เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ

เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ

เมรุ หรือ เมรุเผาศพ เมรุเผา เป็นสถานที่ที่ทุกคนไม่มีใครต้องการอยากใช้ หากแต่กลับเป็นสถานที่ที่ทุกคนจะต้องได้ใช้กันอย่างแน่นอน หลังจากละสังขารอำลาโลกนี้ไปแล้ว

ซึ่งลักษณะของเมรุเผาศพที่ใช้กันจะมีรูปแบบและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีลักษณะที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยการนำเมรุมาใช้ในงานเผาศพ งานศพ ก็มีประวัติความเป็นมา ประวัติเมรุ และมีความเชื่อที่น่าสนใจดังนี้

เมรุลอย คืออะไร <–คลิกอ่าน

เมรุ เมรุเผาศพ สถานที่เผาศพจากชนชั้นสูงสู่ชนชั้นสามัญ

เมรุอ่านว่า

เมรุ อ่านว่า เมน

เมรุมาศ อ่านว่า เม-รุ-มาด

เมรุมาศ คําอ่าน เม-รุ-มาด

พระเมรุ อ่านว่า พระ-เมน

พระเมรุมาศ อ่านว่า พระ-เม-รุ-มาด

เมรุ ภาษาอังกฤษ Crematorium

พระเมรุมาศ ภาษาอังกฤษ Royal Crematorium

 

พระเมรุมาศ ความเชื่อ

พระเมรุมาศ ในหลวง ร.9
พระเมรุมาศ ในหลวง ร.9 – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก Thairath.co.th/news/local/1108337

 

ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ มีความเชื่อว่า กษัตริย์เป็นสมมุติเทพ คือ เป็นเทพมาจุติเพื่อช่วยปวงประชาให้รอดพ้นจากภัยอันตรายและอยู่อย่างร่มเย็น ซึ่งที่สิงสถิตของเทพตามความเชื่อก็คือ ยอดเขาพระสุเมรุ

 

ดังนั้นเมื่อกษัตริย์ได้สวรรคตแล้ว เพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณกลับสู่ยอดเขาพระสุเมรุ จึงมีการสร้าง พระเมรุมาศ สำหรับใช้ในการเผาศพพระมหากษัตริย์ ซึ่งลักษณะของพระเมรุมาศจะเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาเป็นยอด มีการล้อมรั้วรอบตัวอาคาร

 

ดังนั้น การสร้างพระเมรุมาศจึงถือเป็นการถวายพระเกียรติแต่พระมหากษัตริย์นั่นเอง

 

พระเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต

ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia

 

พระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ ๙
พระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ ๙ – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก Matichon.co.th/prachachuen/news_685133

 

พระเมรุมาศ ร.9

พระเมรุมาศ ร.9 ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ | 19-10-60 | ไทยรัฐนิวส์โชว์

YouTube video

.
กบนอกกะลา : พระเมรุมาศ (1) | FULL (2 พ.ย.60)

YouTube video

.
กบนอกกะลา : พระเมรุมาศ (2) | FULL (9 พ.ย.60)

YouTube video

.
พระเมรุมาศ สุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมไทย ตอน 1 | 06-05-60 | ไทยรัฐนิวส์โชว์

YouTube video

.
พระเมรุมาศ สุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมไทย ตอน 2 | 07-05-60 | ไทยรัฐนิวส์โชว์

YouTube video

.

ประวัติความเป็นมาของเมรุในประเทศไทย

ประวัติเมรุ สามารถจำแนกเป็นแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

 

1. สมัยสุโขทัย

 จากประวัติศาสตร์ได้พบบันทึกการสร้างเมรุเผาศพตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ในคัมภีร์ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วงซึ่งถือว่าเป็นบันทึกทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีความเก่าแก่มากที่สุดของไทย

 

โดยเมรุเผาศพที่สร้างขึ้นในช่วงแรกจะเป็นเมรุสำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า “พระเมรุมาศ

และพระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า “พระเมรุ” เท่านั้น

 

2. สมัยอยุธยา

ต่อมาในสมัยอยุธยา พบว่าการสร้างพระเมรุมาศเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการสร้างพระเมรุมาศอย่างยิ่งใหญ่ เนื่องจากในสมัยอยุธยามีความรุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมและเศรษฐกิจ ทำให้การสร้างพระเมรุมาศจะทำการสร้างเพื่อเป็นเกียรติให้กับมหากษัตริย์องค์ก่อนที่ได้สวรรคตไปแล้ว

โดยรูปแบบของพระเมรุมาศที่ทำการก่อสร้างได้มีการสันนิษฐานว่า เป็นรูปแบบที่ถอดแบบมาจากนครวัด ซึ่งเป็นสุสานฝังพระศพของพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากในขณะนั้น

 

เนื่องจากมีบันทึกการสร้างพระเมรุมาศของสมเด็จพระนเรศวร ที่สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงทำการสร้างถวายเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้กับองค์สมเด็จพระนเรศวรที่ทรงสวรรคตไป

การสร้างพระเมรุมาศในสมัยอยุธยาถือเป็นช่วงที่การสร้างพระเมรุมาศมีความยิ่งใหญ่อลังการที่สุดก็ว่าได้

 

3. สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น บ้านเมืองอยู่ในยุคที่มีสงคราม ทำให้การสร้างพระเมรุมาศมีการลดขนาดและความยิ่งใหญ่ลงมาให้เหมาะสมกับสถานการณ์

และในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระเมรุมาศที่สมพระเกียรติพระมหากษัตริย์อีกครั้งเพื่อใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เนื่องจากในขณะนั้นสงครามได้ยุติลงและบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทำให้มีความพร้อมในการสร้างพระเมรุมาศ และเป็นการเพื่อสนองพระคุณของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกที่ทรงมีต่อปวงชนชาวสยามด้วย

 

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการจัดสร้างพระเมรุมาศที่กลับมาสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณีในสมัยอยุธยา เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดี

นอกจากนั้นยังได้มีการสร้าง เกรินบันไดนาค สำหรับเชิญพระโกศที่บรรจุพระบรมศพไปยังพระเมรุมาศเพิ่มขึ้นมาด้วย

เกรินบันไดนาค
เกรินบันไดนาค – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก http://phramerumas.finearts.go.th/item.php?itemID=13

 

ซึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้เอง ที่ได้พบบันทึกการสร้าง เมรุเผาศพแบบถาวร ขึ้น สำหรับใช้ในการเผาศพเจ้านายและข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตลง

เนื่องจากมีความเห็นว่า การสร้างพระเมรุเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาในการสร้างเมรุแบบเดิม เพื่อเป็นการประหยัดจึงมีดำริให้มีการสร้าง เมรุแบบถาวรที่ทำจากปูน ขึ้นที่วัดสระเกศ

ซึ่งเมรุแห่งนี้จากคำบอกเล่าพบว่าลักษณะของเมรุที่สร้างขึ้นคล้ายกับพระเมรุมาศ เพียงแต่มีการย่อส่วนให้เล็กลง โดยเมรุแห่งนี้จะใช้ในการเผาศพที่ได้รับพระราชทานเพลิงศพเท่านั้น จึงถือเป็นเมรุสำหรับเผาศพพระบรมวงศานุวงศ์และชนชั้นสูงเท่านั้น ทว่าเมารุแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตชุมชนจึงทำให้การใช้งานไม่สะดวก

 

พระเมรุ วัดเทพศิรินทร์

 

ต่อมาในปี พ.ศ.2437 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการสร้างเมรุแบบถาวรที่ทำจากปูนขึ้นใหม่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งเมรุแห่งนี้มีจุดประสงค์การสร้างเพื่อให้ใช้ในการเผาศพให้กับทุกชนชั้น ตามที่พระองค์จะพระบรมราชานุญาต

 

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดา ข้าราชการหรือพ่อค้าทั่วไปก็สามารถมาทำการเผาที่เมรุแห่งนี้ได้ หากได้รับพระราชทานอนุญาตจากพระองค์ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทำการเผาที่เมรุแห่งนี้จะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์เป็นส่วนใหญ่

 

ซึ่งเมรุแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นในวัดเทพศิรินทรวาสนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลผู้คน จึงสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก โดยที่ไม่สร้างผลกระทบให้กับผู้ที่อยู่รอบข้าง ทำให้เมรุแห่งนี้ได้รับความนิยมเข้ามาใช้งานมากกว่าเมรุเดิมที่วัดสระเกศ

 

เมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

 

นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เมรุแห่งนี้ในการปลงพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และมีการตั้งพลับพลาแบบถาวรสำหรับตั้งพระศพของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และทรงพระราชทานพลับพลาแห่งนี้ว่า “พลับพลาอิศริยาภรณ์” ตามพระนามของพระราชโอรสของพระองค์ ทำให้คนแถวนั้นเรียกเมรุแห่งนี้ว่า “เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์” มาจนถึงปัจจุบัน

 

เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชทานเพลิงพระราชวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุที่ท้องสนามหลวง พระศพเจ้านายฝ่ายใน ราชนิกุล ขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นเกียรติยศ

ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia

 

ในปี พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง สุสานหลวง ไว้ภายในวัดเทพศิรินทร์ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นฌาปนสถานสำหรับถวายพระเพลิงพระศพของเจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง

 

และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สุสานหลวงแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นที่ปลงศพของประชาชนทุกชนชั้นทุกบรรดาศักดิ์ อันนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกไปจากธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่จะไม่มีการสร้างฌาปนกิจสถานภายในพระอารามหลวง

 

เมรุลอย

เมรุลอย คืออะไร, เมรุลอย ใช้กับใครได้บ้าง, เมรุลอยเผายังไง, เมรุลอย เผาจริงไหม – ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้มีการสร้าง เมรุลอย แบบที่สามารถถอดเก็บได้ โดยลักษณะของเมรุคล้ายกับเมรุหลวงที่เจ้านายชั้นสูงใช้กันในการเผาศพเจ้านายหรือพ่อค้าวานิชที่มีฐานะร่ำรวย สำหรับคนธรรมทั่วไปจะยังเผาบนเชิงตะกอนอยู่

ทว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้ชุมชนมีคนตายมากขึ้นและจำนวนผู้ที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้น การเผาบนเชิงตะกอนจึงสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้เคียง จึงมีการสร้างเมรุแบบถาวรที่เป็นปูนขึ้นในหลายวัด เพื่อใช้ในการเผาศพคนทั่วไป ซึ่งเป็นรูปแบบการเผาศพที่ยังคงใช้กันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

เมรุลอย คือ การก่อสร้างเมรุเผาแบบชั่วคราว สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก เพื่อใช้ในการเผาศพของบุคคลสำคัญต่างๆ เท่านั้น โดยเมรุลอยนี้จะมีความงดงาม โดดเด่นด้านโครงสร้างของสถาปัตยกรรม สง่างาม เรียบหรู มีการประดับประดาตกแต่งด้วยลวดลายไทยอันงดงาม วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณข้อมูล MGROnline

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ทำเมรุลอยใน 3 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา, จันทบุรี และตราด

ขอขอบคุณข้อมูล กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เมรุลอย
เมรุลอย – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก https://th-th.facebook.com/DCP.culture/posts/3796755403783337

.

การสร้างเมรุลอยแบบโบราณ

YouTube video

.

