ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม ไม้มงคล สำหรับงานอวมงคล

ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม ไม้มงคล สำหรับงานอวมงคล

ไม้จันทน์หอม เป็นไม้มงคลที่นิยมนำมาใช้ในงานอวมงคลอย่างงานศพ ซึ่งการนำ ไม้จันทน์ มาใช้ในงานศพ ถือเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน นำสิ่งของรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หนึ่งในนั้นคือการนำไม้จันทน์มาทำเป็นดอกไม้จันทน์

ไม้จันทน์หอม ความเชื่อ <–คลิกอ่าน

ไม้จันทน์หอม กลิ่น <–คลิกอ่าน

ไม้จันทน์ หมายถึง <–คลิกอ่าน

ไม้จันทน์ ภาษาอังกฤษ <–คลิกอ่าน

ต้นจันทน์หอม <–คลิกอ่าน

 ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน การใช้ไม้จันทน์หรือไม้จันทน์หอมในงานศพจะมีการเปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลเวลา แต่คุณค่าของการนำไม้จันทน์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นไม้มงคลมาใช้ในงานอวมงคลก็ยังมีอยู่เช่นเดิม   

ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม ไม้มงคล สำหรับงานอวมงคล

ไม้จันทน์ หมายถึง

ไม้จันทน์ คือ – ไม้จันทน์ หรือ ไม้ จันทร์ หอม เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mansonia gagei J. R. Drumm. ex Prain จัดเป็นต้นไม้ที่อยู่ในวงศ์ Sterculiaceae และมีชื่อสามัญว่า Kalamet

สำหรับในประเทศไทยมีการเรียกชื่อตามแต่ละท้องถิ่นที่ต่างกันออกไป เช่น ไม้จันทน์, ไม้แก่นจันทน์, ไม้จันทน์หอม, จันทน์ชะมด, จันทน์ขาว, จันทน์พม่า เป็นต้น

 

ต้นจันทน์หอม
ต้นจันทน์หอม – ขอขอบคุณรูปภาพจาก Siamrath.co.th/n/5273

 

ไม้จันทน์ ภาษาอังกฤษ

ไม้จันทน์หอม ภาษาอังกฤษ มีชื่อเรียกสากลในภาษาอังกฤษว่า Sandalwood

 

ต้นจันทน์หอม ลักษณะ

ต้นจันทน์หอม เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนตั้งแต่ 1 – 100 ปี เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความละเอียดสูง กระพี้เป็นสีน้ำตาลอ่อน แก่นด้านในมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นไม้ชนิดผลัดใบ

ลำต้นมีความสูงตั้งแต่ 10 – 20 เมตรขึ้นไป ลักษณะเปลือกของลำต้นมีสีเทาและผิวแตกเป็นร่องตลอดลำต้น

 

รู้จักไม้ “จันทน์หอม” ไม้มงคล

YouTube video

 

ต้นจันทน์หอม ไม้มงคล
ต้นจันทน์หอม ไม้มงคล – ขอขอบคุณรูปภาพจาก Thaireportchannel.com/archives/5127

 

ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปวงรีคล้ายไข่ ใบที่โตเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 3 – 6 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 8 – 14 เซนติเมตร ที่บริเวณโคนใบมีลักษณะเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบมีลักษณะแหลม ขอบของใบเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย

มีดอกเป็นช่อดอกที่บริเวณปลายกิ่งและซอกใบ ดอกสีขาวจำนวน 5 กลีบ ต้นไม้จันทน์จะมีการออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

สืบพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการขึ้นจากเมล็ด เมล็ดเป็นรูปคล้ายกระสวย เมล็ดมีความยาวประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร

ลำต้นของ ต้นจันทน์หอม
ลำต้นของ ต้นจันทน์หอม – ขอขอบคุณรูปภาพจาก Technologychaoban.com/royal-funeral-pyre-report/article_34479

 

ไม้จันทน์หอม ประวัติ

ตามพุทธประวัติและความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-พุทธ ที่สืบทอดมาแต่ครั้งสมัยพระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตามพุทธประวัติได้มีการกล่าวถึงพิธีสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าครั้งที่ยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ได้มีการใช้ เครื่องหอมจตุชาติสุคนธ์ ในงานพระราชพิธีมงคลถวายพระนามเจ้าชายสิทธัตถะช่วงปฐมวัย

หรือแม้แต่ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่มีการนำไม้จันทน์หอมมาต่อเป็นชั้น ๆ ทำเป็นพระจิตตกาธานเชิงตะกอนไม้หอมสำหรับใช้วางพระสรีระ เพื่อถวายเพลิงพระบรมศพพุทธสรีระ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รวมถึงการใช้ไม้จันทน์มาทำเป็นหีบที่ใช้ในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า หลังจากที่ทำการถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว

 

ดังนั้น จะเห็นว่าว่าไม้จันทน์ถือที่เป็นหนึ่งในจตุชาติสุคนธ์เป็นไม้มงคลยิ่งที่มีความสำคัญและมีการนำมาใช้มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการนำมาใช้งานอวมงคลอย่างงานศพ

 

สำหรับเมืองไทยได้มีการกล่าวถึงไม้จันทน์ ซึ่งถือเป็นไม้ที่อยู่ใน “ จตุชาติสุคนธ์ ” ที่หมายถึง “ของหอมที่มาจากธรรมชาติจำนวน 4 อย่าง นั่นคือ ต้นกฤษณา ต้นกระลำพัก ต้นจันทน์หอมและดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม”

ซึ่งจตุชาติสุคนธ์เป็นเครื่องหอมที่ใช้ประกอบพิธีทั้งแบบที่เป็นชิ้น เช่น กลีบดอกไม้ และนำมาสกัดเป็นน้ำหอม หรือเครื่องหอมเพื่อประพรมในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะงานพระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์ชั้นสูง จะมีการใช้เครื่องหอมเป็นจำนวนมาก

 

ไม้จันทน์หอม ความเชื่อ

นอกจากนั้น การที่  ไม้จันทน์ได้รับยกย่องเชื่อกันว่าเป็นไม้มงคล  นอกจากการนำมาใช้ในพิธีมงคลแล้ว ในสมัยก่อนชนชั้นสูงโดยเฉพาะสุภาพสตรีนิยมนำไม้หอมมาทำเครื่องอบหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หีบเก็บผ้า ทำเป็นอบร่ำเครื่องนุ่งห่ม ฝนทาหน้าเพื่อให้มีกลิ่นหอม ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ใส่ถุงทำเป็นเครื่องหอม พกติดตัวเพื่อให้ตัวมีกลิ่นหอม เป็นต้น

 

การที่ไม้จันทน์นิยมหรือจำกัดใช้ในชนชั้นสูง ก็เพราะว่าไม้จันทน์เป็นไม้ที่หายาก เจริญเติบโตได้ดีในป่าลึกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีราคาสูงมาก ชนชั้นล่างจึงนิยมนำมาขาย ไม่เก็บไว้ใช้เอง ด้วยเหตุนี้ไม้จันทน์จึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นไม้สำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น

 

“ไม้จันทน์หอม” แห่งผืนป่ากุยบุรี ไม้มงคลสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิง

YouTube video

.

ไม้จันทน์หอม กลิ่น

 ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอมเป็นไม้หายาก เพราะว่าไม้จันทน์ที่มีกลิ่นหอมจะเป็นส่วนที่เป็นแก่นของไม้เท่านั้น 

ดังนั้น ต้นไม้จันทน์หนึ่งต้นอาจจะมีแก่นที่ให้กลิ่นหอมไม่มาก ถึงแม้ว่าขนาดของลำต้นจะมีขนาดที่ใหญ่มากก็ตาม

และการที่ไม้จันทน์จะมีแก่นได้นั้น จะต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโตที่นานหลายปีด้วยจึงจะมีกลิ่นหอม

 

