ทุ่งพระเมรุ – สนามหลวง หรือที่โบราณเรียกว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ เป็นสถานที่ซึ่งใช้ประกอบราชพิธีและรัฐพิธีสำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะผ่านการบูรณะและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มากมายในหลายศตวรรษที่ล่วงมา แต่สนามหลวงก็ยังเป็นสถานที่ซึ่งยึดโยงกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาคุณมาสำรวจประวัติน่ารู้เกี่ยวกับสนามหลวง ทุ่งพระเมรุ ประวัติ ที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนานหลายร้อยปี ของชำร่วย งานฌาปนกิจ ของชําร่วยงานพระราชทานเพลิง ราคาส่ง ราคาถูก ทุ่งพระเมรุ ประวัติ ทุ่งพระสุเมรุในยุคอยุธยา – ต้นแบบของสนามหลวงต้องสืบย้อนไปยังสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีการสร้าง ‘สนามใหญ่’ ไว้สำหรับประกอบราชพิธีสำคัญ อย่างประเพณี เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ หรือประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบัน หรือกล่าวได้ว่า การสร้างสนามใหญ่ก็เป็นไปเพื่อรองรับการจัดราชพิธีสำคัญของราชสำนักในแต่ละยุคสมัยนั่นเอง การนำรูปแบบสนามใหญ่กลับมาเป็นแม่แบบของสนามหลวงในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สะท้อนให้ประจักษ์ถึงความพยายามฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรมและประเพณีที่สูญหายไปหลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 หลังการกอบกู้บ้านเมืองคืนมาได้ บรมปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรจึงพยายามนำประเพณีอันดีงามของสยามในยุคเจริญรุ่งเรืองกลับคืนมาอีกครั้ง โดยมีสนามหลวงซึ่งสร้างขึ้นระหว่างพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นหนึ่งในการบูรณะทางวัฒนธรรมดังกล่าว ทุ่งพระสุเมรุในยุครัตนโกสินทร์ สนามหลวง ซึ่งสร้างขึ้นโดยอิงกับสนามหน้าจักรวรรดิของกรุงศรีอยุธยานั้น จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘ทุ่งพระเมรุ’ ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบรมปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ มาจนถึงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวง