
มีเซ็กส์หน้าศพ พิธีกรรมเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าบารา – ในทางชีววิทยา การมีเพศสัมพันธ์หรือเซ็กส์เป็นกิจกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเพื่อสืบพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล โดยมักเกิดขึ้นในที่ปิดมิดชิดและเป็นส่วนตัวเช่นภายในที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ในบางอารยธรรม เซ็กส์อาจเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายมากกว่าการสืบพันธุ์ ดังในกรณีชนเผ่าบารา (Bara) ที่การมีเพศสัมพันธ์กันระหว่างพิธีศพเพื่อรักษาสมดุลของครอบครัว และสมาชิกชุมชน ในลักษณะของการสร้างใหม่เพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ตายไปนั่นเอง รู้จักชนเผ่าบารา (Bara) ชนเผ่าบารา (Bara) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของเกาะมาดากัสการ์ ปัจจุบันเชื่อว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 500,000 คน นักมานุษยวิทยาพบว่าสังคมของชนเผ่าบาราให้ความสำคัญกับผู้ชายสูง โดยเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) และสามารถมีภริยาได้หลายคน (Polygamy) ทั้งนี้แม้ว่าชาวบาราจำนวนมากจะนับถือศาสนาคริสต์เนื่องจากการเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของมิชชันนารีหลายร้อยปีก่อน แต่ประชากรส่วนใหญ่ก็ยังนับถือศาสนาผีหรือความเชื่อประจำเผ่าของตนเอง ซึ่งทำให้ประเพณีและพิธีกรรมบางอย่างยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการร่วมเพศกันในพิธีศพอันเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ตาย และรักษาสมดุลของชนเผ่าให้รอดพ้นจากการขาดแคลนประชากร และคงอยู่ตลอดไป เซ็กส์หน้าศพของชนเผ่าบารา ในพิธีศพของชนเผ่าบารานั้น สมาชิกในครอบครัวของผู้ตายจะต้องเสิร์ฟเหล้าให้กับทุกคนดื่ม กระทั่งสมาชิกทุกคนเข้าสู่ภาวะเมามายขาดสติ ความสามารถในการตัดสินทางศีลธรรมลดลง พิธีกรรมเซ็กส์หน้าศพจึงจะเริ่มต้นขึ้น โดยญาติพี่น้องทุกคนจะต้องมีเพศสัมพันธ์กันกับสมาชิกภายในครอบครัว (Incest) อันเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของจารีตและประเพณีของชนเผ่า ไม่มีใครสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนั้น ยังมีบทลงโทษสำหรับคนที่ขัดขืนไม่ยอมเข้าร่วมพิธีกรรมดังกล่าวด้วยการถูกบังคับให้ต้องเสียวัวจำนวนหนึ่งตัวอย่างไม่มีทางเลือก โดยหลังจากพิธีกรรมเซ็กส์หน้าศพสิ้นสุดลง และได้มีการตั้งศพไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งกระทั่งศพเริ่มเน่าเปื่อย สมาชิกเพศชายในครอบครัวก็จะช่วยกันแบกโลงที่บรรจุศพผู้ตายไว้เพื่อนำไปฝังในสุสาน โดยระหว่างทางเด็กหญิงในครอบครัวก็จะทำทีเข้ามาขัดขวาง แต่บรรดาผู้แบกโลงก็จะฝ่าฟันไปกระทั่งสามารถนำศพไปไว้ในถ้ำสุสานได้เป็นผลสำเร็จ พิธีกรรมดังกล่าวมีนัยนะในเชิงของการเปลี่ยนผ่าน จากความตายหรือจุดสิ้นสุดของหนึ่งชีวิตไปสู่การเกิดใหม่ของอีกชีวิตหนึ่ง นักมานุษยวิทยาอธิบายในเชิงสัญญะได้ว่าในทัศนะของชนเผ่าบารา