การใส่บาตร กรวดน้ำ ใส่บาตรตอนเช้า – การอุทิศบุญให้กับผู้ล่วงลับ หรือญาติทุกคนภายในตระกูลที่จากไปแล้ว เป็นเรื่องที่คนไทยต่างก็ยึดถือและทำกันมาอย่างยาวนาน
บทกรวดน้ํา หลังใส่บาตร <–คลิกอ่าน
บทกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ <–คลิกอ่าน
บทกรวดน้ํา แบบย่อ <–คลิกอ่าน
บทกรวดน้ํา อิทังเม <–คลิกอ่าน
วิธีกรวดน้ำ หลังใส่บาตร ที่ถูกต้อง <–คลิกอ่าน
เวลากรวดน้ำ ต้องพูดอะไร <–คลิกอ่าน
วิธีใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับ <–คลิกอ่าน
ใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับจะได้รับ ไหม <–คลิกอ่าน
แม้จะเป็นเพียงความเชื่อ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การอุทิศบุญ และ การใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อจิตใจของผู้คนยุคก่อนมาจนถึงยุคนี้ เพราะเปรียบเสมือนการได้ส่งบุญ, อาหาร และสิ่งของต่างๆ ไปสู่คนที่เรารักในอีกโลกหนึ่ง ทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นสุขมากขึ้น
ดังนั้นถ้าคุณกำลังมองหาความรู้เกี่ยวกับการอุทิศบุญและการทำบุญให้ผู้ที่ล่วงลับอย่างถูกต้อง ข้อมูลในบทความนี้เราได้รวบรวมไว้ให้คุณได้ศึกษาทำความเข้าใจอย่างครบถ้วนแล้วค่ะ
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
- ประวัติความเป็นมาของการอุทิศบุญให้ผู้ล่วงลับ
- ใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับจะได้รับ ไหม
- การกรวดน้ำที่ถูกต้อง
- วิธีใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับ
- ขั้นตอนของการอุทิศบุญ และกรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับอย่างถูกต้อง
- อานิสงส์ การใส่บาตร
- 1. ได้รับอานิสงส์ 5 ประการตามที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
- 2. ทำให้จิตใจเกาะเกี่ยวอยู่กับความดี
- 3. เป็นการลดความตระหนี่ถี่เหนียว
- 4. เป็นการต่อบุญต่อลาภให้แก่ตนเอง
- 5. เพื่อการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับไปแล้ว
- 6. เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเราเอาไว้
- 7. เป็นแบบอย่างการส่งต่อความดีจากรุ่นสู่รุ่น
- 8. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
- 9. เป็นการสร้างความปรองดองให้กับชาวพุทธ เป็นการหยุดวิกฤตความศรัทธา
- อุทิศบุญอย่างไรให้เกิดอานิสงส์สูงสุด
- ใส่บาตร ภาษาอังกฤษ
ประวัติความเป็นมาของการอุทิศบุญให้ผู้ล่วงลับ
การอุทิศบุญหรืออุทิศส่วนกุศล ถือเป็นหนึ่งในพิธีกรรมทางศาสนา ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าพิมพิสารที่ได้ทำการอุทิศส่วนกุศลด้วยการใช้น้ำ
เพราะในอดีตพระเจ้าพิมพิสารนับถือศาสนาพราหมณ์ที่กำหนดให้ผู้รับของต้องแบมือรับแล้วใช้น้ำรดลงบนมือ พระองค์จึงชินต่อการใช้ประเพณีของศาสนาพราหมณ์ เมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าและต้องทำการอุทิศส่วนกุศลจึงเลือกใช้วิธีการนี้
แต่ด้วยความที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ยึดติดและเดินทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) พร้อมได้เห็นถึงความตั้งใจที่พระเจ้าพิมพิสารต้องการอุทิศบุญให้กับผู้ล่วงลับ จึงไม่ได้มีการห้ามแต่อย่างใด เพราะในพุทธศาสนาการอุทิศส่วนกุศลไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแต่ใช้เป็นเพียงแค่การอธิษฐานจิตแบบสั้นๆ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถส่งบุญกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้
ดังนั้น การอุทิศบุญกุศลด้วยการใช้น้ำ จึงมีจุดเริ่มต้นมาจากศาสนาพราหมณ์ในสมัยของพระเจ้าพิมพิสาร นั่นเอง
ใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับจะได้รับ ไหม
การอุทิศบุญของพุทธศาสนาจะเน้นเรื่องการอธิษฐานจิตและการเอ่ยชื่อของผู้รับอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่ถูกเอ่ยชื่อนั้นได้โมทนาบุญ ก็จะถือว่าได้รับไปโดยตรง
แต่ถ้าคุณได้ทำบุญหรือทำทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ได้อุทิศหรือตั้งอธิษฐานจิตถึงใคร ผู้ล่วงลับที่คุณต้องการให้รับบุญ กุศล และสิ่งของต่างๆ ที่ตั้งใจอุทิศไปให้ ก็จะไม่ได้รับ
รวมไปถึง การอนุโมทนาบุญแบบไม่จำเพาะเจาะจง ไม่มีการเอ่ยชื่ออย่างชัดเจน ผู้ที่คุณต้องการให้รับบุญก็จะไม่ได้ด้วยเช่นกัน แต่จะกลายเป็นการให้โดยรวม
ดังนั้น การอุทิศบุญและการทำบุญใส่บาตรให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือแม้แต่การกรวดน้ำ จำเป็นที่จะต้องอธิษฐานจิต เพื่ออุทิศทั้งบุญกุศลและสิ่งของที่ถวายพระสงฆ์ไปสู่คนที่คุณต้องการให้ด้วยการเอ่ยชื่อแบบชัดเจน
ถ้าจะให้ดีควรเอ่ยทั้งชื่อและนามสกุลครบถ้วน
แต่ถ้าต้องการให้ผู้ล่วงลับในจำนวนที่มากขึ้นและเป็นญาติในวงศ์ตระกูลเดียวกัน ควรเอ่ยถึงโดยรวมว่าเป็นญาติพี่น้องในวงศ์ตระกูลเดียวกัน สายเลือดเดียวกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นตระกูลลงมา ก็จะช่วยทำให้ญาติในสายเลือดเดียวกันกับคุณได้รับผลบุญด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การอุทิศบุญของพุทธศาสนาจะเน้นเรื่องการตั้งจิตเพื่ออธิษฐานให้เกิดความสมประสงค์หรือที่ถูกเรียกว่า การอธิษฐานบารมี
การกรวดน้ำที่ถูกต้อง
การกรวดน้ําที่ถูกต้อง, การกรวดน้ําอุทิศส่วนกุศล – สำหรับการกรวดน้ำจะเป็นการอุทิศผลบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับด้วยเช่นกัน โดยจะเป็นการเทน้ำพร้อมการอธิษฐานจิตร่วมกัน และนำสู่การรดน้ำต้นไม้หรือรดลงดิน
เชื่อกันว่าน้ำและดินเป็นสื่อกลางระหว่างคนบนโลกมนุษย์กับโลกหลังความตาย
