โกศ โกศใส่กระดูก โกศใส่อัฐิ คือ ที่เก็บกระดูกของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นที่ระลึกสุดท้ายให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แสดงความเคารพรักและได้รำลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
โดยเมื่อเสร็จสิ้นพิธีการเผา งานศพ กระดูกส่วนหนึ่งก็จะนำไปลอยอังคาร ส่วนที่เหลือจะบรรจุเก็บไว้ในโกศ หรือบางบ้านอาจจะเก็บกระดูกเอาไว้ทั้งหมด โดยขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคลหรือแต่ละบ้านนั่นเอง
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
โกศคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
โกศ คือ กล่อง, ผอบ, หีบ หรือคลัง โดยมีลักษณะเป็นโพรงด้านในที่สามารถเก็บบรรจุสิ่งของได้ ส่วนด้านนอกจะมีลวดลายประดับตกแต่งไว้สวยงามด้วยโลหะและอัญมณีตกแต่งต่างๆ นอกจากนี้ ยังหมายถึง หีบเก็บสมบัติ
ส่วนการใช้นั้นสามารถเขียนได้ทั้ง โกศ, โกส และ โกษ ที่จะใช้ไปตามแต่ละกรณี ส่วนคำว่าโกศในลักษณะนี้จะหมายถึง ที่เก็บของ มีรูปลักษณ์เหมือนตู้, คลัง หรือหีบ
โกศ แปลว่า; สำหรับคำว่า โกศ ในภาษาไทยจะหมายถึง ที่ใส่ศพในรูปแบบนั่ง โดยจะมาในรูปแบบทรงกลมเป็นกระบอกและมีฝาครอบด้านบน สำหรับฝาครอบจะมียอดและมีการตกแต่งด้วยวัสดุที่สวยงาม
ส่วนใหญ่แล้วคนไทยโบราณจะเรียก “โกศ” ก็ต่อเมื่อมีการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์หรือผู้ที่มียศศักดิ์สูง โดยจะมีการเรียกกันในหลายรูปแบบ เช่น โกศแปดเหลี่ยม, โกศกุดั่น และโกศโถ โกศกุดั่นน้อย เป็นต้น
โกศ ภาษาอังกฤษ, โกศใส่กระดูก ภาษาอังกฤษ คือ Cinerary Urn
เมื่อมาในยุคปัจจุบัน โกศไม่ได้หมายถึงที่บรรจุศพแบบนั่งเท่านั้น แต่ยังหมายถึง ที่บรรจุอัฐิหรือกระดูกที่จะมีด้วยกันหลายขนาด มีลักษณะคล้ายโกศดั้งเดิมที่จะเป็นทรงกระบอกปากกลมและมีฝาครอบด้านบน โดยจะมีการทำฝาที่คล้ายกับยอดเจดีย์และการออกแบบให้ดูสวยงาม ทั้งยังมีความแปลกใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับโกศในยุคใหม่ถูกทำมาให้มีขนาดเล็กลง แม้ว่าในอดีตจะมีขนาดใหญ่เท่าตัวคน เพราะเป็นการใส่พระบรมศพของพระมหากษัตริย์และราชวงศ์
โกศ คนธรรมดา; แต่กับประชาชนทั่วไป โกศจะกลายมาเป็นที่ใส่กระดูกของร่างที่เผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการออกแบบที่มีอย่างหลากหลาย สามารถหาซื้อได้ในร้านเครื่องสังฆภัณฑ์ทั่วไป
สำหรับวัสดุที่ใช้จะมีให้เลือกอย่างหลากหลายด้วยเช่นกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นวัสดุแบบทองเหลืองที่มีหลายเกรดและราคาไม่สูงมากจนเกินไป จึงทำให้ โกศทองเหลือง กลายมาเป็นหนึ่งในโกศที่ได้รับความนิยมสูงมาก
นอกจากนี้ ยังมีทั้งเรื่องของการวาดลวดลายหรือการแกะสลักให้ดูสวยงามเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนทางด้านรูปลักษณ์นั้นจะมีทั้งแบบทรงสูง, ทรงกระปุก และทรงเจดีย์ให้เลือกตามแบบที่ต้องการ
ทั้งยังมีการเพิ่มวัสดุรุ่นใหม่อย่างพลาสติก โกศพลาสติก ที่เลียนแบบทั้งสีและลวดลายของทองเหลืองออกมาได้เหมือนจริง ส่วนราคาจะถูกกว่าทองเหลืองเป็นเท่าตัว แต่ก็อาจจะมีข้อเสียในเรื่องของการเปลี่ยนสีได้ง่ายเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน
ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้โกศแบบใด ควรดูตามความเหมาะสมทั้งในเรื่องของงบประมาณ, วัสดุที่มีความทนทาน และลวดลายที่คุณชื่นชอบ
โกศ มีกี่ประเภท
โกศมีกี่แบบ – ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โกศเก็บกระดูก โกศอัฐิ โกศ กระดูก จะถูกออกแบบมาหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของคนในแต่ละรุ่น ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีโกศทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ออกขายอยู่เสมอ
ดังนั้น ลองมาดูว่าโกศแบบใดบ้างที่กำลังได้รับความนิยมในยุคนี้ โดยเราก็หยิบมาแนะนำให้คุณได้ทำความรู้จักด้วยกัน 7 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. โกศทองเหลือง
โกศทองเหลืองถือว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีความสวยงาม สามารถทำลวดลายได้อย่างหลากหลาย มีหลายเกรดให้เลือก จึงทำให้เลือกซื้อได้หลายราคา พร้อมให้ความสวยงามแวววาวและมักจะมาด้วยโทนสีทองที่ถือว่าเหมาะแก่การเก็บกระดูก
เพราะเป็นโทนสีเดียวกับจีวรพระ และมีความเชื่อว่าจะทำให้ลูกหลานที่เก็บโกศไว้เจริญรุ่งเรือง
ส่วนใหญ่แล้วโกศแบบทองเหลือง โกศใส่กระดูก ทองเหลือง จะถูกทำมาในรูปแบบของทรงเจดีย์ มีฝาครอบที่ถูกทำลวดลายเป็นเกลียวเจดีย์ทั้งหมด โกศทองเหลือง ทรงเจดีย์
ถ้าเป็นเกรดพรีเมียมมีคุณภาพ โกศทองเหลืองแท้ จะสามารถเก็บได้นาน เสียหายาก และไม่มัวหมอง มีให้เลือกทั้งขนาด 7 นิ้ว ไปจนถึง 12 นิ้ว ในราคาเพียงแค่หลักร้อยขึ้นไปเท่านั้น โกศทองเหลือง ราคา
โกศ ทองเหลือง ราคา
โกศทองเหลือง ราคาตั้งแต่ 250 บาท ถึง 2,000 บาท
.
2. โกศเบญจรงค์
โกศเซรามิค หรือ โกศเบญจรงค์ โกศ ใส่ กระดูก เบญจรงค์ จะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมเช่นกัน โดยจะให้ความสวยงามด้วยลวดลายของการวาดลายเบญจรงค์ลงสู่โกศ จะมีทั้งรูปลักษณ์แบบทรงเจดีย์, รูปลักษณ์แบบผอบลายไทย และรูปลักษณ์แบบโกศทั่วไปก็สามารถสั่งทำได้ทั้งหมด
ซึ่งราคาของโกศชนิดนี้ จะค่อนข้างแพงเพราะจะต้องใช้ช่างที่มีฝีมือในการทำเท่านั้น ทั้งยังเป็นงานแบบ Handmade ที่ใช้มือทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
แต่ให้ความคุ้มค่าสูง เพราะจะอยู่ได้กับทุกสภาพอากาศโดยไม่เสียหายง่าย พร้อมให้ความสวยงามโดดเด่นด้วยลวดลายแบบเบญจรงค์ไทย ถือว่าเป็นโถอัฐิที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างมาก
โกศใส่กระดูก เบญจรงค์ ราคา
โกศ เบญจรงค์ ราคา ตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท
.
3. โกศใส่กระดูกหินอ่อน
โกศใส่กระดูกหินอ่อน, โกศหินอ่อนแท้, โกศใส่อัฐิหินอ่อน – มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความแข็งแรงทนทานสูง ไม่ผุ ไม่พังง่าย อีกทั้งมีความภูมิฐาน ดูดี มีคุณค่า สมฐานะ มีอายุการใช้งานที่ยาวนากมาก
สามารถสลักชื่อเพิ่มเติมได้
มีขนาดที่หลากหลาย เหมาะสมตามความต้องการและสถานที่
โกศใส่กระดูกหินอ่อน ราคา
ราคาตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 8,000 บาท
.
4. โกศอะคริลิค
โกศแบบอะคริลิค ถือว่าเป็นโกศรุ่นใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะจะให้ความแข็งแรงและทนทานสูง สามารถใช้งานได้ยาวนาน สีไม่เสื่อมง่าย ไม่ก่อให้เกิดคราบดำ
ส่วนใหญ่จะเป็นงานแบบพ่นสีลงสู่อะคริลิคที่ถูกทำดีไซน์ออกมาเป็นทั้งแบบทรงเจดีย์, ทรงโกศกระบอก และทรงแบบผอบ ที่สามารถทำได้ทุกรูปแบบ พร้อมการประดับประดาด้วยอัญมณีหลากหลายชนิดและสีสัน
ส่วนใหญ่แล้วโกศลักษณะนี้ จะเป็นอะคริลิคที่มีคุณภาพและจะเป็นงานลงยาที่สวยงามมาก ยิ่งเป็นงานพรีเมียมมากเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น
สำหรับราคาถือว่าสูงกว่าโกศทองเหลืองเพราะต้องใช้มือทำเท่านั้น จึงถือว่าเป็นหนึ่งในงานหัตถศิลป์ที่นอกจากจะให้ความสวยที่เป็นเอกลักษณ์แบบไทยแท้แล้ว ยังให้ความทนทานสูงอีกด้วย
5. โกศไม้สัก
โกศไม้สัก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความคลาสสิกที่คนไทยนิยมเช่นกัน เพราะจะเป็นการนำไม้สักแท้มาแกะสลักลวดลายไทยแล้วทำเป็นทรงเจดีย์และทรงต่างๆ ตามแต่ผู้ซื้อจะสั่ง
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบโกศที่ราคาสูง ยิ่งเนื้อไม้สักมีความแท้หรือมีอายุยาวนานมากเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่งสูงตามมากเท่านั้น ที่สำคัญคือเป็นงานฝีมือที่จะต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญทำเท่านั้น เมื่อต้องการใช้จึงต้องมีการสั่งจองล่วงหน้า
แต่ส่วนใหญ่แล้ว โกศลักษณะนี้จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่ใหญ่มาก เนื่องมาจากการใช้ไม้สักแท้มาทำราคาจึงสูงมาก ถ้าใช้เนื้อไม้มากเท่าไหร่ราคาก็จะยิ่งสูงและอาจจะสูงกว่าโกศแบบเบญจรงค์อีกด้วย
โกศไม้ ราคา
6. โกศแก้ว
โกศแก้ว จะมีลักษณะแบบใสและมีการทำลวดลายออกมาสวยงามมาก พร้อมการลงยาและตกแต่งไปด้วยอัญมณีต่างๆ รอบโกศ มีการทำฝาเป็นทรงเจดีย์และทรงต่างๆ ตามที่ผู้สร้างต้องการ
ส่วนใหญ่แล้วจะผสมผสานกับสีทอง เพื่อทำให้เหมาะสมต่อการเป็นโกศกระดูก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบโกศที่ราคาสูง เพราะจะต้องใช้ช่างที่มีฝีมือทำเท่านั้น
7. โกศพลาสติก
โกศแบบพลาสติก เป็นทางเลือกของผู้ที่ต้องการโกศราคาไม่สูงมาก โดยจะเลือกใช้เป็นพลาสติกคุณภาพแล้วนำมาพ่นสีพร้อมการแกะสลักลวดลายให้คล้ายกับโกศแบบทองเหลือง ส่วนใหญ่แล้วจะแกะสลักเป็นลวดลายเบญจรงค์หรือลายไทยที่มีความสวยงาม
โกศชนิดนี้จะมีความแข็งแรง ทนทาน และน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพลาสติกที่มีความหนา ทนต่อสภาพอากาศต่างๆ ได้ดี
ส่วนฝาครอบจะทำเป็นเกลียวเจดีย์และฐานเป็นลายดอกบัวหรือลายต่างๆ ที่ลูกค้าต้องการ พร้อมการพ่นสีให้ออกเป็นสีทองเหมือนกับโกศแบบทองเหลือง และอาจจะมีสีเงินเพิ่มขึ้นมาให้เลือก จึงถือว่าเป็นหนึ่งในโกศใส่กระดูกที่ราคาถูกที่สุด
.
โกศใส่กระดูก ราคา
ราคา โกศใส่กระดูก, โกศ ราคา
4 ขั้นตอนการเก็บอัฐิก่อนใส่โกศกระดูกอย่างถูกต้อง
สำหรับการเก็บอัฐิของผู้ที่ล่วงลับจะมีด้วยกัน 4 ขั้นตอนที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก
โดย 4 ขั้นตอนนี้จะทำก่อนการเก็บอัฐิใส่โกศกระดูก ดังนั้นถ้าคุณต้องการรู้ขั้นตอนของการเก็บอัฐิอย่างถูกต้อง ลองมาดูรายละเอียดดังต่อไปนี้ พิธีสามหาบ แปรธาตุ เก็บอัฐิธาตุ
1. การเริ่มเก็บอัฐิ
หลังจากการเผาหรือการฌาปณกิจเรียบร้อยแล้วจะเป็นการเก็บอัฐิ สำหรับในบางงานเมื่อเผาแล้วอาจจะเก็บในช่วงเย็นเลย โดยจะเป็นการเก็บในช่วงเวลา 19.00 น. แล้วนำสู่การบำเพ็ญกุศลทันทีก็จะเสร็จภายใน 1 วัน
แต่ถ้าการเผาเป็นช่วงกลางคืนหรือช่วงหลัง 19.00 น.เป็นต้นไป ก็จะกลายเป็นการเก็บอัฐิในวันรุ่งขึ้นแทน โดยจะมีการนิมนต์พระสงฆ์เพื่อทำการสวดหลังการเก็บอัฐิ
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในแบบหลัง คือ การเผาช่วงกลางคืนและเก็บกระดูกในวันรุ่งขึ้น
ดังนั้น ช่วงเช้าจึงจะมีการถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ แล้วจึงนำอัฐิไปสู่การบรรจุลงสู่โกศกระดูกแล้วนำไปเก็บไว้ที่บ้าน หรือนำไปสู่การลอยอังคารให้เรียบร้อยก่อนส่วนหนึ่งแล้วเก็บอีกส่วนหนึ่งใส่โกศกระดูกไว้ หลังจากนั้นจะมีการเก็บกระดูก 7 วัน แล้วจึงจะทำการบำเพ็ญกุศลหลังการเก็บอัฐิต่อไป พร้อมการทำบุญครบ 50 วัน และครบ 100 วัน ทำบุญ 100 วัน ตามลำดับ
2. พิธีสามหาบ
พิธีสามหาบ คือ สำหรับพิธีกรรมเดินสามหาบจะถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเก็บอัฐิด้วยเช่นกัน แต่จะมาในรูปแบบของพิธีเต็มที่คนในยุคโบราณนิยมทำกัน โดยจะทำในช่วงเช้าของการเก็บอัฐิ
ที่จะมีการเตรียมเครื่องสามหาบและเครื่องบูชาต่างๆ ไว้อย่างครบครัน คือ เครื่องทองน้อยที่จะมีธูป 1 เทียน 1 มีเชิงเทียนขนาดเล็ก และดอกไม้ที่ถูกทำเป็นพุ่มอีกประมาณ 3 พุ่ม
โดยจะจัดเป็น 1 ชุด มีสุหร่ายหรือที่เรียกว่าขวดโปรยน้ำ มีน้ำอบไทย 1 ขวด พานใส่เงินที่จะใส่เป็นเหรียญเศษสตางค์ 1พาน มีโกศเก็บกระดูกและผ้าขาวเพื่อห่ออัฐิ จากนั้นจะมีการวางสิ่งของเหล่านี้ไว้ที่ข้างอัฐิ พร้อมการถูกจัดไว้บนหาบ เมื่อได้เวลาแล้วจะมีการเดิน 3 หาบ ด้วยการเริ่มจากเลี้ยงพระสงฆ์ก่อน 1 ชุด
โดยในชุดแรกจะมีเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์หรือที่ถูกเรียกว่าไตรครอง, ชุดที่ 2 จะเป็นสำรับอาหารคาว-หวาน และชุดที่ 3 จะเป็นเครื่องใช้ภายในครัว เช่น เตาหรือหม้อข้าว เป็นต้น
โดยการจัด 3 หาบยังมีอีกหลายรูปแบบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล การจัด 3 ชุดนี้จะจัดลงบนหาบแล้วให้ญาติ 3 คนเป็นผู้หาบ และในบางครอบครัวอาจจะเลือกใช้ 3 หาบ เดินวนรอบกระดูก 3 ครั้ง และใช้ญาติถึง 9 คนด้วยกัน