ไม้จันทน์
ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม ไม้มงคลสำหรับทำดอกไม้จันทน์ ใช้ในพระราชพิธีสำคัญ งานฌาปนกิจ งานไว้อาลัย – ขอขอบคุณ รูปภาพจากอินเตอร์เน็ต

 

ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอมกับความเกี่ยวข้องกับงานอวมงคล

ในสมัยโบราณได้มีการนำไม้จันทน์มาเป็นเชื่อเพลิงในการเผาศพ ตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่เห็นว่าไม้จันทน์ที่มีอยู่มากในพื้นที่และเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม ดังนั้นเพื่อเป็นการกลบกลิ่นเหม็นของศพที่ทำการเผา จึงนำไม้จันทน์มาเป็นเชื่อเพลิงในการเผาศพ

ต่อมาความนิยมในการใช้ไม้จันทน์มีมากขึ้น ทำให้ไม้จันทน์จัดเป็นไม้หายาก ส่งผลให้ผู้ที่สามารถใช้ไม้จันทน์ได้จะเป็นพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงเท่านั้น

 

โดยการใช้ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอมที่เกี่ยวกับงานอวมงคล เริ่มต้นมีบันทึกพงศาวดารในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีการนำท่อนไม้จันทน์มาเป็นเครื่องประหารแทนการใช้มีดหรือดาบในการตัดคอ

 

โดยมีการบันทึกว่าการนำท่อนจันทน์มาเป็นเครื่องมือในการประหารเจ้านายหรือชนชั้นสูงที่อยู่ในราชวงศ์จะมีการใช้ไม้จันทน์ทุบจนกว่าจะเสียชีวิต ซึ่งการทุบนี้จะไม่ทำให้เจ้านายผู้นั้นมีการเลือดออกมาจากร่างกาย โดยในสมัยนั้นเชื่อว่าการประหารด้วยวิธีนี้เป็นการให้เกียรติกับผู้ที่โดนประหาร เพราะไม่ทำให้เลือดไหลออกมาลงยังพื้นดินนั่นเอง

และนอกจากจะมีการนำไม้จันทน์มาเป็นเครื่องมือประหารแล้ว ยังนำไม้จันทน์มาเป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพเพื่อเป็นการกลบกลิ่นเหม็นเน่าของศพที่เกิดขึ้นในการเผาไหม้ด้วย

ต่อมาการใช้ไม้จันทน์ในงานศพมีความนิยมอย่างแพรหลายทั้งในหมู่ชนชั้นสูงและคนทั่วไป ทำให้ไม้จันทน์มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นในสมัยรัชการที่ 5 กรมพระยาดำรงราชนุภาพได้มีการนำไม้จันทน์มาทำเป็นแผ่นบาง ๆ และประกอบกันให้มีลักษณะคล้ายดอกไม้ขนาดเล็ก ไว้สำหรับใช้ในการเผาศพ ซึ่งเรียกว่า “ดอกไม้จันทน์” ที่รู้จักกันถึงปัจจุบัน

 

ดอกไม้จันทน์ ราคาส่ง
ดอกไม้จันทน์ ดอกไม้แทนความอาลัยและการขอขมาต่อผู้วายชนม์ เช็คราคาดอกไม้จันทน์ ดอกไม้จันทน์ราคา

 

การนำไม้จันทน์มาทำเป็นดอกไม้จันทน์ก็เพื่อลดปริมาณการใช้ไม้จันทน์ให้น้อยลง จากการใช้เป็นท่อนก็เปลี่ยนมาใช้เป็นแผ่นบาง ๆ แทน

 

ซึ่งในปัจจุบันนี้ ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม ถือเป็นไม้หวงห้ามพิเศษที่จะทำการตัดได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีเสียก่อน ถึงจะสามารถทำการตัดออกมาใช้งานได้

 

เนื่องจากปัจจุบันไม้จันทน์ได้รับความนิยมนำมาสกัดเป็นน้ำหอม ทำให้ต้นไม้หอมอยู่ในภาวะที่ใกล้สูญพันธุ์จึงมีการกำหนดให้ไม้ชนิดนี้เป็นไม้หวงห้าม ทำให้ไม่สามารถนำไม้จันทน์มาทำเป็นดอกไม้จันทน์ได้

จึงได้มีการพัฒนารูปแบบของดอกไม้จันทน์ให้มีการใช้วัสดุชนิดอื่นเข้ามาแทนการใช้ไม้จันทน์ เช่น เยื่อไม้ เยื่อกระดาษ เป็นต้น แต่ก็ยังมีการเรียกว่าหนวดจันทน์เช่นเดิม และมีการพัฒนารูปแบบของดอกไม้จันทน์ให้มีความสวยงามมากขึ้น แต่จุดประสงค์ของการใช้ดอกไม้จันทน์ก็ยังคงเป็นการแสดงความอาลัยและความเคารพต่อผู้ตายเช่นเดิม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: ลักษณะของดอกไม้จันทน์ แบบดั้งเดิม และ แบบแฟนซี

 

ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอมกับเครื่องใช้ในงานศพ

 

ปัจจุบันนี้การใช้ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอมในงานพระราชพิธีศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น

สำหรับประชาชนทั่วไปจะไม่มีการใช้ไม้จันทน์ในงานพิธีศพ แต่จะให้ไม้อื่นที่เรียกว่า หนวดจันทน์ แทนไม้จันทน์

 

เพราะไม้จันทน์เป็นไม้ที่ใกล้สูญพันธ์ไปจากพื้นป่าของประเทศและเป็นไม้ที่มีราคาสูงมาก เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธ์ไม้นี้ไว้ จึงมีการ กำหนดให้ไม้จันทน์เป็นไม้หวงห้าม 

ซึ่งการนำไม้จันทน์มาใช้ในพระราชพิธีศพ นอกจากนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตดอกไม้จันทน์แล้ว ยังมีการนำไม้จันทน์มาทำเป็นเครื่องใช้ในงานพระราชพิธีศพอีกหลายอย่าง ดังนี้

 

1. พระโกศหรือโกศ

พระโกศหรือโกศที่ทำจากไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม พระโกศ เรียกว่า พระโกศไม้จันทน์, พระโกศจันทน์ หรือ โกศจันทน์

มีอยู่ด้วยกัน 2 ขนาดลักษณะการใช้งาน ดังนี้

 

กบนอกกะลา : พระโกศไม้จันทน์ | FULL (21 ก.ย.60)

YouTube video

 

1.1 พระโกศใหญ่

สำหรับใส่ศพก่อนที่ทำการเผา ซึ่งพระโกศนี้จะมีขนาดใหญ่พอที่สามารถบรรจุศพของผู้ตายลงไปในนั้นได้

ดังนั้นพระโกศแต่ละอันจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของพระศพที่นำมาบรรจุในพระโกศนั่นเอง

เนื่องจากในอดีต ศพของผู้ตายจะบรรจุไว้ในพระโกศไม่ได้ใส่ไว้ในโลงศพเช่นปัจจุบัน

พระโกศจันทน์ หีบพระบรมศพจันทน์
(หน้า) พระโกศจันทน์ และ (หลัง) หีบพระบรมศพจันทน์ – ขอขอบคุณรูปภาพ Thestandard.co/kingrama9-chan-coffin-chan-urn/

 

1.2 โกศสำหรับใส่อัฐิมีขนาดเล็ก

มีไว้สำหรับใส่อัฐิของผู้ตายที่ผ่านการถวายเพลิงมาแล้ว

โดยรูปแบบของพระโกศในแต่ละยุคสมัยก็จะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบศิลปกรรมของยุคนั้น ซึ่งพระโกศล้วนแล้วแต่มีความสวยงามและสร้างขึ้นด้วยความประณีตบรรจงด้วยช่างฝีมือดีในยุคนั้น

โดยเฉพาะพระโกศของพระมหากษัตริย์จะมีการสลักและแกะทีละชิ้น

ซึ่งส่วนประกอบของโกศจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ตัวโกศสำหรับใส่ศพ ฝาโกศ และฐานรองโกศ

 

สารคดีพิเศษ “สู่ฟ้าเสวยสวรรค์”: พระโกศจันทน์ และหีบพระบรมศพจันทน์

YouTube video

.

2. หีบพระศพหรือหีบศพ

หีบศพไม้จันทน์ หรือที่เรียกว่า “หีบศพจันทน์” เป็นหีบศพที่ทำจากไม้จันทน์ ซึ่งการทำหีบศพสำหรับใส่ศพมีขึ้นในภายหลัง ในอดีตการใส่ศพจะใส่ในโกศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีการใช้หีบศพสำหรับใส่ศพ

แต่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีการสร้างพระหีบศพจันทน์ขึ้น เพื่อใช้บรรจุพระศพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพิธีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2539

และได้มีการใช้หีบศพในงานพิธีของพระบรมวงศานุวงศ์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

หีบพระบรมศพจันทน์
หีบพระบรมศพจันทน์ – ขอขอบคุณรูปภาพจาก Baanlaesuan.com/80919/arts/royal-cremation-ep6

 

3. ท่อนฟืนไม้จันทน์

ในสมัยโบราณมีการใช้ท่อนไม้จันทน์เป็นเชื้อเพลิงในการติดไฟสำหรับการเผาศพ ซึ่งในปัจจุบันยังยึดประเพณีปฏิบัติเดิมที่มีการใช้ท่อนไม้จันทน์เป็นเชื้อเพลิงในงานพิธีด้วยเช่นกัน

แต่จำนวนที่ใช้และลักษณะของท่อนไม้จันทน์จะมีการสลักลวดลายที่สวยงามและมีการลงรักปิดทองด้วย

ท่อนฟืนไม้จันทน์ | 14 ต.ค.60 | เสด็จสู่สวรรคาลัย

YouTube video
ท่อนฟืนไม้จันทน์
ท่อนฟืนไม้จันทน์ – ขอขอบคุณรูปภาพจาก Phramerumas.finearts.go.th/item.php?itemID=34
ท่อนฟืนไม้จันทน์
ท่อนฟืนไม้จันทน์ – ขอขอบคุณรูปภาพจาก Phramerumas.finearts.go.th/item.php?itemID=34

 

ท่อนฟืนไม้จันทน์
ท่อนฟืนไม้จันทน์ – ขอขอบคุณรูปภาพจาก Phramerumas.finearts.go.th/item.php?itemID=34

 

เนื่องจากไม้จันทน์เป็นไม้หวงห้ามและหายากในปัจจุบัน ทำให้การใช้งานไม้จันทน์จริงมีอยู่ในวงจำกัดอยู่เท่านั้น

 สำหรับคนทั่วไปแล้วไม่มีการนำไม้จันทน์มาใช้ในงานพิธีศพ แต่จะมีดอกไม้จันทน์ที่เป็นตัวแทนของไม้จันทน์นำมาใช้ในงานศพแทน 

 

ไม้จันทน์ ความหมาย

ไม้จันทน์ถือเป็นไม้มงคลที่นำมาใช้แสดงความเคารพ ความอาลัยและส่งดวงวิญญาณของผู้ตายในงานอวมงคลหรืองานศพได้อย่างลงตัว เป็นการแสดงให้เห็นว่า  การทำความดีก็เปรียบเสมือนกลิ่นหอมของไม้จันทน์ที่สามารถบดบังกลิ่นเหม็นของศพได้ 

 

 

จะเห็นว่าการใช้ไม้จันทน์ ไม้จันทน์หอม ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ไม้จริง แต่อาศัยเพียงแค่ชื่อไม้จันทน์ แต่ความหมายและความสำคัญของไม้จันทน์ก็มิได้เสื่อมคลายไป

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

 
 
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Product added!
The product is already in the wishlist!
Removed from Wishlist

The product has been added to your cart.

Continue shopping View Cart