ดังนั้น น้ำที่ไหลลงสู่ดินจึงเป็นความเชื่อว่าจะนำพาบุญกุศลและสิ่งของต่างๆ ที่ถูกส่งไปสู่ผู้ล่วงลับแล้วอย่างถึงมือแน่นอน
แต่ทั้งนี้จะต้องทำร่วมกับการอธิษฐานจิตที่เอ่ยชื่อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยเช่นกัน
แต่ถ้าไม่ได้เอ่ยชื่อใดๆ ผลบุญนี้เชื่อว่าจะนำพาสู่ตัวผู้ทำบุญเองและไปสู่เทวดารักษาตน
การกรวดน้ำ มี 2 วิธี อะไรบ้าง
- การกรวดน้ำเปียก เป็นการใช้น้ำในการอุทิศบุญหลังการทำบุญให้กับผู้ล่วงลับ
- การกรวดน้ำแห้ง เป็นการอธิษฐานจิตเพียงอย่างเดียวและมีการเอ่ยชื่อของผู้รับบุญอย่างชัดเจน
สำหรับทางธรรมแล้วถือว่าการกรวดน้ำทั้ง 2 รูปแบบจะให้ผลที่เท่าเทียมกันทั้งหมด
แต่ข้อสำคัญที่ควรรู้คือ การกรวดน้ำนั้นจะต้องทำต่อหน้าของพระสงฆ์และจะต้องไม่พลาดขั้นตอนใดๆ ทั้งสิ้น
ในขณะที่กรวดน้ำอยู่จะต้องตั้งใจอุทิศพร้อมการรินน้ำลงสู่ภาชนะไปพร้อมกัน เมื่อใดที่พระสงฆ์เริ่มสวดนำคำว่า “ยะถา” ก็เริ่มรินน้ำลงสู่ภาชนะรองรับได้ทันทีและเมื่อใดที่พระสงฆ์รับ “สัพพีติโย วิวัชชันตุ” (ขอให้สิ่งร้ายจัญไรทั้งปวงจงหายไปจากท่าน) จะต้องทำการเทน้ำให้หมดอย่างรวดเร็ว พร้อมกับพนมมือและตั้งใจรับพรจนกระทั่งจบบทสวด
จากนั้นให้นำน้ำภายในภาชนะเทลงสู่ดินหรือต้นไม้ใหญ่ ไม่ควรนำไปเทลงสู่แหล่งน้ำสกปรกหรือเททิ้งตรงจุดที่ไม่เหมาะสม เพราะมีความเชื่อว่าการเทน้ำลงจุดที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ผู้ที่ล่วงลับไม่ได้รับบุญกุศลใดๆ ที่ทำให้ไป
ความเข้าใจเรื่องการกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศล – พระมหาวุฒิชัย ว วชิรเมธี
วิธีใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับ
วิธี ใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับ, การใส่บาตร อุทิศส่วนกุศล, การใส่บาตรที่ถูกต้อง, ใส่บาตรตอนเช้า กรวดน้ํา – การทำบุญให้กับผู้ล่วงลับสามารถทำได้ด้วยหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญใส่บาตรยามเช้า การใส่บาตรตอนเช้า ที่เป็นการใส่ข้าวสวยและอาหารคาว-หวาน, การทำบุญสังฆทาน หรือการเลี้ยงพระที่ถวายทั้งภัตตาหารและถวายทั้งจตุปัจจัย รวมไปถึงสิ่งของต่างๆ ที่จะส่งไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
เมื่อทำบุญเสร็จเรียบร้อยก็จะต่อด้วยการอุทิศบุญและการกรวดน้ำทันที
ซึ่งในการทำบุญนั้นจะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมหรือความสะดวกของแต่ละคน ส่วนการอุทิศผลบุญให้กับผู้ล่วงลับหลังการทำบุญสามารถทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. เอ่ยชื่อผู้ล่วงลับในขณะทำ
ในขณะที่กำลังถวายสังฆทานให้แก่พระภิกษุสงฆ์ จะต้องมีการเอ่ยชื่อของญาติพี่น้องหรือคนที่ต้องการให้รับบุญ ร่วมไปด้วย จะต้องเอ่ยชื่อแบบเจาะจงทั้งชื่อและนามสกุล เพื่อให้ผู้ล่วมลับผู้นั้นได้บุญกุศลและสิ่งของต่างๆ ที่ตั้งใจส่งไปให้โดยตรง พร้อมการอธิษฐานจิตให้ผลบุญที่ทำส่งกลับมาสู่ครอบครัวและลูกหลาน เพื่อให้เกิดเป็นความสุขและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
2. ใส่บาตรทุกเช้า พร้อมกรวดน้ำในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์
ผู้ที่ใส่บาตรพระยามเช้าเป็นการถวายข้าวและอาหารต่างๆ จะ นิยมอุทิศบุญให้ผู้เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะความเชื่อที่ว่าวิญญาณของผู้ล่วงลับจะยังคงอยู่บนโลกมนุษย์ 7-14 วัน จากนั้นจึงจะจากโลกมนุษย์ไปแบบสงบสุข
ดังนั้น เมื่อทำบุญใส่บาตรในยามเช้าแล้วจะทำให้ยังคงได้รับบุญอยู่ และจะสามารถรับของที่ชื่นชอบได้โดยตรง ฉะนั้นผู้ที่เป็นญาติ มักจะนิยมใส่บาตรทำบุญยามเช้าตลอดทั้งสัปดาห์ โดยจะเน้นใส่อาหารทั้งคาว-หวานที่ผู้ล่วงลับชื่นชอบโดยเฉพาะ
กรวดน้ําหลังใส่บาตร, กรวดน้ํา แผ่เมตตา – ถ้าเป็นการทำบุญใส่บาตรยามเช้าให้นำของใส่บาตรตามปกติ แล้วทำการกรวดน้ำหลังพระสวดหรือถ้าไม่สะดวกก็สามารถกลับมากรวดน้ำที่บ้าน พร้อมการตั้งใจที่จะแผ่เมตตาและบุญกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อของบางคนที่จะมีการถือศีลเพิ่ม เพื่อทำให้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับได้บุญกุศลเพิ่มขึ้น
3. ทำบุญแบบครบพิธีการในวันเดียว
สำหรับการทำบุญเมื่อครบรอบวันเสียชีวิตจะมีการทำบังสุกุลกันที่วัดโดยตรง
แต่ถ้าบ้านใดเก็บโกศกระดูกผู้ตายไว้ที่บ้านก็อาจจะนิมนต์พระมาทำบุญครบรอบวันเสียชีวิตกันที่บ้าน พร้อมถวายทั้งภัตตาหาร, สังฆทาน และปัจจัยต่างๆ มีการอุทิศบุญและกรวดน้ำแบบครบครันในหนึ่งเดียว
4. ทำบุญตามความสะดวก (กรณีไม่มีเวลา)
แต่สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกหรือยังคงต้องทำงาน มีวันหยุดน้อย ก็อาจจะเลือกเป็นการทำบุญใส่บาตรในยามเช้าหรือการถวายสังฆทานเมื่อถึงวันว่าง พร้อมการอุทิศบุญหรือกรวดน้ำตรงจุดที่ทำบุญทันทีก็ได้เช่นกัน ทั้งยังสามารถใช้เป็นการรักษาศีล, สวดมนต์ และนั่งสมาธิ พร้อมอุทิศบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับได้ด้วยเช่นกัน
บทความที่น่าสนใจ: ทําบุญ 100 วัน การทำบุญครบรอบวันเสียชีวิต ทำบุญ 7 วัน 50 วัน 100 วัน
ขั้นตอนของการอุทิศบุญ และกรวดน้ำให้ผู้ล่วงลับอย่างถูกต้อง
เมื่อคุณรู้แล้วว่าการอุทิศบุญ, การใส่บาตรทำบุญ, การกรวดน้ำ เป็นอย่างไร และทำไมถึงต้องมีพิธีกรรมเหล่านี้
เรื่องต่อไปที่คุณควรรู้ คือ ขั้นตอนของการอุทิศบุญและการกรวดน้ำให้กับผู้ล่วงลับ กรวดน้ำให้คนตาย ของชำร่วยงานศพ ขั้นตอนอย่างละเอียดชัดเจน เพื่อทำให้คุณสามารถนำไปร่วมใช้กับการอุทิศบุญของคุณได้อย่างถูกต้องดังต่อไปนี้
.
1. การอุทิศบุญ
สำหรับ การอุทิศบุญนั้น คุณสามารถทำได้ทั้งในขณะที่ทำบุญอยู่หรือทำหลังจากการทำบุญ รวมไปถึงช่วงที่พระสวดให้พร
โดยจะแยกออกเป็นการทำบุญใส่บาตรยามเช้า คุณสามารถที่จะอุทิศบุญในช่วงที่พระสวดให้พรได้เลย
มหัศจรรย์แห่งบุญ ใส่บาตรพระสงฆ์ตอนเช้า ที่ชาวพุทธหลายคนยังไม่รู้
แต่ถ้าเป็นการถวายสังฆทานคุณควรกล่าวอุทิศบุญในช่วงถวายสังฆทานหรือช่วงกรวดน้ำได้ทั้งหมด
2. วิธีกรวดน้ำ หลังใส่บาตร ที่ถูกต้อง
ช่วงเวลาของการกรวดน้ำจะเป็นช่วงพระภิกษุสงฆ์ทำการอนุโมทนาและสามารถทำหลังการทำบุญเสร็จได้ด้วยเช่นกัน
จะเน้นความสะดวกของผู้ทำบุญเป็นหลัก จึงสามารถทำได้ทั้ง 2 รูปแบบ เพียงแต่ความหมายจะแตกต่างกัน คือ
การกรวดน้ำในช่วงพระภิกษุอนุโมทนา บุญกุศลที่ทำจะไปสู่ผู้ล่วงลับอย่างรวดเร็วหรือเห็นผลทันที
ในบางตำรากล่าวว่าถ้าญาติที่รอรับส่วนบุญกลายเป็นเปรต เมื่อกรวดน้ำในช่วงพระอนุโมทนาทันที ญาติก็จะได้รับอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน
ถ้าเป็นการกรวดน้ำหลังการทำบุญ ก็สามารถรับได้เช่นกัน แต่เวลาจะนานขึ้น ที่สำคัญคือ ถ้าผู้ทำบุญเกิดลืมกรวดน้ำเกินไปกว่า 1 วัน บุญนั้นจะตกที่ตัวผู้ทำเพียงคนเดียว ส่วนผู้ล่วงลับจะไม่ได้ส่วนบุญที่คุณทำให้เลย
การกรวดน้ำจะมีทั้งแบบกรวดน้ำเปียกและแห้ง ที่จะเลือกได้ตามความสะดวกด้วยเช่นกัน ซึ่งการกรวดน้ำเปียกนั้นจะเป็นการรินน้ำลงสู่ภาชนะและนำไปสู่การเทลงพื้นดิน
ส่วนการกรวดแห้ง คือการอุทิศด้วยแรงอธิษฐาน เป็นการตั้งจิตอธิษฐานเพื่อการอุทิศบุญกุศลไปสู่ผู้ล่วงลับ โดยจะต้องมีการเอ่ยชื่อ-นามสกุลอย่างชัดเจนและต้องมีความตั้งใจในการอธิษฐานสูง
3. บทกรวดน้ํา หลังใส่บาตร
บทกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ, บทอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ, บทกรวดน้ำ ให้ผู้ล่วงลับ, กรวดน้ํา บทสวด, คาถากรวดน้ํา หลังใส่บาตร – สำหรับผู้ที่ไปทำบุญอุทิศเพื่อผู้ล่วงลับ อาจจะมีคำถาม
เวลากรวดน้ำ ต้องพูดอะไร
คำตอบคือ ต้องกล่าวบทกรวดน้ำและคำอธิษฐาน
โดยที่บทสวดกรวดน้ํามีทั้งแบบย่อและแบบยาว โดยแบบยาวนั้นจะไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะจะทำให้ไม่สะดวก ยิ่งถ้าไปทำบุญที่วัดด้วยแล้วจะยิ่งไม่สะดวกอย่างมาก
บทกรวดน้ํา แบบย่อ
บทกรวดน้ําแบบย่อ หลังใส่บาตร, บทกรวดน้ํา อิทังเม แบบย่อ, บทกรวดน้ำ ให้ผู้ล่วงลับแบบสั้น, บทกรวดน้ํา หลังใส่บาตร แบบสั้น, คาถากรวดน้ํา สั้นๆ, คาถากรวดน้ํา อิทังเม, กรวดน้ํา แบบสั้น, กรวดน้ําสั้น – ดังนั้นจึงมี บทกรวดน้ํา หลังใส่บาตร แบบสั้น แบบย่อ ที่สามารถใช้ได้อย่างสะดวกมากกว่า คือ
“อิทังเม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย”
ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุขกาย สุขใจเถิดฯ
พร้อมการอธิษฐานเพื่อยกบุญให้กับผู้ล่วงลับที่คุณตั้งใจมาทำให้ ต้องเอ่ยชื่อ-นามสกุลให้ชัดเจน แต่ถ้าอุทิศบุญให้หลายคน กลัวจำไม่ได้ ให้คุณเอ่ยเป็นญาติในวงศ์ตระกูลเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้สะดวกต่อการส่งบุญไปสู่ผู้รับมากขึ้น
บทกรวดน้ํา แบบสั้น หลังใส่บาตร
บทกรวดน้ำ แบบยาว
บทกรวดน้ํา แบบยาว, คาถากรวดน้ํา อิมินา เริ่มต้นด้วยการตั้งนะโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ (3 จบ)
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจะริยูปะการา จะ มาตา ปิตา จะ ญาตะกา
ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
พรัหมมะ มาราจะ อินทา จะ ทุโลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุ ปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาทิปะ วะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุมา
ปัญจะมาเร ชิเร นาโถ ปัตจะสัมโพธิ มุตตะมัง
จะตุสัจจัง ปะกาเสสิ มหาเวรัง
สัพพะพุทเธ นะมามิหัง
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
4. การกรวดน้ำของครอบครัว
สำหรับการกรวดน้ำของครอบครัวหรือผู้ที่มาด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ ในขณะที่พระภิกษุเริ่มสวดในช่วงที่ต้องอุทิศบุญและกรวดน้ำ จะมีการแตะตัวต่อกัน เพราะการกรวดน้ำด้วยการรินน้ำลงสู่ภาชนะมักจะอยู่ที่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น โดยจะเน้นเป็นคนที่อยู่ใกล้กับพระสงฆ์มากที่สุดหรืออยู่ด้านหน้า
คนที่อยู่ด้านหลังสามารถแตะตัวคนที่อยู่ด้านหน้าต่อกันได้ ซึ่งผู้ที่อยู่ด้านหลังแต่ละคนสามารถที่จะอุทิศบุญให้กับผู้ล่วงลับด้วยการอธิษฐานจิต และเอ่ยชื่อกับนามสกุลให้ชัดเจน
เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถอุทิศบุญได้ตามที่ต้องการ ดังนั้นจึง ไม่จำเป็นว่ามาด้วยกันแล้วทุกคนจะต้องรินน้ำลงภาชนะทุกคน
5. ความเชื่อของการกรวดน้ำ
สำหรับความเชื่อของการอุทิศบุญและการกรวดน้ำ ที่มากกว่าการส่งบุญกุศลและสิ่งของต่างๆ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับแล้วเท่านั้น คือ สามารถมอบให้แก่เทพยดาที่คุ้มครองตัวคุณอยู่ รวมไปถึงการมอบให้กับสัมภเวสี ผีไม่มีญาติ เพื่อเป็นการกระจายบุญต่อให้ผู้อื่นที่ล่วงลับไปโดยไม่รู้ตัวและไม่มีญาติทำบุญให้ เปรียบเสมือนดั่งการทำทานให้แก่ผู้ยากไร้
ดังนั้นเมื่อคุณเริ่มอุทิศบุญและกรวดน้ำ จึงจะได้ทั้งตัวคุณเอง, เทพที่คุ้มครองตัวคุณ, ญาติหรือผู้ล่วงลับที่คุณเจาะจงชื่อลงไป และเหล่าสัมภเวสีที่ยากไร้ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญใหญ่เป็นอย่างมาก
อานิสงส์ การใส่บาตร
การทำบุญใส่บาตรในตอบเช้า หากได้ทำทุกวัน ก็นับว่ามีอนุสงส์ผลบุญที่แรงมาก เพราะบุญที่ทำต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันเป็นอาจิณณกรรม จะช่วยตัดรอนวิบากกรรมเก่าในอดีต และดึงดูดทรัพย์ ความสุข ความสำเร็จ มาให้ในป้ัจจุบัน
1. ได้รับอานิสงส์ 5 ประการตามที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
กล่าวคือ เป็นที่รักของผู้คนทั้งหลาย, คนดีมีปัญญาย่อมชอบคบค้าสมาคมด้วย, มีชื่อเสียงที่ดีงาม, เป็นผู้ไม่ห่างไกลธรรมะ และเมื่อตายแล้วย่อมเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์
2. ทำให้จิตใจเกาะเกี่ยวอยู่กับความดี
เป็นการฝึกจิตให้คุ้นเคยกับกุศลซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองว่า “ผู้ฝึกจิตดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้”
3. เป็นการลดความตระหนี่ถี่เหนียว
บรรเทาความเห็นแก่ตัว สร้างใจให้เป็นสุข และสร้างสังคมให้ร่มเย็น
4. เป็นการต่อบุญต่อลาภให้แก่ตนเอง
เพราะการใส่บาตรเป็นการเสริมทานบารมีโดยตรง เป็นการสร้างทางแห่งความมั่งคั่ง ร่ำรวย และความคล่องตัวในโลก
5. เพื่อการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับไปแล้ว
อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
6. เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเราเอาไว้
เพื่อความงดงามและมีเสน่ห์ อันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทย
7. เป็นแบบอย่างการส่งต่อความดีจากรุ่นสู่รุ่น
เพื่อให้ลูกหลานมีแบบอย่างในการทำความดีสืบต่อกันไป
8. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
เพราะพระภิกษุสามเณรต้องอยู่ด้วยการบิณบาตรเลี้ยงชีพ ถ้าไม่มีใครใส่บาตร ก็ไม่มีอาหาร เมื่อไม่มีอาหารย่อมมิอาจดำรงชีพอยู่ได้ และพระพุทธศาสนาก็อาจจะสิ้นสุดลง
9. เป็นการสร้างความปรองดองให้กับชาวพุทธ เป็นการหยุดวิกฤตความศรัทธา
เกิดเป็นพลังแห่งความสามัคคีขึ้น ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบสุข
อุทิศบุญอย่างไรให้เกิดอานิสงส์สูงสุด
สำหรับทางพุทธธรรมนั้นจะถือว่าการอุทิศบุญเปรียบดั่งการจุดเทียนและการให้ความสว่างแก่ผู้อื่น โดยที่มีตัวผู้ทำบุญเป็นแสงไฟที่จะส่งต่อไปสู่ผู้ล่วงลับแล้ว
แต่จะต้องมีองค์ประกอบที่จะทำให้การอุทิศบุญกับผู้ล่วงลับได้ผลดี ต้องเกิดขึ้นจากปัจจัย 4 ประการดังต่อไปนี้
1. ต้องทำบุญจึงจะอุทิศได้
การที่คุณจะอุทิศบุญได้นั้นจะต้องมีการทำบุญก่อนและในช่วงของการทำบุญจะต้องมีการอุทิศกับการกรวดน้ำให้เสร็จเรียบร้อย
ไม่ว่าจะเป็นการกรวดน้ำเปียกหรือกรวดน้ำแห้ง จะต้องทำหลังจากการทำบุญแล้วเท่านั้น คุณจึงจะสามารถส่งต่อบุญที่ทำไปสู่ผู้ล่วงลับได้
ถ้าไม่ได้ทำบุญใส่บาตรหรือการถวายสังฆทาน อย่างน้อยจะต้องเป็นการรักษาศีลและการนั่งสมาธิเพื่อสร้างบารมีที่ต้องใช้เวลาพอสมควร จึงจะสามารถอุทิศบุญให้กับญาติหรือคนรู้จัก รวมไปถึงเทพยดาและสัมภเวสีต่างๆ ได้
ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้ทำบุญใดๆ เลย ไม่ได้ปฏิบัติธรรมหรือนั่งสมาธิแต่อย่างใดก็ไม่สามารถที่จะอุทิศบุญแบบปากเปล่าให้ใครได้ เพราะต่อให้คุณอุทิศไปก็จะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ ทั้งสิ้น
2. ต้องมีเจตนาดีและเจาะจง
การอุทิศบุญให้กับผู้ล่วงลับจะเกิดผลดีต่อเมื่อผู้ทำบุญมีเจตนาในการอุทิศที่ดีและเจาะจงชื่อ-นามสกุลอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการอนุญาตให้ผู้นั้นสามารถรับบุญไปได้
การเอ่ยลงชื่อจึงเป็นการเรียกให้ผู้รับส่วนบุญมารับส่วนของตัวเองไปส่วนผู้ทำบุญจะถือว่าเป็นการยกบุญให้โดยแสดงเจตนารมณ์ที่ดีและชัดเจน เมื่อใดที่คุณเอ่ยชื่อและนามสกุลของผู้รับ ผู้อื่นก็จะไม่สามารถมารับบุญนี้ได้
ดังนั้น ผู้ที่รับจึงไม่ต้องไปแย่งหรือถูกคนอื่นแย่ง ที่สำคัญคือถ้าทำไม่ถูกต้อง บุญทั้งหมดจะตกอยู่ที่ตัวคุณเองคนเดียวแล้วกลายเป็นว่าผู้ล่วงลับจะไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
3. ผู้ล่วงลับต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมรับเท่านั้น
อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้การอุทิศบุญของคุณสำเร็จผลดี คือ ผู้ล่วงลับจะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมรับบุญแล้วเท่านั้น
เพราะในทางพุทธถือว่าผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วมักจะกลายเป็นวิญญาณที่จะต้องได้รับโทษตามแต่ละบุคคลเคยทำมาในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่
ดังนั้นช่วงของการรับโทษในขุมนรกจะไม่ได้รับบุญใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะต้องได้รับโทษจนเสร็จเรียบร้อยเสียก่อนและพ้นสภาพของการรับโทษทัณฑ์ต่างๆ จนครบถ้วนแล้ว จึงจะสามารถขึ้นมารับบุญที่ญาติทำให้ได้และเมื่อใดที่กลายมาเป็น โอปปาติกะ** ก็จะถือว่าอยู่ในสถานะรับบุญได้
**โอปปาติกะ หมายถึง ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ และโตเต็มตัวในทันใด ตามแต่อดีตกรรม ได้แก่ เทวดา พระพรหม สัตว์นรก เปรต อสูร
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
โอปปาติกะคืออะไร
4. ผู้รับต้องยินยอม
ปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งเรื่องที่ถือว่าสำคัญมาก คือ เมื่อคุณทำบุญแล้วพร้อมอุทิศบุญให้ผู้ที่รอรับบุญ จะต้องเกิดการอนุโมทนาจากผู้รับเท่านั้นหรือเรียกง่ายๆ ว่า “ยินดีรับบุญ” ที่คุณทำให้
เพราะถ้าผู้ล่วงลับที่คุณทำบุญให้เกิดไม่ยินดีที่จะรับก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ
ส่วนใหญ่แล้วกรณีนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีเวรกรรมซึ่งกันและกัน หรือที่ถูกเรียกว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ถ้ามีเวรกรรมต่อกันแบบรุนแรง จนทำให้เจ้ากรรมนายเวรไม่สามารถให้อภัยได้ ก็อาจจะไม่ยอมรับบุญที่ผู้นั้นทำหรืออุทิศมาให้ จึงกลายเป็นดวงจิตที่ไม่เลื่อมใสบุญที่ส่งไป ทำให้ไม่มีประโยชน์ต่อทั้งผู้ให้และผู้รับ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นหนึ่งปัจจัยที่น่ากลัวพอสมควร
ใส่บาตร ภาษาอังกฤษ
ใส่บาตร ภาษาอังกฤษ คือ Offer food to the monks / Give alms to the monks / Present food to the monks
กรวดน้ํา ภาษาอังกฤษ คือ Pour water of dedication
ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ ภาษาอังกฤษ, ทําบุญให้ผู้ล่วงลับ ภาษาอังกฤษ คือ Charitable dedication to the deceased
อานิสงส์ ภาษาอังกฤษ คือ Virtue
ถ้าคุณเป็นคนทำบุญคุณควรฝึกการอุทิศบุญและการกรวดน้ำตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เพื่อทำให้บุญที่คุณทำมาสามารถส่งต่อไปถึงผู้ที่ล่วงลับได้ การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ ไม่ว่าจะเป็นญาติ, คนรู้จัก, เพื่อนสนิท, เทวดาประจำตัว หรือแม้แต่สัมภเวสีทั่วไป ก็จะได้รับบุญที่คุณทำให้อย่างแน่นอน
เป็นการฝึกทำให้คุณรู้จักเสียสละแก่ผู้อื่น ถ้าคุณฝึกฝนการอุทิศบุญให้คล่องแคล่วเป็นประจำและต่อเนื่องแล้ว จะทำให้คุณสามารถส่งบุญต่างๆ ไปสู่ผู้ล่วงลับของคุณได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดประสิทธิภาพ
และทำให้ตัวของคุณเองมีความสุขต่อการได้ทำบุญที่ส่งต่อถึงคนที่คุณรักหรือผู้ล่วงลับที่คุณต้องการยกบุญให้อย่างแน่นอน
Pingback: งานฌาปนกิจคืออะไร งานศพไทย ความสำคัญของงานฌาปนกิจ พร้อมขั้นตอนการทำพิธีแบบไทย | นิพพานกิฟ