เทศกาลเช็งเม้ง ประวัติ – คนไทยเชื้อสายจีนทุกคนคงไม่มีใครไม่รู้จักเทศกาลเชงเม้ง หรือ เช็งเม้ง ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่ลูกหลานจะได้มารวมตัวกันเพื่อเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ
เช็งเม้ง มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญมากเพียงใดต่อรากฐานวัฒนธรรมจีน และมีวิธีในการเซ่นไหว้อย่างไรให้ถูกหลัก
วันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้รู้จักกับเทศกาลเช็งเม้งกันมากขึ้น ทั้งความหมาย ประวัติความเป็นมา และวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในแง่มุมที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
เช็งเม้ง หมายถึง
เช็งเม้ง คือ, เชงเม้ง คือ, เทศกาลเช็งเม้ง คือ, เช็งเม้ง แปลว่า, ความหมายของเช็งเม้ง ตามรากศัพท์ภาษาจีนแล้ว คำว่า ‘เช็งเม้ง’ หมายถึง โมงยามแห่งความรื่นเริง บันเทิงใจ และความสนุกสนาน อันกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ญาติพี่น้องภายในครอบครัวจะได้มาร่วมพบปะสังสรรค์กัน หลังจากที่แยกย้ายออกจากบ้านไปอยู่ในที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่าง เมื่อพิจารณาจากภูมิศาสตร์ของประเทศจีนที่มีความกว้างใหญ่ไพศาลแล้ว
เทศกาลเช็งเม้งก็มีบทบาทสำคัญในทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้ประจักษ์ว่าในจารีตประเพณีของสังคมจีนนั้น ครอบครัวและต้นตระกูลเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของชีวิต
ลูกหลานที่ออกเดินทางไปแสวงโชคในมณฑลต่าง ๆ ก็จะมีโอกาสได้เดินทางกลับบ้านมาเยี่ยมเยียนพ่อแม่ และไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ไม่ต่างจากในเทศกาลสงกรานต์ที่คนไทยจะยึดวันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัวที่ทุกคนจะกลับมารวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์ และถามไถ่สารทุกข์สุกดิบในกันและกันนั่นเอง
เช็งเม้ง ภาษาอังกฤษ
เช็งเม้ง ภาษาอังกฤษ, เทศกาลเช็งเม้ง ภาษาอังกฤษ, วันเช็งเม้ง ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Qingming Festival
เช็งเม้ง ภาษาจีน
เช็งเม้ง ภาษาจีน, เทศกาลเช็งเม้ง ภาษาจีน, วันเช็งเม้ง ภาษาจีน คือ 清明节
ออกเสียงว่า เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ “เฉ่งเบ๋ง” (ในสำเนียงฮกเกี้ยน)
เทศกาลเช็งเม้ง ประวัติ
ประวัติความเป็นมาของเทศกาลเช็งเม้ง วันเช็งเม้ง ประวัติ ประวัติวันเช็งเม้ง ประวัติเช็งเม้ง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าเทศกาลเช็งเม้งที่จัดขึ้นในประเทศจีน และประเทศที่มีประชากรเชื้อสายจีนอย่างไต้หวัน สิงคโปร์ และไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยมีที่มาจากประเพณีเก่าแก่ที่จัดขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจว หรือเมื่อเกือบ 2,500 ปีมาแล้ว
โดยมีองค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นที่ต้องตกระกำลำบาก หลีกลี้หนีภัยสงครามออกไปยังนอกแคว้น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มประเพณีดังกล่าว โดยมีที่มาจากความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถตอบแทนพระคุณของบ่าวรับใช้คนสนิทชื่อ ‘เจี้ยจื่อทุย’ ที่ซื่อสัตย์และถวายชีวิตรับใช้จนกระทั่งตนสามารถกลับมาครองอำนาจได้อีกครั้ง
ประเพณีดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระคุณของผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรพชนที่เสียสละให้ทุกคนในตระกูลได้มีชีวิตที่สะดวกสบาย ซึ่งในเวลาต่อมา การไหว้สุกดิบหรือการกินอาหารเย็น ‘หันสือเจี๋ย’ ก็ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นพิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพชนแทน
รวมถึงการเดินทางไปยังฮวงซุ้ยเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับ ตลอดจนทำความสะอาดและซ่อมแซมที่พำนักสุดท้ายของบรรพบุรุษให้มีความสะอาดเรียบร้อย เป็นมิ่งมงคลต่อวงศ์ตระกูลสืบไป
วันเช็งเม้ง ทำอะไรบ้าง
วันเช็งเม้งต้องทำอะไรบ้าง วิธีปฏิบัติในเทศกาลเช็งเม้ง ตามปกติแล้ว เทศกาลเช็งเม้งจะจัดขึ้นในเดือนเมษายน ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิหลังจากฤดูหนาวอันยาวนานได้ผ่านพ้นไป การเดินทางสัญจรไปมาหาสู่ข้ามเมืองเริ่มที่จะสะดวกสบายมากขึ้น จึงเป็นเวลาดีสำหรับการเดินทางมาพบปะกับญาติพี่น้องและแสดงความเคารพต่อบรรพชนผู้ล่วงลับ
โดยธรรมเนียมการปฏิบัติในเทศกาลเช็งเม้งนั้น จะต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับจารีตประเพณี โดยเฉพาะพิธีการบวงสรวงบรรพบุรุษหรือการเซ่นไหว้ที่ลูกหลานต้องเตรียมอาหารและสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษเงินกระดาษทอง หัวหมู หมูย่าง มาเซ่นไหว้และเผารวมกันเพื่อนำส่งไปให้ผู้วายชนม์ในโลกหลังความตาย
พิธีดังกล่าว จึงเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีที่บุตรหลานมีต่อพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ ที่มีพระคุณชุบเลี้ยงมาแต่อ้อนแต่ออก และช่วยเสริมสร้างชีวิตให้มีกินมีใช้จนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้ เราสามารถแบ่งวิธีปฏิบัติในเทศกาลเช็งเม้งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. การไหว้เจ้าที่
การไหว้เจ้าที่ประจำฮวงซุ้ย เป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าประตูหรือดวงวิญญาณที่คอยปกป้องคุ้มครองฮวงซุ้ยให้มีความปลอดภัยจากโจรหรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ
โดยจะต้องไหว้ธาตุทั้ง 5 ด้วยการจุดธูปจำนวน 5 ดอก หรือ 7 ดอกตามธรรมเนียมของฮวงซุ้ยแต่ละแห่ง
โดยปกติแล้ว การเตรียมของสำหรับไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้งนั้นจะต้องเตรียมจำนวน 2 ชุด คือ ชุดหนึ่งสำหรับไหว้เจ้าที่ประจำฮวงซุ้ยหรือไหว้โท้วตี่ซิ้ง (เทพยดาผืนดิน) และอีกชุดสำหรับการไหว้พ่อแม่หรือบรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง
2. การไหว้บรรพชน
เมื่อเสร็จสิ้นจากการไหว้เจ้าที่แล้ว คราวนี้ก็มาถึงคราวของการไหว้บรรพบุรุษกันบ้าง โดยการไหว้ครั้งนี้นั้นจะมีการนำสายรุ้งมาแต่งโปรยไว้บริเวณเนินดินที่เป็นที่ตั้งของฮวงซุ้ย แล้วจึงไหว้บรรพบุรุษด้วยการจุดธูปจำนวน 3 ดอก เป็นจำนวน 3 รอบ
เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็จะมีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง และจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งเลวร้ายให้ออกไปจากบริเวณฮวงซุ้ย ไม่มารังควาญความสงบสุขของบรรพบุรุษที่พำนักอยู่ที่ฮวงซุ้ยดังกล่าว
หลังจากนั้น ญาติพี่น้องก็อาจจะแยกย้ายจากกันหรือเดินทางไปทานเลี้ยงร่วมกันตามประสาคนนาน ๆ ครั้งได้พบปะกันก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีเช็งเม้ง เพื่อแสดงความเคารพต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ
ของไหว้วันเช็งเม้ง
วันเช็งเม้ง ของไหว้ อาหาร นอกจากการปฏิบัติในการเทศกาลเช็งเม้งที่ต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว การเลือกอาหารไหว้เช็งเม้งก็เป็นอีกหนึ่งไฮต์ไลท์ที่ต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน
เนื่องจากอาหารที่นำมานั้นจะต้องสอดคล้องกับธรรมเนียมในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยปกติแล้วจะประกอบด้วยของสดและขนมต่าง ๆ ได้แก่
- ไก่นึ่งทั้งตัว
- ไข่ต้มผ่าซีกทั้งเปลือก ขนาดเท่า ๆ กัน
- หมูย่างที่ผ่านการหั่นเป็นชิ้น ๆ ขนาดเท่ากัน
- หมูอบหนังกรอบหั่นเป็นชิ้น ๆ ขนาดเท่ากัน
- ขนมจีบ ซาลาเปา ขนมหวาน หรือผลไม้ต่าง ๆ ตามความชอบของผู้ล่วงลับ
นอกจากนั้น การวางอาหารและอุปกรณ์ในการเซ่นไหว้ในแต่ละตำแหน่งของฮวงซุ้ยก็นับว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะหากวางผิดตำแหน่งอาจจะส่งผลให้เกิดการขัดขวางทางเข้า-ออกของดวงวิญญาณ หรือก่อให้เกิดความรำคาญหรือไม่สบายแก่ผู้ล่วงลับได้
โดยการจัดวางถาดสำหรับการใส่อาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ลูกหลานจะต้องนำตะเกียบหนึ่งจุด และแก้วแบบจีน จำนวน 3 แก้ววางไว้บริเวณด้านบนของชุดอาหาร ใกล้เคียงกับหินฝังศพ
เมื่อเริ่มต้นการเซ่นไหว้ หัวหน้าครอบครัวจะเป็นผู้นำในการแสดงความเคารพต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ด้วยการรินไวน์ใส่ถ้วยที่เตรียมไว้ 3 ครั้ง โดยทุกครั้งจะต้องโค้งคำนับเพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับ และสมาชิกครอบครัวอื่น ๆ ก็ต้องทำตามเช่นกัน
เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการ สมาชิกในครอบครัวอาจจะมีการรับประทานอาหารกันบริเวณฮวงซุ้ยได้เช่นกัน โดยเชื่อว่าจะนำความสุขสมหวังโชคดีมาสู่ลูกหลานของวงศ์ตระกูล
วันเช็งเม้ง ห้ามทำอะไรบ้าง
สิ่งต้องห้ามในเทศกาลเช็งเม้ง หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักความเป็นมาและวิธีปฏิบัติในเทศกาลเช็งเม้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็มาถึงข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติในเทศกาลกันบ้าง
ซึ่งในบางครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับแบบธรรมเนียมของเทศกาลเช็งเม้งอย่างเคร่งครัด จะระมัดระวังไม่ให้มีเรื่องผิดธรรมเนียมเกิดขึ้นเป็นอันขาด เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อความสงบสุขของผู้ล่วงลับได้
โดยข้อห้ามที่คุณต้องรู้ระหว่างงานเทศกาลเช็งเม้งมีดังต่อไปนี้
1. ห้ามวางของหน้าแผ่นหลุมศพ
ในการนำอาหารมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย สิ่งหนึ่งที่จะต้องใส่ใจนิดหนึ่งคือ ตำแหน่งในการวางของเซ่นไหว้ต่าง ๆ ควรระมัดระวังอย่านำไปวางไว้บริเวณด้านหน้าแผ่นหลุมฝังศพ เนื่องจากโบราณเชื่อว่าเป็นทางเข้า-ออกของดวงวิญญาณ หากนำไปวางขวางไว้อาจจะสร้างความไม่สบายใจให้กับบรรพบุรุษได้เช่นกัน
2. ห้ามถ่ายรูปภายในฮวงซุ้ย
การเดินทางไปยังฮวงซุ้ยในช่วงเทศกาลเช็งเม้งนั้น มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพชนผู้ล่วงลับเป็นสำคัญ ดังนั้น ตลอดพิธีกรรมลูกหลานจึงควรวางตัวด้วยความสำรวมเป็นหลัก ไม่หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เพราะตามความเชื่อโบราณ การทำเช่นนั้นอาจเป็นการทำลายสมดุลของฮวงซุ้ยที่ส่งผลต่อความสงบสุขของผู้ล่วงลับได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึกยิ่งไม่ควรทำ ทางที่ดี ควรเก็บเอาไว้ถ่ายรูปรวมกันเมื่อเดินทางกลับบ้านหรือไปทานอาหารร่วมกันในร้านอาหารจะมีความเหมาะสมมากกว่า
3. ผู้หญิงมีครรภ์ไม่ควรเดินทางไปยังฮวงซุ้ย
ตามหลักฮวงจุ้ยของฮวงซุ้ยนั้น บริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์รวมของพลังหยินและหยางที่สมดุลกัน หากหญิงมีครรภ์เดินทางไปยังเขตฮวงซุ้ยอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีลมหยินมาก รวมทั้งมีสภาพอากาศที่อาจจะร้อนจัดหรือหนาวจัดได้ในขณะเดียวกัน อาจจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่
ดังนั้น หากคุณรู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ การหลีกเลี่ยงเดินทางไปยังฮวงซุ้ยในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
4. ให้เซ่นไหว้เฉพาะครอบครัวของตนเองเท่านั้น
บางความเชื่อถือว่า การเดินทางไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวหรือมีความผูกพันทางสายเลือด อาจจะนำความโชคร้ายมาสู่ตนเองและวงศ์ตระกูลได้
ฉะนั้น การเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้งนั้นจึงควรโฟกัสที่บรรพชนของตนเองเท่านั้น ไม่ควรไปร่วมแจมกับครอบครัวอื่นเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย
5. ควรแต่งตัวให้เรียบร้อย ไม่สวมใส่เสื้อผ้าสีสดใส
เนื่องจากในเทศกาลเช็งเม้ง ลูกหลานทุกคนจะต้องเดินทางไปยังเขตฮวงซุ้ยซึ่งเป็นที่พำนักสุดท้ายของบรรพชน ดังนั้น การแต่งกายจึงควรต้องเป็นไปอย่างสำรวม ไม่ควรสวมใส่เสื้อโทนสีสดใสเนื่องจากจะถูกกล่าวหาได้ว่าเป็นการไม่แสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับ และเจ้าที่ที่คอยดูแลรักษาฮวงซุ้ย
โดยสีที่เหมาะสมเป็นสากล คือ สีโทนขาว ดำ และเทานั่นเอง
วันเช็งเม้ง มีความสำคัญอย่างไร
ประโยชน์ของเทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลเช็งเม้งที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หลายคนอาจจะเกิดความรู้สึกเคยชินเนื่องจากทุกปีจะต้องมารวมตัวกันเพื่อเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ จนลืมนึกถึงประโยชน์ที่เทศกาลดังกล่าวได้ให้ไว้กับลูกหลานเชื้อสายจีนในปัจจุบัน
โดยสามารถสรุปประโยชน์ของเทศกาลเช็งเม้งได้ดังนี้
1. เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกในครอบครัวได้มารวมตัวกัน
หนึ่งในความสำคัญของเทศกาลเช็งเม้ง คือ การเป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ในที่ต่าง ๆ ได้กลับมารวมตัวกันเพื่อแสดงความเคารพและสำนักบุญคุณของบรรพชน นอกจากนั้น ยังเป็นโอกาสได้ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ บางครอบครัวที่มีลูกหลานหรือสมาชิกใหม่ก็จะได้มาทำความรู้จักหรือสร้างความคุ้นเคยกันในโอกาสนี้ด้วยเช่นกัน
2. เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน
วัฒนธรรมของจีนมักจะให้เกียรติบรรพชนผู้เป็นต้นกระแสธารของวงศ์ตระกูลเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยการให้ความเคารพพ่อแม่และบรรพบุรุษที่ยอมเสียสละทำงานหนักด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ลูกหลานได้อยู่ดีกินดี มีความมั่นคง และปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงได้มีโอกาสในชีวิตต่าง ๆ อีกมากมาย
3. เป็นการรักษาธรรมเนียมและประเพณีอันดีงาม
แม้ว่าเทศกาลเช็งเม้งจะถือกำเนิดมามากกว่าพันปีแล้วก็ตาม แต่ปัจจุบันประเพณีดังกล่าวยังคงได้รับการสืบทอดและปรับแต่งให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น โดยได้สะท้อนให้เห็นถึงจารีตประเพณีอันดีงามที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ เนื่องจากเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพชน และเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมโบราณที่เป็นรากฐานของสังคมจีนและชุมชนคนเชื้อสายจีนทั่วโลก
4. เป็นการเตือนให้รำลึกถึงสัจธรรมของชีวิต
นอกจากเทศกาลเช็งเม้งจะเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ล่วงลับแล้ว ยังเป็นอุบายหนึ่งที่ช่วยตอกย้ำในสัจธรรมของชีวิตว่า “ไม่มีผู้ใดสามารถหลบหลีกความตายได้ ความตายถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่อยู่รอบตัวเรา”
เพราะฉะนั้น พิธีเช็งเม้งจึงเป็นเครื่องย้ำเตือนว่าระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงควรสร้างคุณค่าให้กับสิ่งที่ตนเองทำมาก ๆ ตลอดจนหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจสร้างความเดือดร้อนต่อตนเองและวงศ์ตระกูล เพราะเมื่อตายไปจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน และมีลูกหลานมาเซ่นไหว้แสดงความเคารพด้วยความรักใคร่ โดยไม่ปล่อยให้ต้องจากไปอย่างเดียวดายนั่นเอง
เทศกาลเช็งเม้ง เชงเม้ง นับว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลที่มีความสำคัญและโดดเด่นมีเอกลักษณ์มากที่สุดเทศกาลหนึ่งของจีน โดยเทศกาลดังกล่าวจะจัดเป็นประจำในเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นคนเชื้อสายจีนหรือมีคนรักและญาติพี่น้องเป็นคนไทยเชื้อสายจีน การมีโอกาสได้เข้าร่วมเทศกาลเช็งเม้ง ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่คุณจะได้เรียนรู้รากฐานของอารยธรรมจีนที่สืบทอดมาอย่างยาวนานหลายพันปี ที่ตั้งอยู่บนความสำคัญของครอบครัว การเคารพบรรพบุรุษ และความกตัญญูรู้คุณ
นิพพานกิฟ ร้านขายของชำร่วยออนไลน์
ของชำร่วยงานฌาปนกิจ ราคาถูก ราคาส่ง สินค้าพร้อมจัดส่งทั่วประเทศ รวดเร็ว ฉับไว