ความเชื่อนี้จะเชื่อว่า เป็นการเชิญอัฐิหรือกระดูกของผู้ที่เสียชีวิตกลับสู่บ้านได้ดี ไม่มีหลงทาง และเป็นการทำบุญหรือบังสุกุลหลังการเผาให้ทันที
เมื่อจบงานแล้วทางเจ้าภาพจะมีการโปรยเศษสตางค์ที่ถือว่าเป็นการให้ทานอีกด้วย
3. พิธีแปรธาตุ
พิธีแปรธาตุ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่คนไทยนิยมทำในช่วงเก็บอัฐิ โดยจะทำตั้งแต่วันแรกที่เผาเสร็จแล้ว, วันรุ่งขึ้น หรือจะทำภายใน 3-7 วันที่นับจากวันเผาก็ได้เช่นกัน
จะเป็นการนำกระดูกมาจัดรูปทรงให้กลายเป็นรูปลักษณ์ของคนที่กำลังนอนหงายหน้าอยู่และจะมีการหันทางศีรษะไปช่วงของทิศตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนโลกแห่งความตาย
จากนั้นจะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำการบังสุกุลตายและอาจจะมีการใช้ผ้าทอดร่วมด้วย จากนั้นพระสงฆ์จะทำการสวดบังสุกุลจนกระทั่งจบบท แล้วจึงจะมีการแปรรูปอัฐิใหม่อีกครั้ง
โดยจะแปลให้ช่วงของศีรษะหันไปอยู่ทางทิศตะวันออก เพื่อเป็นการเปรียบว่าผู้ตายได้เกิดใหม่ ทางผู้ที่เป็นเจ้าภาพงานศพจะใช้เครื่องหอม, ดอกไม้ และเงินทองโปรยลงสู่กระดูก จากนั้นจะมีการนิมนต์พระสงฆ์เพื่อทำบังสุกุลอีก 1 ครั้ง โดยจะเรียกว่า การบังสุกุลเป็น
เมื่อเสร็จพิธีแล้วจึงจะมีการเก็บอัฐิลงสู่โกศและแบ่งสู่การลอยอังคารในแม่น้ำต่อไป
การแปรธาตุนั้นจะถือว่าเป็นการส่งผู้ที่เสียชีวิตไปสู่โลกแห่งความตายอย่างเป็นสุขและนำทางไปสู่การเกิดในภพชาติใหม่ที่ราบลื่นอย่างรวดเร็ว พร้อมทำให้การเกิดใหม่มีแต่ความโชคดีอีกด้วย
4. การออกทุกข์
สำหรับการออกทุกข์นั้น คือ การเก็บอัฐิลงสู่โกศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการทำพิธีต่างๆ จนครบถ้วน จะเป็นการทำบุญต่อทันที แต่สามารถผ่อนปรนเป็น 3-7 วันหลังการเผาได้เช่นกัน แต่จะต้องทำในช่วงเวลานี้ เพื่อทำให้ผู้ล่วงลับได้จากไปอย่างหมดห่วงและมีบุญติดตัวไปด้วย
ถ้าต้องการให้ขั้นตอนนี้มีความสมบูรณ์ ต้องมีการเลี้ยงพระสงฆ์เพื่อทำการบังสุกุล มีการเทศน์และมีการตั้งบาตรพร้อมประพรมน้ำมนต์และเดินสายสิญจน์แบบครบครัน จะมีลักษณะของพิธีที่คล้ายกับการทำบุญบ้าน
ซึ่งจะให้ทั้งการทำบุญแก่ผู้ล่วงลับและเพิ่มสิริมงคลให้กับญาติพี่น้องกับคนที่อยู่ภายในบ้าน โดยการแต่งกายของผู้ที่มางานและเจ้าภาพจะเป็นโทนสีขาว-ดำทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้จะถูกเรียกว่า การออกทุกข์
ประวัติของโกศใส่กระดูก
โกศ ประวัติ ประวัติของโกศสำหรับบรรจุกระดูกนั้นมีความเป็นมายาวนานกว่า 2,500 ปีแล้ว โดยในรูปแบบดั้งเดิมจะเป็นภาชนะที่ทำมาจากดินเผา มีทั้งรูปแบบทรงกระบอก, ทรงผอบและทรงหม้อ โดยจะเลือกใช้วัสดุดินเผาเป็นหลัก
จากนั้นมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะสร้างไว้ตามพื้นที่ทุ่งกว้างและถูกปรับให้การสร้างสถูปเจดีย์มาอยู่ภายในวัด ของชำร่วยงานศพ
นอกจากนี้ โกศเก็บกระดูกในช่วงยุค 2,500 ปีก่อนไม่ใช่การเผาแล้วนำกระดูกมาใส่ แต่เป็นการนำร่างของมนุษย์ทั้งร่างใส่ลงในภาชนะแบบดินเผา จึงถูกเรียกว่าโกศบรรจุศพ พร้อมการใช้วิธีการที่คล้ายกับประเทศอียิปต์ โดยมีการใส่น้ำยาเพื่อให้ศพแห้งลง ไม่เน่าเปื่อย ไม่มีกลิ่นเหม็น ดังนั้น เมื่อใส่ศพลงสู่โกศแล้วจึงไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่น และศพยังสามารถอยู่ภายในโกศได้เป็นอย่างดี
แต่เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ของประเทศอินเดีย จึงปรับเปลี่ยนการฝังศพกับการใส่ศพไว้ภายในโกศ สู่การเป็นพิธีเผาศพแล้วนำกระดูกบรรจุลงสู่โกศ ซึ่งวัฒนธรรมนี้ถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ไม่ใช่แค่เพียงในไทยเท่านั้นที่ได้รับอิทธิพลนี้ แต่ในประเทศพม่าก็มีวัฒนธรรมที่คล้ายกัน และทางประเทศจีนตอนใต้ก็ใช้วิธีการเผาด้วยเช่นกัน
ดังนั้น โกศยุคใหม่ จึงถูกปรับรูปทรงให้เล็กลง เพราะการเผาแล้วนำอัฐิหรือกระดูกใส่โกศได้รับความนิยมมากที่สุด
ส่วนการเก็บอัฐิไว้ในโกศ จะมีตั้งแต่นำไปเก็บไว้ที่บ้านและการเก็บไว้ตามช่องของกำแพงวัด โกศใส่กระดูกที่วัด ด้วยความเชื่อที่ว่าการอยู่ใกล้วัด ผู้ล่วงลับจะได้ยินเสียงสวดมนต์ที่จะทำให้รู้สึกสงบสุข เมื่อถึงเวลาทำบุญ ญาติพี่น้องก็สามารถเดินทางมาวัดแล้วทำการนิมนต์พระเพื่อทำบังสุกุลได้อย่างสะดวก
ส่วนการบรรจุศพลงสู่ภาชนะนั้น มีมายาวนานกว่า 2,500 – 3,000 ปีก่อน ซึ่งจะถูกเรียกว่า Coffin คือ การนำศพมาทำการงอเข่าและให้เข่าชิดกับอก จากนั้นจะใส่ลงสู่ภาชนะที่ถูกเตรียมไว้และจะเก็บศพไว้ภายในอย่างยาวนานจนกระทั่งเหลือเพียงแค่กระดูกเท่านั้น
สำหรับในประเทศไทยแล้ว วิธีการนี้จะถูกใช้กับชนชั้นสูงของประเทศเท่านั้น แต่ถ้าเป็นประชาชนทั่วไปจะเป็นการใส่โลงและฝังลงสู่ดิน แต่สำหรับ ยุคนี้แล้วจะนิยมเป็นการเผาที่ถือว่าสะดวกที่สุดและสามารถเก็บกระดูกไว้ภายในโกศได้ง่ายอีกด้วย
บทความน่าสนใจเพิ่มเติม:
สุจิตต์ วงษ์เทศ : เก็บกระดูกใส่ไห ใส่หม้อ ใส่โกศ ประเพณีเก่าแก่โคตรๆ 2,500 ปีมาแล้ว
ถ้าคุณต้องการความรู้เกี่ยวกับ โกศ ใส่กระดูก พร้อมไปด้วยประวัติที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน คุณสามารถอ่านได้จากบทความนี้ โดยจะมีการแนะนำในเรื่องของรูปแบบและวัสดุที่ถูกนำมาใช้ผลิตเป็นโกศและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
ทั้งยังมีการแนะนำในเรื่องของขั้นตอนการเก็บอัฐิอย่างถูกต้อง เพื่อทำให้คุณสามารถเก็บอัฐิของผู้ล่วงลับที่เป็นญาติพี่น้องได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน และเลือกใช้โกศที่มีคุณภาพเพื่อการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย