ปัจจุบันนี้ การเผาหลอก เผาจริง เป็นขั้นตอนพิธีศพที่นำมาปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในเมืองใหญ่และในพื้นที่ต่างจังหวัด ทว่าหลายคนยังมีข้อสงสัยถึงการเผาหลอก เผาจริง ที่ปฏิบัติกันนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และทำไมถึงต้องมีการเผาหลอกในพิธีศพ เหตุใดจึงไม่ทำการเผาจริงหลังจากการวางดอกไม้จันทน์เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการเผาหลอก เผาจริง ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรและทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดกัน ประวัติของการเผาหลอก เผาจริง การเผาศพคนตายเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางอินเดีย ถึงแม้ว่าจะมีความนิยมในการเผาศพก็ตาม พิธีการเผาหลอก เผาจริง ธรรมเนียมโบราณตั้งเเต่สมัย รัชกาลที่5 โดยการเผาศพเป็นความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์-พุทธ ที่เชื่อว่าการตาย หมายถึง การหลุดพ้นและการไม่มีอัตตาหรือการไม่ยึดติดกับทุกสิ่ง และเพื่อไม่ให้ดวงวิญญาณของผู้ตายเกิดการยึดติดกับร่างกายและสิ่งที่เคยมีอยู่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ จึงต้องทำการเผาศพเพื่อไม่ให้หลงเหลือสิ่งที่จะใช้ยึดเหนี่ยว ของที่ระลึกงานศพ ดังนั้น เมื่อมีคนตายเกิดขึ้น ญาติจะทำการเผาศพของผู้ตายและนำอัฐิไปลอยแม่น้ำ (ลอยอังคาร) ซึ่งจะลอยในแม่น้ำคงคาตามความเชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถชำระล้างได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่บาปกรรมที่คนผู้นั้นได้เคยกระทำไว้ครั้งยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นการลอยอัฐิของผู้ตายไปตามแม่น้ำ ยังทำเพื่อให้วิญญาณของผู้ตายได้หลุดพ้น ซึ่งความเชื่อเรื่องนี้ได้แพร่เข้ามาพร้อมกับหลักศาสนาพราหมณ์-พุทธ ทำให้คนไทยเริ่มมีการเผาศพแทนการฝังศพ ข้อมูลเพิ่มเติม: ประวัติการฝังและเผาศพ การเผาศพในสมัยก่อนยังไม่มีการสร้างเมรุแบบถาวรเหมือนในปัจจุบันนี้ หากต้องการเผาศพจะทำการสร้าง เมรุลอย หรือ เมรุชั่วคราว ด้วยการนำไม้มาต่อกันเป็นชั้น ๆ เรียกว่า