เมรุลอยนกหัสดีลิงค์ ส่งหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วันที่ 29 ม.ค. 62

YouTube video

 

บทความที่น่าสนใจ:

เผาจริง เผาหลอก ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

คลิก บทความน่าสนใจเกี่ยวกับงานศพ งานฌาปนกิจ และข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง

บทสวดชินบัญชร พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สวดอภิธรรม พิธีสวดพระอภิธรรมศพ ความเป็นมาและความสำคัญ

การแจ้งตาย ขั้นตอนการแจ้งเสียชีวิต และการขอมรณบัตรอย่างถูกต้อง

ทุ่งพระเมรุ จากทุ่งพระเมรุ มาเป็นสนามหลวงในปัจจุบัน

เหรียญโปรยทาน ใช้ในงานอะไรได้บ้าง

ดอกไม้จันทน์ ดอกไม้แทนความอาลัยและการขอขมาต่อผู้วายชนม์

 

รูปแบบของเมรุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

รูปแบบของพระเมรุที่สร้างขึ้นในแต่ละสมัยจะมีลักษณะที่ต่างกันตามความเชื่อและสถาปัตยกรรมของแต่ละยุค ซึ่งสถาปัตยกรรมของเมรุในแต่ละสมัยมีดังนี้

 

1. สมัยอยุธยา

ในสมัยสุโขทัยพบว่ามีการสร้างพระเมรุมาศสำหรับจัดพระศพพระยามหาจักรพรรดิราช แต่ทว่ามิได้มีการบันทึกลักษณะของพระเมรุมาศที่ชัดเจนว่ามีลักษณะอย่างไร

แต่บันทึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะของพระเมรุมาศเริ่มต้นที่สมัยอยุธยา โดยบันทึกไว้ว่า “พระเมรมาศแต่พระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (พระเมรุมาศของสมเด็จพระนเรศวร) ที่สร้างเมรุมาศสูงเส้นสิบเจ็ดวา ประดับด้วยเมรุทิศ เมรุราย ราชวัติ ฉัตรนาคฉัตรเบญจรงค์เสร็จ ก็อัญเชิญพระบรมศพเสด็จเหนือกฤษฎาธาร”

และบันทึกพระเมรุมาศของพระเมรุมาศสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “ที่มีขนาด 7 วา 2 ศอก โดยลง 2 เส้น 11 วา ศอกคืบ มียอด 5 ภายในพระเมรุทองนั้น ประกอบด้วยเครื่องสรรพโสภณวิจิตรต่างๆ สรรพด้วยพระเมรุทิศพระเมรุราย แลสามสร้าง” ถือว่าเป็นเมรุมาศที่มีขนาดใหญ่กว่าในสมัยพระเมรุมาศของสมเด็จพระนเรศวรหลายเท่า

 

พระเมรุมาศในยุคนี้ จะมีการปลูกสร้างพระเมรุมาศที่มีขนาดใหญ่อยู่ภายนอก และพระเมรุทอแบบบุษบกตั้งอยู่พายใน พระเมรุมี 5 ยอด

 

2. สมัยกรุงธนบุรี

เนื่องจากในสมัยนี้มีการศึกสงครามอยู่ตลอดเวลา ทำให้การสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระราชพิธีศพของมีการจัดสร้างน้อยมาก ซึ่งจากบันทึกที่พบมีสร้างพระเมรุมาศของพระศพกรมพระเทพามาตย์ พระราชชนนี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่มีได้ระบุรายละเอียดของเมรุที่ชัดเจนว่ามีลักษณะเช่นใด

 

3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระเมรุมาศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ

 

3.1 ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

คือ ช่วงสมัยระหว่างรัชกาลที่ 1 – 4 พระเมรุมาศที่สร้างจะมีลักษณะเป็นรูปทรงปราสาท โดยมีการสร้างพระเมรุตามแบบสมัยอยุธยา คือ มีการสร้างพระเมรุแบบ 2 ชั้น โดยทำพระเมรุชั้นนอกจะมีลักษณะเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด

.

3.2 ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย

คือ ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 – ปัจจุบัน การสร้างพระเมรุมาศในช่วงนี้จะมีการสร้างพระเมรุมาศเพียงชั้นเดียว คือ พระเมรุมาศทองทรงบุษบกที่อยู่ภายใน ส่วนพระเมรุมาศใหญ่ที่สร้างคลุมชั้นนอกไม่ได้มีการสร้างขึ้นในช่วงสมัยนี้

ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าการสร้างพระเมรุมาศแบบเก่านั้นเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและยังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ซึ่งรูปแบบของพระเมรุสำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงยังคงใช้แบบเดิมสืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แต่สำหรับคนธรรมรูปแบบของเมรุ ได้มีการออกแบบคล้ายกับเมรุหลวงสำหรับเผาศพเจ้านายในช่วงรัชกาลที่ 5 และมีการลดความวิจิตรลงมาเพื่อให้เหมาะกับการประชาชนทั่วไป ซึ่งมีความเรียบง่ายและยังคงใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้

 

ความสำคัญของพระเมรุกับพระมหากษัตริย์ไทย

พระเมรุมาศเป็นเครื่องที่บ่งบอกถึงความปรีชาสามารถ และความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ในแต่ละยุคสมัย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหากพระมหากษัตริย์พรองค์ใดทรงมีพระปรีชายิ่ง ขนาดของพระเมรุมาศและพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพจะมีความยิ่งใหญ่อลังการ

 

พระเมรุมาศ
พระเมรุมาศ – ขอขอบคุณ รูปภาพจาก ngthai.com/cultures/5083/royal-funeral-pyre/

 

ทว่าในปัจจุบันนี้ การจัดงานพระราชพิธีศพของพระมหากษัตริย์อาจจะไม่ได้มีขนาดยิ่งใหญ่อลังการเท่าในสมัยอดีต แต่ว่าความละเอียด ความวิจิตรและความตั้งใจที่ประชาชนมีให้ในการสร้างพระเมรุมาศ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่สื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

 

ดังนั้น ไม่ว่ารูปแบบของพระเมรุมาศที่สร้างขึ้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปอย่างไร แต่ความสำคัญและจุดประสงค์ก็เพื่อเทิดทูนคุณงามความดี พระปรีชาสามารถที่ทรงกระทำเพื่อคนไทยทุกคน และเป็นการส่งองค์สมมุติเทพให้กลับคืนสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้าอย่างสงบ

 

ความสำคัญของเมรุกับคนทั่วไป

เมรุสำหรับคนทั่วไปจะมีลักษณะที่เรียบง่าย ซึ่งจุดประสงค์ในการเผาศพก็เพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ตายให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ไม่ยึดติดกับอัตตาหรือตัวตนที่เคยเป็นในภพนี้ ของชำร่วยงานฌาปนกิจศพ snack box งานศพ

 

ดังนั้น เมรุจึงเปรียบเสมือนการหลุดพ้นอย่างหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนา

 

เมรุ วัดเทพศิรินทร์

 

นอกจากนั้นเมรุยังเป็นสถานที่ที่สร้างมาเพื่อความปลอดภัยและความอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขของคนเป็นและคนตาย เพราะการเผาศพที่เมรุวัดจะไม่สร้างกลิ่นเหม็นและควันสู่พื้นที่อยู่อาศัย เนื่องจากเมรุวัดมีปล่องปล่อยควันที่สูง ทำให้เมื่อทำการเผาศพแล้ว กลิ่นและควันไฟจากการเผาศพจะลอยขึ้นสู่ที่สูง ทำให้คนเป็นที่อยู่เบื้องล่างไม่ต้องได้รับกลิ่นนั้นเอง

 

เมรุ เมรุเผา เมรุเผาศพ เมรุเผาผี เมรุวัด แม้จะเป็นสถานที่อวมงคลที่ไม่มีใครต้องการเข้าไปอยู่ แต่ว่าก็เป็นสถานที่ที่มีความเกี่ยวกับประเพณี ความเชื่อของคนไทยมาอย่างช้านานและจะยังคงอยู่ต่อไปเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและการดำรงอยู่ของสังคมไทย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart