การละเล่นที่เกิดจากงานศพ งานศพยุคแรกอุษาคเนย์ – สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านพ้นเข้ามาในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความสุข ความเศร้า ล้วนแล้วแต่เป็นแรงบันดาลใจที่ก่อให้เกิดงานศิลปะทั้งสิ้น
โดยเฉพาะงานศพที่เป็นพิธีกรรมที่ทุกคนต้องเผชิญ จึงเป็นจารีตประเพณีที่ผสมผสานไว้ด้วยแง่มุมทางปรัชญา วัฒนธรรม ความเชื่อ และงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ที่สะท้อนห้วงอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อการอำลาและเคารพในผู้ล่วงลับออกมา
ด้วยเหตุนี้ งานศพจึงเป็นบ่อเกิดของผลงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นผลงานในด้านใดบ้าง เราจะพาคุณไปทำความรู้จักดังต่อไปนี้
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
งานศพกับงานสร้างสรรค์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
งานศพเป็นพิธีกรรมเก่าแก่ที่ดำเนินมาตั้งแต่อารยธรรมของมนุษย์ถือกำเนิดขึ้น โดยทุกอารยธรรมล้วนแล้วแต่มีพิธีกรรมจัดการศพที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อและจารีตของท้องถิ่น
ยกตัวอย่างเช่น งานศพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการละเล่นเป็นส่วนประกอบสำคัญมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น และได้รับการเผยแพร่เข้ามาในภูมิภาคเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน
พิธีกรรมศพจึงค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามอิทธิพลของศาสนาพรามหณ์ฮินดูที่เข้ามามีอิทธิพลในหมู่ชนชั้นนำที่นับถือศาสนาพุทธ
ประจักษ์ได้ชัดจากพิธีศพที่เปลี่ยนจากการฝังดินตามความเชื่อของศาสนาผีที่ฝังรากลึกลงในวัฒนธรรมของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนาน มาเป็นการเผาศพตามความเชื่อของศาสนาฮินดูที่เข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนาจากอินเดีย
ความเปลี่ยนทางความเชื่อที่เกิดขึ้นในพิธีศพก็สะท้อนออกมาผ่านงันเฮือนดีในงานศพแบบท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นิยมการละเล่นร้องรำทำเพลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพิธีเรียกขวัญ ส่งขวัญ เพื่อคลายความเศร้าโสกให้กับญาติสนิทมิตรสหายของผู้ล่วงลับ
โดยมีการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับงานศพมากมาย อาทิ พิธีสั่งเสีย เดินดง ชมดง หมอลำ หมอแคน ช่างขับ สวดคฤหัสถ์ (การสวดคฤหัสถ์ได้รับอิทธิพลจากการสวดพระในพิธีสวดศพ การสวดคฤหัสถ์คือการอยู่เป็นเพื่อนศพ) และลิเก ที่เป็นไปเพื่อสร้างความรื่นเริงขจัดความโศกเศร้าจากการสูญเสียให้หมดไป
การละเล่นที่เกิดจากงานศพ
ความเชื่อเกี่ยวกับงานศพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างการเชื่อว่าเมื่อเสียชีวิต ผู้ล่วงลับจะต้องเดินทางไปเมืองฟ้าหรือถิ่นกำเนิด โดยเดินทางย้อนเส้นทางที่มีอยู่จริงกลับขึ้นไปยังดินแดนถิ่นเก่าก่อนหน้าการอพยพย้ายถิ่นฐาน
ดังนั้น จึงต้องมีการส่งขวัญไปเมืองฟ้า เพื่อให้ผู้ล่วงลับสามารถเดินทางไปเมืองฟ้าได้อย่างปลอดภัย โดยบทส่งขวัญนั้นจะประกอบด้วยถ้อยคำที่มีความคล้องจอง ผสมผสานระหว่างวรรณกรรมประเภทร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอาลัยอาวรณ์ต่อผู้ล่วงลับที่จากไปอย่างไม่หวนกลับ
ซึ่งลักษณะดังกล่าวได้ปรากฏในงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากงานศพในยุคหลัง ได้แก่ ลำเดินดง หรือบทชมดงซึ่งเป็นบทร้อยกรองพรรณนาความสวยงามของพฤกษาพรรณไม้ และสิงสาราสัตว์ระหว่างการเดินทางไปสู่เมืองฟ้า โดยมีเนื้อหาที่พูดถึงความคร่ำครวญอาลัยสอดแทรกอยู่ในบทประพันธ์ประเภทดังกล่าวด้วย
หมอลำ หมอแคน ช่างขับ การละเล่นเพื่อส่งขวัญไปสู่เมืองฟ้า
นอกจากนั้น ความเชื่อเกี่ยวกับส่งขวัญไปเมืองฟ้ายังปรากฏออกมาในรูปของการละเล่นอย่างหมอลำ หมอแคน และช่างขับ ซึ่งสืบทอดมาอย่างยาวนานหลายพันปี
ดังปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในเวียดนาม นั่นคือลายเส้นบนเครื่องมือสำริดที่สลักเป็นรูปหมอแคน หมอขวัญ และหมอฟ้อนกำลังร่วมพิธีส่งขวัญ โดยขับลำทำนองคร่ำครวญเพื่อแสดงความอาลัยแก่ผู้ล่วงลับ
โดยมีจุดเด่นที่การใช้วิธีการสั่นลูกคอระหว่างการขับเพลงส่งขวัญ เปรียบได้ดั่งระลอกคลื่นที่กระทบพาเรือส่งผีขวัญพาผู้ตายไปยังเมืองฟ้าในท้ายที่สุด
ลิเก การละเล่นที่ถือกำเนิดครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5
นอกจาก หมอลำและเพลงส่งผีขวัญแล้ว งานศพยังเป็นต้นกำเนิดของการละเล่นที่มีชื่อเสียงอีกประการหนึ่งของประเทศไทยอย่าง ลิเก อีกด้วย
โดยลิเก ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานสวดแขกของชาวมุสลิมในกรุงเทพเพื่อถวายในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระนางเรือล่ม) อัครมเหสีองค์โปรดของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
โดยบทสวดแขกดังกล่าวถูกดัดแปลงให้มีลักษณะคล้ายบทสวดคฤหัสถ์ มีการเล่นออกภาษา หรือที่เรียกว่า สิบสองภาษาในวงปี่พาทย์ เริ่มจากภาษามลายูไปจนถึงภาษาจีน
ในเวลาต่อมา บทสวดแขกดังกล่าวก็ได้มีการพัฒนาตัวละครออกมาหลายชุด พร้อมทั้งแต่งเรื่องราวเพิ่มเติมกระทั่งกลายเป็นการแสดงลิเกดังที่ปรากฏเป็นการละเล่นพื้นฐานที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ในปัจจุบัน
โดยที่หลายคนไม่เคยล่วงรู้เลยว่า การละเล่นพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกอย่างหมอลำและลิเกนั้นมีต้นกำเนิดมาจากงานศพ อันสะท้อนให้เห็นความเชื่อเกี่ยวพับพิธีกรรมศพของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังปรากฏหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะถูกกลืนหายไปด้วยอิทธิพลของศาสนาพรามหณ์ฮินดูก็ตาม นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก
แม้ว่างานศพจะเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยแก่ผู้ล่วงลับ แต่ในทางอารยธรรม งานศพก็เป็นแหล่งกำเนิดงานสร้างสรรค์หรืองานศิลปะมากมายที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม จารีตประเพณี และความเชื่อท้องถิ่นของผู้คนในแต่ละภูมิภาค
ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ ผู้คนในแต่ละอารยธรรมจึงล้วนให้ความสำคัญกับความตาย และมีมุมมองต่อความตายแตกต่างกันไปตามแต่ในพื้นที่
สำหรับผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งปรากฎหลักฐานว่ามีการละเล่นในพิธีกรรมศพมาอย่างยาวนานหลายพันปีก็สะท้อนให้ประจักษ์ว่างานสร้างสรรค์ที่เกิดจากงานศพอย่างลิเก หมอลำ หมอแคน รวมทั้งบทส่งผีขวัญไปเมืองฟ้าล้วนเกิดขึ้นเพื่อปลอบประโลมญาติมิตรให้มีความยินดีกับผู้ล่วงลับ ผู้ซึ่งได้เดินทางกลับแผ่นดินเกิดหรือเมืองฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว