Tag Archives: เซ็กส์หน้าศพ

มีเซ็กส์หน้าศพ พิธีกรรมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าบารา

มีเซ็กส์หน้าศพ พิธีกรรมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าบารา

มีเซ็กส์หน้าศพ พิธีกรรมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าบารา – ในทางชีววิทยา การมีเพศสัมพันธ์หรือเซ็กส์เป็นกิจกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเพื่อสืบพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล โดยมักเกิดขึ้นในที่ปิดมิดชิดและเป็นส่วนตัวเช่นภายในที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ในบางอารยธรรม เซ็กส์อาจเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายมากกว่าการสืบพันธุ์ ดังในกรณีชนเผ่าบารา (Bara) ที่การมีเพศสัมพันธ์กันระหว่างพิธีศพเพื่อรักษาสมดุลของครอบครัว และสมาชิกชุมชน ในลักษณะของการสร้างใหม่เพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ตายไปนั่นเอง   รู้จักชนเผ่าบารา (Bara) ชนเผ่าบารา (Bara) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของเกาะมาดากัสการ์ ปัจจุบันเชื่อว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 500,000 คน นักมานุษยวิทยาพบว่าสังคมของชนเผ่าบาราให้ความสำคัญกับผู้ชายสูง โดยเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) และสามารถมีภริยาได้หลายคน (Polygamy) ทั้งนี้แม้ว่าชาวบาราจำนวนมากจะนับถือศาสนาคริสต์เนื่องจากการเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของมิชชันนารีหลายร้อยปีก่อน แต่ประชากรส่วนใหญ่ก็ยังนับถือศาสนาผีหรือความเชื่อประจำเผ่าของตนเอง ซึ่งทำให้ประเพณีและพิธีกรรมบางอย่างยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการร่วมเพศกันในพิธีศพอันเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ตาย และรักษาสมดุลของชนเผ่าให้รอดพ้นจากการขาดแคลนประชากร และคงอยู่ตลอดไป เซ็กส์หน้าศพของชนเผ่าบารา ในพิธีศพของชนเผ่าบารานั้น สมาชิกในครอบครัวของผู้ตายจะต้องเสิร์ฟเหล้าให้กับทุกคนดื่ม กระทั่งสมาชิกทุกคนเข้าสู่ภาวะเมามายขาดสติ ความสามารถในการตัดสินทางศีลธรรมลดลง พิธีกรรมเซ็กส์หน้าศพจึงจะเริ่มต้นขึ้น โดยญาติพี่น้องทุกคนจะต้องมีเพศสัมพันธ์กันกับสมาชิกภายในครอบครัว (Incest) อันเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของจารีตและประเพณีของชนเผ่า ไม่มีใครสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนั้น ยังมีบทลงโทษสำหรับคนที่ขัดขืนไม่ยอมเข้าร่วมพิธีกรรมดังกล่าวด้วยการถูกบังคับให้ต้องเสียวัวจำนวนหนึ่งตัวอย่างไม่มีทางเลือก โดยหลังจากพิธีกรรมเซ็กส์หน้าศพสิ้นสุดลง และได้มีการตั้งศพไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งกระทั่งศพเริ่มเน่าเปื่อย สมาชิกเพศชายในครอบครัวก็จะช่วยกันแบกโลงที่บรรจุศพผู้ตายไว้เพื่อนำไปฝังในสุสาน โดยระหว่างทางเด็กหญิงในครอบครัวก็จะทำทีเข้ามาขัดขวาง แต่บรรดาผู้แบกโลงก็จะฝ่าฟันไปกระทั่งสามารถนำศพไปไว้ในถ้ำสุสานได้เป็นผลสำเร็จ พิธีกรรมดังกล่าวมีนัยนะในเชิงของการเปลี่ยนผ่าน จากความตายหรือจุดสิ้นสุดของหนึ่งชีวิตไปสู่การเกิดใหม่ของอีกชีวิตหนึ่ง นักมานุษยวิทยาอธิบายในเชิงสัญญะได้ว่าในทัศนะของชนเผ่าบารา

Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่ม ตั้งค่า 

ยอมรับทั้งหมด Accept Required Only