานฝีมือที่จะต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญทำเท่านั้น  เมื่อต้องการใช้จึงต้องมีการสั่งจองล่วงหน้า 

 

แต่ส่วนใหญ่แล้ว  โกศลักษณะนี้จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่ใหญ่มาก  เนื่องมาจากการใช้ไม้สักแท้มาทำราคาจึงสูงมาก ถ้าใช้เนื้อไม้มากเท่าไหร่ราคาก็จะยิ่งสูงและอาจจะสูงกว่าโกศแบบเบญจรงค์อีกด้วย

 

โกศไม้ ราคา

 

6. โกศแก้ว

โกศแก้ว จะมีลักษณะแบบใสและมีการทำลวดลายออกมาสวยงามมาก พร้อมการลงยาและตกแต่งไปด้วยอัญมณีต่างๆ รอบโกศ มีการทำฝาเป็นทรงเจดีย์และทรงต่างๆ ตามที่ผู้สร้างต้องการ

ส่วนใหญ่แล้วจะผสมผสานกับสีทอง เพื่อทำให้เหมาะสมต่อการเป็นโกศกระดูก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบโกศที่ราคาสูง เพราะจะต้องใช้ช่างที่มีฝีมือทำเท่านั้น

 

7. โกศพลาสติก

โกศแบบพลาสติก  เป็นทางเลือกของผู้ที่ต้องการโกศราคาไม่สูงมาก  โดยจะเลือกใช้เป็นพลาสติกคุณภาพแล้วนำมาพ่นสีพร้อมการแกะสลักลวดลายให้คล้ายกับโกศแบบทองเหลือง ส่วนใหญ่แล้วจะแกะสลักเป็นลวดลายเบญจรงค์หรือลายไทยที่มีความสวยงาม

โกศชนิดนี้จะมีความแข็งแรง ทนทาน และน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพลาสติกที่มีความหนา ทนต่อสภาพอากาศต่างๆ ได้ดี

ส่วนฝาครอบจะทำเป็นเกลียวเจดีย์และฐานเป็นลายดอกบัวหรือลายต่างๆ ที่ลูกค้าต้องการ พร้อมการพ่นสีให้ออกเป็นสีทองเหมือนกับโกศแบบทองเหลือง และอาจจะมีสีเงินเพิ่มขึ้นมาให้เลือก จึงถือว่าเป็นหนึ่งในโกศใส่กระดูกที่ราคาถูกที่สุด

โกศพลาสติก
โกศพลาสติก

.

โกศใส่กระดูก ราคา

ราคา โกศใส่กระดูก, โกศ ราคา

 

4 ขั้นตอนการเก็บอัฐิก่อนใส่โกศกระดูกอย่างถูกต้อง

สำหรับการเก็บอัฐิของผู้ที่ล่วงลับจะมีด้วยกัน 4 ขั้นตอนที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก

โดย 4 ขั้นตอนนี้จะทำก่อนการเก็บอัฐิใส่โกศกระดูก ดังนั้นถ้าคุณต้องการรู้ขั้นตอนของการเก็บอัฐิอย่างถูกต้อง ลองมาดูรายละเอียดดังต่อไปนี้ พิธีสามหาบ แปรธาตุ เก็บอัฐิธาตุ

 

1. การเริ่มเก็บอัฐิ

หลังจากการเผาหรือการฌาปณกิจเรียบร้อยแล้วจะเป็นการเก็บอัฐิ สำหรับในบางงานเมื่อเผาแล้วอาจจะเก็บในช่วงเย็นเลย โดยจะเป็นการเก็บในช่วงเวลา 19.00 น. แล้วนำสู่การบำเพ็ญกุศลทันทีก็จะเสร็จภายใน 1 วัน

แต่ถ้าการเผาเป็นช่วงกลางคืนหรือช่วงหลัง 19.00 น.เป็นต้นไป ก็จะกลายเป็นการเก็บอัฐิในวันรุ่งขึ้นแทน โดยจะมีการนิมนต์พระสงฆ์เพื่อทำการสวดหลังการเก็บอัฐิ

 

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในแบบหลัง คือ การเผาช่วงกลางคืนและเก็บกระดูกในวันรุ่งขึ้น

 

ดังนั้น  ช่วงเช้าจึงจะมีการถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์  แล้วจึงนำอัฐิไปสู่การบรรจุลงสู่โกศกระดูกแล้วนำไปเก็บไว้ที่บ้าน หรือนำไปสู่การลอยอังคารให้เรียบร้อยก่อนส่วนหนึ่งแล้วเก็บอีกส่วนหนึ่งใส่โกศกระดูกไว้ หลังจากนั้นจะมีการเก็บกระดูก 7 วัน แล้วจึงจะทำการบำเพ็ญกุศลหลังการเก็บอัฐิต่อไป พร้อมการทำบุญครบ 50 วัน และครบ 100 วัน ทำบุญ 100 วัน ตามลำดับ

 

2. พิธีสามหาบ

พิธีสามหาบ คือ สำหรับพิธีกรรมเดินสามหาบจะถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเก็บอัฐิด้วยเช่นกัน แต่จะมาในรูปแบบของพิธีเต็มที่คนในยุคโบราณนิยมทำกัน  โดยจะทำในช่วงเช้าของการเก็บอัฐิ 

ที่จะมีการเตรียมเครื่องสามหาบและเครื่องบูชาต่างๆ ไว้อย่างครบครัน คือ เครื่องทองน้อยที่จะมีธูป 1 เทียน 1 มีเชิงเทียนขนาดเล็ก และดอกไม้ที่ถูกทำเป็นพุ่มอีกประมาณ 3 พุ่ม

โดยจะจัดเป็น 1 ชุด มีสุหร่ายหรือที่เรียกว่าขวดโปรยน้ำ มีน้ำอบไทย 1 ขวด พานใส่เงินที่จะใส่เป็นเหรียญเศษสตางค์ 1พาน มีโกศเก็บกระดูกและผ้าขาวเพื่อห่ออัฐิ จากนั้นจะมีการวางสิ่งของเหล่านี้ไว้ที่ข้างอัฐิ พร้อมการถูกจัดไว้บนหาบ เมื่อได้เวลาแล้วจะมีการเดิน 3 หาบ ด้วยการเริ่มจากเลี้ยงพระสงฆ์ก่อน 1 ชุด

โดยในชุดแรกจะมีเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์หรือที่ถูกเรียกว่าไตรครอง, ชุดที่ 2 จะเป็นสำรับอาหารคาว-หวาน และชุดที่ 3 จะเป็นเครื่องใช้ภายในครัว เช่น เตาหรือหม้อข้าว เป็นต้น

โดยการจัด 3 หาบยังมีอีกหลายรูปแบบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล การจัด 3 ชุดนี้จะจัดลงบนหาบแล้วให้ญาติ 3 คนเป็นผู้หาบ และในบางครอบครัวอาจจะเลือกใช้ 3 หาบ เดินวนรอบกระดูก 3 ครั้ง และใช้ญาติถึง 9 คนด้วยกัน

 

ความเชื่อนี้จะเชื่อว่า เป็นการเชิญอัฐิหรือกระดูกของผู้ที่เสียชีวิตกลับสู่บ้านได้ดี ไม่มีหลงทาง และเป็นการทำบุญหรือบังสุกุลหลังการเผาให้ทันที

 

เมื่อจบงานแล้วทางเจ้าภาพจะมีการโปรยเศษสตางค์ที่ถือว่าเป็นการให้ทานอีกด้วย

 

3. พิธีแปรธาตุ

พิธีแปรธาตุ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่คนไทยนิยมทำในช่วงเก็บอัฐิ โดยจะทำตั้งแต่วันแรกที่เผาเสร็จแล้ว, วันรุ่งขึ้น หรือจะทำภายใน 3-7 วันที่นับจากวันเผาก็ได้เช่นกัน

จะเป็นการนำกระดูกมาจัดรูปทรงให้กลายเป็นรูปลักษณ์ของคนที่กำลังนอนหงายหน้าอยู่และจะมีการหันทางศีรษะไปช่วงของทิศตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนโลกแห่งความตาย

จากนั้นจะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำการบังสุกุลตายและอาจจะมีการใช้ผ้าทอดร่วมด้วย จากนั้นพระสงฆ์จะทำการสวดบังสุกุลจนกระทั่งจบบท แล้วจึงจะมีการแปรรูปอัฐิใหม่อีกครั้ง

โดยจะแปลให้ช่วงของศีรษะหันไปอยู่ทางทิศตะวันออก เพื่อเป็นการเปรียบว่าผู้ตายได้เกิดใหม่ ทางผู้ที่เป็นเจ้าภาพงานศพจะใช้เครื่องหอม, ดอกไม้ และเงินทองโปรยลงสู่กระดูก จากนั้นจะมีการนิมนต์พระสงฆ์เพื่อทำบังสุกุลอีก 1 ครั้ง โดยจะเรียกว่า การบังสุกุลเป็น

เมื่อเสร็จพิธีแล้วจึงจะมีการเก็บอัฐิลงสู่โกศและแบ่งสู่การลอยอังคารในแม่น้ำต่อไป

 

การแปรธาตุนั้นจะถือว่าเป็นการส่งผู้ที่เสียชีวิตไปสู่โลกแห่งความตายอย่างเป็นสุขและนำทางไปสู่การเกิดในภพชาติใหม่ที่ราบลื่นอย่างรวดเร็ว พร้อมทำให้การเกิดใหม่มีแต่ความโชคดีอีกด้วย

 

4. การออกทุกข์

สำหรับการออกทุกข์นั้น คือ การเก็บอัฐิลงสู่โกศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการทำพิธีต่างๆ จนครบถ้วน จะเป็นการทำบุญต่อทันที แต่สามารถผ่อนปรนเป็น 3-7 วันหลังการเผาได้เช่นกัน แต่จะต้องทำในช่วงเวลานี้ เพื่อทำให้ผู้ล่วงลับได้จากไปอย่างหมดห่วงและมีบุญติดตัวไปด้วย

 

ถ้าต้องการให้ขั้นตอนนี้มีความสมบูรณ์ ต้องมีการเลี้ยงพระสงฆ์เพื่อทำการบังสุกุล มีการเทศน์และมีการตั้งบาตรพร้อมประพรมน้ำมนต์และเดินสายสิญจน์แบบครบครัน จะมีลักษณะของพิธีที่คล้ายกับการทำบุญบ้าน

 

ซึ่งจะให้ทั้งการทำบุญแก่ผู้ล่วงลับและเพิ่มสิริมงคลให้กับญาติพี่น้องกับคนที่อยู่ภายในบ้าน โดยการแต่งกายของผู้ที่มางานและเจ้าภาพจะเป็นโทนสีขาว-ดำทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้จะถูกเรียกว่า การออกทุกข์

 

ประวัติของโกศใส่กระดูก

โกศ ประวัติ ประวัติของโกศสำหรับบรรจุกระดูกนั้นมีความเป็นมายาวนานกว่า 2,500 ปีแล้ว  โดยในรูปแบบดั้งเดิมจะเป็นภาชนะที่ทำมาจากดินเผา มีทั้งรูปแบบทรงกระบอก, ทรงผอบและทรงหม้อ โดยจะเลือกใช้วัสดุดินเผาเป็นหลัก 

จากนั้นมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะสร้างไว้ตามพื้นที่ทุ่งกว้างและถูกปรับให้การสร้างสถูปเจดีย์มาอยู่ภายในวัด ของชำร่วยงานศพ

 

นอกจากนี้ โกศเก็บกระดูกในช่วงยุค 2,500 ปีก่อนไม่ใช่การเผาแล้วนำกระดูกมาใส่ แต่เป็นการนำร่างของมนุษย์ทั้งร่างใส่ลงในภาชนะแบบดินเผา จึงถูกเรียกว่าโกศบรรจุศพ พร้อมการใช้วิธีการที่คล้ายกับประเทศอียิปต์ โดยมีการใส่น้ำยาเพื่อให้ศพแห้งลง ไม่เน่าเปื่อย ไม่มีกลิ่นเหม็น ดังนั้น เมื่อใส่ศพลงสู่โกศแล้วจึงไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่น และศพยังสามารถอยู่ภายในโกศได้เป็นอย่างดี

 

แต่เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ของประเทศอินเดีย จึงปรับเปลี่ยนการฝังศพกับการใส่ศพไว้ภายในโกศ สู่การเป็นพิธีเผาศพแล้วนำกระดูกบรรจุลงสู่โกศ ซึ่งวัฒนธรรมนี้ถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ไม่ใช่แค่เพียงในไทยเท่านั้นที่ได้รับอิทธิพลนี้ แต่ในประเทศพม่าก็มีวัฒนธรรมที่คล้ายกัน และทางประเทศจีนตอนใต้ก็ใช้วิธีการเผาด้วยเช่นกัน

 

ดังนั้น โกศยุคใหม่ จึงถูกปรับรูปทรงให้เล็กลง เพราะการเผาแล้วนำอัฐิหรือกระดูกใส่โกศได้รับความนิยมมากที่สุด

 

ส่วนการเก็บอัฐิไว้ในโกศ จะมีตั้งแต่นำไปเก็บไว้ที่บ้านและการเก็บไว้ตามช่องของกำแพงวัด โกศใส่กระดูกที่วัด ด้วยความเชื่อที่ว่าการอยู่ใกล้วัด ผู้ล่วงลับจะได้ยินเสียงสวดมนต์ที่จะทำให้รู้สึกสงบสุข เมื่อถึงเวลาทำบุญ ญาติพี่น้องก็สามารถเดินทางมาวัดแล้วทำการนิมนต์พระเพื่อทำบังสุกุลได้อย่างสะดวก

ส่วนการบรรจุศพลงสู่ภาชนะนั้น มีมายาวนานกว่า 2,500 – 3,000 ปีก่อน ซึ่งจะถูกเรียกว่า Coffin คือ การนำศพมาทำการงอเข่าและให้เข่าชิดกับอก จากนั้นจะใส่ลงสู่ภาชนะที่ถูกเตรียมไว้และจะเก็บศพไว้ภายในอย่างยาวนานจนกระทั่งเหลือเพียงแค่กระดูกเท่านั้น

สำหรับในประเทศไทยแล้ว วิธีการนี้จะถูกใช้กับชนชั้นสูงของประเทศเท่านั้น แต่ถ้าเป็นประชาชนทั่วไปจะเป็นการใส่โลงและฝังลงสู่ดิน แต่สำหรับ ยุคนี้แล้วจะนิยมเป็นการเผาที่ถือว่าสะดวกที่สุดและสามารถเก็บกระดูกไว้ภายในโกศได้ง่ายอีกด้วย 

 

บทความน่าสนใจเพิ่มเติม:

สุจิตต์ วงษ์เทศ : เก็บกระดูกใส่ไห ใส่หม้อ ใส่โกศ ประเพณีเก่าแก่โคตรๆ 2,500 ปีมาแล้ว

โกศ มาจากไหน

 

ถ้าคุณต้องการความรู้เกี่ยวกับ โกศ ใส่กระดูก พร้อมไปด้วยประวัติที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน คุณสามารถอ่านได้จากบทความนี้ โดยจะมีการแนะนำในเรื่องของรูปแบบและวัสดุที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็นโกศและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ทั้งยังมีการแนะนำในเรื่องของขั้นตอนการเก็บอัฐิอย่างถูกต้อง เพื่อทำให้คุณสามารถเก็บอัฐิของผู้ล่วงลับที่เป็นญาติพี่น้องได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน และเลือกใช้โกศที่มีคุณภาพเพื่อการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only