Daily Archives: October 25, 2019

คนตายขวัญหาย ต้องเรียกขวัญ

ความเชื่อสมัยโบราณ คนตายขวัญหาย ต้องเรียกขวัญ

“คนตายขวัญหาย ต้องเรียกขวัญ” เป็นความเชื่อสมัยโบราณ ที่ก่อให้เกิดพิธีการจัดงานศพแบบยุคแรกอุษาคเนย์ขึ้นมา ซึ่งในปัจจุบันการจัดงานศพแบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะด้วยวิทยาศาสตร์และความทันสมัยของเทคโนโลยี ทำให้ความเชื่อดังกล่าวลดน้อยลงไป ประกอบกับมีการนำเอาวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามา จึงทำให้งานศพในปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณอย่างสิ้นเชิง โดยความเชื่อเรื่องคนตายขวัญหายเป็นอย่างไร เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจกัน   คนตายเพราะขวัญหาย สมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า คนตาย เกิดจากการที่ขวัญหาย หรือขวัญออกจากร่างและกลับเข้าร่างไม่ถูก หรืออาจไปอยู่ที่ไหนสักแห่งและกำลังหาหนทางเพื่อกลับเข้าสู่ร่างของตน ดังนั้นคนโบราณจึงคิดพิธีกรรมการเรียกขวัญขึ้นมา เพื่อชักนำให้ขวัญกลับคืนสู่ร่างของคนตายและฟื้นขึ้นมาเป็นปกติอีกครั้ง แต่ถ้าหลายวันแล้วคนตายยังไม่ฟื้น ก็จะทำพิธีการฝังศพต่อไป เพื่อเป็นการส่งให้ขวัญของคนตายไปสู่ภพภูมิที่ดี หรือที่เรียกกันว่าเมืองฟ้านั่นเอง นิพพานกิฟ ของชำร่วยงานศพ ราคาถูก   พิธีทำขวัญ เรียกขวัญของคนตาย พิธีเรียกขวัญคนตาย จะทำขึ้นหลังจากมีคนตาย โดยเชื่อว่าถ้าทำพิธีเรียกขวัญแล้ว จะทำให้ขวัญของคนตายที่หายไป กลับมาเข้าร่างได้ถูก โดยการเรียกขวัญจะมีผู้หญิงเป็นแม่งานทั้งหมด และคนที่มาร่วมพิธีจะต้องแต่งตัวด้วยสีสันฉูดฉาด รวมถึงมีการร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุก โดยจะไม่มีการแต่งกายด้วยชุดสีดำและแสดงความโศกเศร้าเหมือนในยุคปัจจุบันแต่อย่างใด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นเหมือนกับงานเฉลิมฉลอง รื่นเริงเลยทีเดียว โดยการทำพิธีเรียกขวัญนี้ ไม่แน่ใจว่ามีมาตั้งแต่ยุคไหน แต่มีการพบหลักฐานเป็นลายสลักบนขวานสำริด จึงคาดว่าการเรียกขวัญคนตาย น่าจะมีมาตั้งแต่ยุค 2500 ปีมาแล้ว ซึ่งก็มีความเก่าแก่ยาวนานมากทีเดียว   พิธีส่งขวัญ ส่งวิญญาณขึ้นเมืองฟ้า หลังจากทำพิธีเรียกขวัญแล้วก็จะมีพิธีส่งขวัญตามมา ซึ่งจะทำขึ้นหลังจากที่ทุกคนแน่ใจแล้วว่าคนตายคงไม่ฟื้นขึ้นมาอีก เพราะขวัญได้หายไปแล้วตลอดกาล

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only